แพทองธาร ชินวัตร

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

แพทองธาร ชินวัตร ร.ท.ภ. (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น อุ๊งอิ๊ง เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และหนึ่งในบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยของพรรคในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 อดีตหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และอดีตประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรค

แพทองธาร ชินวัตร
แพทองธารในปี พ.ศ. 2567
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
รองชูศักดิ์ ศิรินิล
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย
จิราพร สินธุไพร
พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
เผ่าภูมิ โรจนสกุล
ก่อนหน้าชูศักดิ์ ศิรินิล
(รักษาการ)
หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 มีนาคม พ.ศ. 2565 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2565
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (37 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสปิฎก สุขสวัสดิ์ (2562–ปัจจุบัน)
บุตรธิธาร สุขสวัสดิ์
พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์
บุพการี
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์
อาชีพนักธุรกิจ
นักการเมือง
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นอุ๊งอิ๊ง

ประวัติ แก้

แพทองธาร ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีพี่สองคนคือพานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์

เธอสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย โดยในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว เธอได้ไปฝึกงานที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาสยามสแควร์[1] ต่อมาเธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 และศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สาขาวิชา Msc International Hotel Management ที่มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ และในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต เพื่อนร่วมรุ่น อาทิ รัดเกล้า สุวรรณคีรี พชร นริพทะพันธุ์ เธอเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการมูลนิธิไทยคม นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงแรมโรสวู๊ด กรุงเทพ[2],เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่[3] และเดอะ ซิสเตอส์ เนลส์ แอนด์ มอร์[4] เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 เธอถือหุ้นรวมทั้งหมด 21 บริษัท มูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท[5]

ชีวิตส่วนตัว เธอสมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมงคลสมรสของทั้งคู่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมโรสวู๊ด ฮ่องกง[6] มีบุตรสาว 1 คน คือ ธิธาร สุขสวัสดิ์[7] ซึ่งเกิดวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564[8][9] และมีบุตรชาย 1 คน คือ พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์ ซึ่งเกิดในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนเดียวกัน[10]

บทบาททางการเมือง แก้

การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ประกาศลาออกในงานนั้น ได้ประกาศเปิดตัวแพทองธารเป็นประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรค[11]

ในการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 แพทองธารได้รับตำแหน่ง "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย"[12] สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการทะลายข้อจำกัดในการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปูทางให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอเป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[13] เธอกล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ระบุว่าหัวหน้าครอบครัวกับหัวหน้าพรรคเป็นคนละตำแหน่งกัน แต่ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าเธอจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่[14]

ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทางพรรคได้มอบหมายให้ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. นำนโยบายที่พรรคได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีเดียวกัน มาขึ้นป้ายหาเสียงชุดแรกก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีถัดไป จำนวน 8 รูปแบบ โดยทุกป้ายในชุดดังกล่าวจะมีภาพเธอในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยอยู่ทางมุมขวาล่างของป้ายขนาดปกติ หรือด้านล่างในกรณีป้ายขนาดที่ความกว้างลดลงมาจากป้ายขนาดปกติ[15]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เธอกล่าวว่าพร้อมที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งระบุพร้อมจะจับมือกับทุกพรรคหากมีความคิดเรื่องนโยบายตรงกัน, เห็นพ้องในความเป็นประชาธิปไตย และเคารพเสียงของประชาชน แต่ปฏิเสธว่ายังไม่ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แต่อย่างใด[16] จากนั้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โดยเศรษฐามีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือดำเนินการตามที่แพทองธารมอบหมาย[17] ต่อมาในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน เธอให้สัมภาษณ์กับเดอะสแตนดาร์ด ระบุหากพรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนไม่เอารัฐประหารเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย ก็พร้อมจะพูดคุย แต่ไม่ได้ยืนยันว่าจะรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลกับ พปชร. หรือไม่[18] เดือนถัดมาพรรคเพื่อไทยเสนอเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเศรษฐาและชัยเกษม นิติสิริ[19][20]

หลังการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม พรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. เป็นอันดับ 2 รองจากพรรคก้าวไกล เธอกล่าวว่าตนเองก็มีความผิดหวังที่พรรคไม่ได้อันดับ 1 ตามแผน แต่ก็พร้อมทำงานร่วมกับพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคอื่น ๆ ที่จะจับขั้วร่วมกับทั้งสองพรรคดังกล่าว[21] แต่ต่อมาภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยยกเลิกบันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกลแล้ว ในวันที่ 9 สิงหาคม เธอและผู้บริหารพรรคเพื่อไทยได้เดินเท้าจากอาคารโอเอไอที่ทำการพรรค ไปยังอาคารไทยซัมมิทที่อยู่ติดกัน เพื่อร่วมหารือกับแกนนำพรรคก้าวไกลในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3[22] ซึ่งวันถัดมามีกระแสข่าวว่าแพทองธารได้แจ้งกับแกนนำพรรคก้าวไกลว่าพรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องนำพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค เข้าร่วมรัฐบาล[23] และส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีมติในอีก 6 วันถัดมาว่า ไม่สนับสนุนบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย[24]

ในวันที่ 13 กันยายน ในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และแต่งตั้งให้แพทองธารเป็นรองประธานกรรมการ[25] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง คือ ประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[26] และกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567[27] และต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง[28]

