แมลงช้างปีกใส
แมลงช้างปีกใส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Neuroptera
สกุล: Chrysoperla
สปีชีส์: C.  carnea
ชื่อทวินาม
Chrysoperla carnea
(J.F.Stephens, 1835)

แมลงช้างปีกใส ชนิด Chrysoperla carnea Stephens เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงมากที่สุดในแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั้น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่และตัวอ่อนของด้วง หรือหนอนผีเสื้อที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย ดังนั้นแมลงช้างปีกใสจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1] แมลงช้างปีกใส C. carnea จะดำรงชีพแบบผู้ล่าหรือเป็นตัวห้ำเฉพาะในระยะตัวอ่อน ส่วนในตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานและละอองเรณู จึงมีบทบาทในการผสมเกสรและช่วยขยายพันธุ์พืชด้วยเช่นกัน [2]

แมลงช้างปีกใสในสกุล Chrysoperla ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัย ได้แก่ กลุ่ม carnea กลุ่ม pudica กลุ่ม comans และกลุ่ม nyerina การศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใสทั้ง 4 กลุ่ม โดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม (nuclear marker 3 ยีน ได้แก่ namelywingless(546 bp), phosphoenolpyruvate carboxykinase (483 bp) และ sodium/potassium ATPase alpha subunit (410 bp)) พบว่า แมลงช้างปีกใสในกลุ่ม comans และ pudica เป็น sister group กัน และทั้งสองกลุ่มเป็น sister group กับกลุ่ม carnea แต่ความสัมพันธ์กับกลุ่ม nyerina ยังไม่แน่ชัด [3]

อ้างอิง แก้

  1. Ulhaq, M.M., Sattar, A., Salihah, Z., Farid, A., Usman, A. and Khattak, S.U.K. 2006. Effect of different artificial diets on the biology of adult green lacewing (Chrysoperla carnea Stephens). Songklanakarin J. Sci. Technol. Vo. 28(1) : 1-8. http://rdo.psu.ac.th/sjstweb/journal/28-1/01_adult_green_lacewing.pdf เก็บถาวร 2018-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Fisher,T. W.,Thomas S. 1999. Handbook of Biological Control. Academic Press , The United States of America. 1031 p. http://books.google.co.th/books?id=u2X-rfgU0ewC&pg=PA418&redir_esc=y#v=onepage&q&f=true
  3. Haruyama, N., A. Mochizuki, P. Duelli, H. Naka, and M. Nomura. 2008. Green lacewing phylogeny, based on three nuclear genes (Chrysopidae, Neuroptera). Systematic Entomology 33(2):275–288. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-3113.2008.00418.x/pdf