แฟนเทเชีย (ภาพยนตร์)

แฟนเทเชีย (อังกฤษ: Fantasia) เป็นภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่องยาวเรื่องที่สามของดิสนีย์ ต่อจากเรื่องสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (1937) และพินอคคิโอ (1940) ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ ดิสนีย์ เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันประกอบดนตรีคลาสสิกโดยไม่มีบทพูด มีเพียงบทบรรยายโดยดีมส์ เทย์เลอร์ นักประพันธ์เพลงและนักวิจารณ์ดนตรีคลาสสิก ดนตรีในภาพยนตร์บรรเลงโดยวงฟิลาเดลเฟียออร์เคสตรา อำนวยเพลงโดยลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่ใช้ระบบเสียงสเตอริโอ ใช้ชื่อเรียกว่า "แฟนตาซาวด์" [1]

แฟนเทเชีย
เขียนบทโจ แกรนต์
ดิก ฮิวเมอร์
อำนวยการสร้างวอลต์ ดิสนีย์
นักแสดงนำลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี
ดีมส์ เทย์เลอร์
ฟิลาเดลเฟียออร์เคสตรา
วอลต์ ดิสนีย์
มิกกี เมาส์
ผู้บรรยายดีมส์ เทย์เลอร์
กำกับภาพเจมส์ หว่อง โฮว
ดนตรีประกอบStephen Csillag
บริษัทผู้สร้าง
Walt Disney Productions
ผู้จัดจำหน่ายWalt Disney Productions
RKO Radio Pictures
วันฉาย13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
ความยาว125 นาที
ประเทศ สหรัฐ
ภาษาภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง2.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน76.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ต่อจากนี้แฟนเทเชีย 2000

ภาพยนตร์ใช้เวลาสร้างถึง 2 ปี ใช้งบประมาณบานปลายและล่าช้า อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้า คือ หุ่นไม้พินอคคิโอ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในขณะเข้าฉายในปี พ.ศ. 2483 ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จนทำให้บริษัทดิสนีย์ประสบปัญหาทางการเงิน ก่อนจะประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์เรื่องถัดมา คือ ดัมโบ้ ในปี พ.ศ. 2484

ภาพยนตร์แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่

นอกจาก 8 ตอนนี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งตอนที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ถูกตัดออกจากภาพยนตร์เนื่องจากทำให้ต้องใช้เวลาฉายนานเกินไป คือ Clair de Lune จากเพลงของโคล้ด เดอบุซซี ถูกนำมาบูรณะ และบรรจุรวมในดีวีดีที่วางจำหน่ายในปี 2000 นอกจากนี้ ยังมีการเขียนสตอรีบอร์ด สำหรับเพลงอีกหลายเพลง เช่น Ride of the Valkyries (จากโอเปราของริชาร์ด วากเนอร์), Swan of Tuonela (จากบทประพันธ์ของฌอง ซิเบลิอุส), Flight of the Bumblebee (จากอินเทอร์ลูดของนีโคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ), Adventures in Perambulator (จากบัลเลต์ของจอห์น อัลเดน คาร์เพนเทอร์) แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้ถูกนำมาสร้าง

ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบบันทึกเสียงถึง 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1/5 ของงบประมาณสร้าง [4] จนถึงปัจจุบัน แฟนเทเชียได้รับการยอมรับว่าเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดเรื่องหนึ่งตลอดกาล ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จในการฉายครั้งแรก [5]

อ้างอิง แก้

  1. Andrew R. Boone, "Mickey Mouse Goes Classical", Popular Science, January 1941, p. 65.
  2. Fanning, Neil Cardew (2005). All music guide to classical music: the definitive guide to classical music. New York: Hal Leonard. p. 388.
  3. Knight, David B. (2006). Landscapes in music: space, place, and time in the world's great music. New York: Rowman & Littlefield. p. 104.
  4. Gelder, Peter Van (1990). That's Hollywood: A Behind-the-Scenes Look at 60 of the Greatest Films of All Time. New York: Harper Collins. pp. 87–90. ISBN 0060965126.
  5. Box Office Mojo lists Fantasia as the 20th most successful film when its gross receipts are adjusted for inflation. "All Time Box Office". Box Office Mojo.com. สืบค้นเมื่อ August 22, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้