หลังจากที่ชลน่าน ศรีแก้ว ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เพื่อรับผิดชอบคำพูดของตนหลังจากนำพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐเข้าร่วมรัฐบาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมสิ้นสุดลงทั้งคณะ[29] ได้มีกระแสข่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนให้แพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[30] ซึ่งในวันที่ 20 ตุลาคม ในงานไทยแลนด์เกมโชว์ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เธอไปร่วมพิธีเปิดงานในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เธอกล่าวว่าพร้อมรับการเสนอชื่อเช่นกัน[31][32] ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พรรคเพื่อไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่เป็นคนที่ 8 โดยเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว[33]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติ แพทองธาร นายหญิงเพื่อไทยคนใหม่ ? ถึงเวลา ชินวัตร ต้องบัญชาการเกเอง". springnews. 2023-10-26.
  2. isranews (2021-08-28). "ปี 63 ขาดทุน 396 ล.! ธุรกิจ รร.'เอม พินทองทา'ก่อนหยุดให้บริการ Rosewood Bangkok". สำนักข่าวอิศรา.
  3. "รับลมเย็นๆ พร้อมปิคนิค สนามหญ้า "เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่"". ข่าวสด. 2017-12-04.
  4. ""The Sisters Nails & More" ความสุขที่อยากแบ่งปันของพี่น้องทายาทหมื่นล้าน". www.thairath.co.th. 2012-11-10.
  5. ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022-03-20). "เจาะขุมทรัพย์ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ทรัพย์สินอู้ฟู่ 6.8 หมื่นล้าน". thansettakij.
  6. "ทูลกระหม่อม เสด็จงานสมรส "แพทองธาร ชินวัตร"". workpointTODAY.
  7. "แพทองธาร" สุดปลื้ม คลอดลูกสาว น่ารักน่าชัง แล้ว ชื่อเล่น "น้องธิธาร"
  8. "แพทองธาร ชินวัตร เปิดใจหน้าที่คุณแม่กับบทบาทการเมือง". www.thairath.co.th. 2023-05-03.
  9. ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" คลอด "น้องธิธาร" ลูกคนแรกแล้ว "ทักษิณ" ปลื้มหลานหน้าเหมือน". www.sanook.com/news. 2021-01-10.
  10. "เลือกตั้ง 2566 : ครอบครัวชินวัตรได้ข่าวดี "อุ๊งอิ๊งค์" คลอดลูกชาย คนที่ 2
  11. "Thai opposition party seeks review of security laws after protest arrests". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  12. matichon (2022-03-20). "เปิดตัว 'อุ๊งอิ๊ง' หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ลุยสร้างบ้านหลังใหญ่หัวใจเดิม". มติชนออนไลน์.
  13. ""สมชัย" ชี้ "เพื่อไทย" ใช้ช่องเป็น "สมาชิกครอบครัว" เลี่ยงเก็บค่าสมาชิก". bangkokbiznews. 2022-03-20.
  14. ""อุ๊งอิ๊ง" บอกไม่ได้พร้อมเป็นแคนดิเดตนายกฯหรือไม่ อ้างยังไม่ถูกเลือก ยันในพรรคไม่สับสนใครหัวหน้า". mgronline.com. 2022-04-24.
  15. "อุ๊งอิ๊ง สั่งเพื่อไทยขึ้นป้ายหาเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่นายกฯ คนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-29.
  16. "แพทองธาร พร้อมเป็นนายกฯ เพื่อไทย ไม่จับมือประวิตร พลังประชารัฐ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-01-15.
  17. "เพื่อไทย ตั้ง "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย". ไทยรัฐ. 2023-03-01. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร เบ้าหลอมชินวัตร ความฝันแลนด์สไลด์ และนายกฯ ต้องมาจากเพื่อไทย". THE STANDARD. 2023-03-28.
  19. matichon (2023-03-27). "เพื่อไทย เคาะแล้ว 'ชัยเกษม นิติสิริ' แคนดิเดตนายกฯ ชื่อที่ 3". มติชนออนไลน์.
  20. ตามคาด! เพื่อไทย ยื่น 3 ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา-ชัยเกษม’
  21. matichon (2023-05-15). "เพื่อไทย ยอมรับผิดหวัง เป็นรองก้าวไกล ยินดีโหวต 'พิธา' นายกฯ ให้ กก.บห.คุยดีลตั้ง รบ". มติชนออนไลน์.
  22. ""แพทองธาร" ยัน ก้าวไกล-เพื่อไทย ไม่มีปัญหากัน-"ภูมิธรรม" อุบตอบเรื่องกลับไปจับมือ (คลิป)". www.thairath.co.th. 2023-08-09.
  23. "เบื้องหลัง"อุ๊งอิ๊ง"ถกก้าวไกลแจ้งจำเป็นต้องพึ่งพรรค"ลุงป้อม"ตั้งรัฐบาล". ฐานเศรษฐกิจ. 10 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "'ก้าวไกล' ไม่โหวตเห็นชอบให้แคนดิเดตนายกฯ ของรัฐบาลข้ามขั้ว ขัดเจตนารมณ์ประชาชน ดันวาระประชาชนไม่ได้". prachatai.com.
  25. "ตั้ง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธานยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. แผนรัฐเคลื่อน ซอฟต์พาวเวอร์ 4 ล้านล้าน เปิด ‘รีสกิล’ 20 ล้านครัวเรือนต้นปี 67
  27. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2566
  28. "นายกฯ เซ็นตั้งบอร์ดพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ดึง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธาน". ผู้จัดการออนไลน์. 8 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
  30. "เพื่อไทย ดัน อุ๊งอิ๊ง นั่งหัวหน้าคนใหม่ เดินเครื่องรีแบรนด์ นำเพื่อไทยคัมแบ๊กเบอร์หนึ่ง". มติชน. 30 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. ""อิ๊งค์" ยิ้มรับ นั่งหัวหน้าเพื่อไทย-ดัน อุตสาหกรรมเกม สู่ ซอฟต์พาวเวอร์". www.thairath.co.th. 2023-10-20.
  32. ""แพทองธาร" วอนประชาชน อดใจรอเงินดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ทัน 1 ก.พ.นี้". pptvhd36. 2023-10-20.
  33. "มติเพื่อไทย เลือก "แพทองธาร" หัวหน้าพรรคคนใหม่". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า แพทองธาร ชินวัตร ถัดไป
ชูศักดิ์ ศิรินิล
(รักษาการ)
   
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในตำแหน่ง