แบไรต์ (อังกฤษ: Barite) เป็นชื่อแร่ที่มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “หนัก” เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความถ่วงจำเพาะสูง

แบไรต์
Baryte crystals on dolomite
การจำแนก
ประเภทแร่ซัลเฟต
สูตรเคมีBaSO4
คุณสมบัติ
สีไม่มีสี, ขาว, ฟ้า, เหลือง, เทา, น้ำตาล
โครงสร้างผลึกออร์โธรอมบิก (2/m 2/m 2/m)
ความยืดหยุ่นเปราะ
ค่าความแข็ง3-3.5
ความวาววาวแบบแก้ว - ไข่มุก
ดรรชนีหักเหnα = 1.634–1.637
nβ = 1.636–1.638
nγ = 1.646–1.648
ค่าแสงหักเหสองแนว0.012
สีผงละเอียดสีขาว
ความถ่วงจำเพาะ4.3–5
ความหนาแน่น4.48 g/cm3[1]
สภาพละลายได้ต่ำ
ความโปร่งโปร่งใส - ทึบแสง
อ้างอิง: [2][3][4][5]

รูปผลึกระบบออร์โทรอมบิก ผลึกมักเป็นแผ่นหนา ยาวขนานไปกับฐานของผลึกหรือรูปแท่งเหลี่ยมๆ หรือพบเป็นผลึกเกิดร่วมเป็นกลุ่มเหมือนดอกกุหลาบเรียก “Crested Barite” หรือ “Barite Roses” อาจพบเป็นแผ่นบางซ้อนกันค่อนข้างหนา หรือเป็นมวลเมล็ด หรือแบเนื้อด้านเหมือนดิน มีแนวแตกรียบเด่นสมบูรณ์แข็ง 3-3.5 ถ.พ. 4.5 (จัดเป็นแร่อโลหะที่หนักผิดปกติแร่หนึ่ง) วาวคล้ายแก้วหรือวาวคล้ายมุก อาจไม่มีสี สีขาว หรือมีสีออกน้ำเงิน เหลือง แดงอ่อนๆเนื้อแร่โปรงใสไปจนกระทั่งโปร่งแสง

มีสูตรเคมีคือ BaSo4 มี BaO 65.7% SO3 34.3% อาจมีธาตุสตรอนเชียมหรือตะกั่วเข้าแทนที่แบเรียมได้ ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ สังเกตเป็นแร่ที่หนักตึงมือรู้สึกได้ทันที ดูรูปลักษณะผลึกเป็นรูปแผ่นหนาและมีแนวแตกเรียบเด่นชัด มีดขีดเข้า

การเกิด แก้

มักจะพบเกิดเป็นกากแร่ในสายแร่โลหะ โดยเฉพาะมักเกิดร่วมกับเงิน ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ แมงกานิส และแอนทิโมนี บางครั้งอาจพบเกิดเป็นสายแร่ตัดผ่านหินปูนมีแคลไซต์ปะปน หรือพบเกิดเป็นก้อนแร่ตกค้าง (Residual messes) ในดินเหนียวที่ซ้อนอยู่บนหินปูน หรือเป็นวัตถุประสานในหินทราย

แหล่งที่พบ แก้

ประเทศไทยพบที่ จ.ชลบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ เลยและอุดรธาณีต่างประเทศ เช่น พบแบบผลึกในประเทศ อังกฤษ โรมาเนีย โบฮีเมีย สหรัฐอเมริกา แบบเป็นมวลสารเนื้อแน่นและเกิดเป็นสายแร่ตัดดผ่านในหินปูนพบในสหรัฐอเมริกา เช่น ที่รัฐจอร์เจีย เทนเนสซี มิสซูรี

ประโยชน์ แก้

มากกว่า 80% นำมาทำโคลนผง (Drilling mud) ซึ่งใช้ในการเจาะสำรวจน้ำมันหรือน้ำบาดาลใช้ในอุตสาหกรรมทำเม่สีและเนื้อสี อุตสาหกรรมทำแก้ว ทำยาง ผ้าน้ำมัน กระดาษน้ำมัน พรมน้ำมัน และพลาสติก ใช้บดทำยาสำหรับรับประทานก่อนที่จะทำการฉายเอกซเรย์เกี่ยวกับการตรวจกระเพาะ ลำไส้ ใช้ทำ filler ในอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ทำแป้งผัดหน้า

อ้างอิง แก้

  • หนังสือแร่ กรมทรัพยากรธรณี พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2543 หน้า 137
  1. Hanor, J. (2000). "Barite-celestine geochemistry and environments of formation". Reviews in Mineralogy. Washington, DC: Mineralogical Society of America. 40: 193–275. ISBN 0-939950-52-9.
  2. Dana, James Dwight; Ford, William Ebenezer (1915). Dana's Manual of Mineralogy for the Student of Elementary Mineralogy, the Mining Engineer, the Geologist, the Prospector, the Collector, Etc (13 ed.). John Wiley & Sons, Inc. pp. 299–300.
  3. Barite at Mindat
  4. Webmineral data for barite
  5. Baryte, Handbook of Mineralogy

แหล่งข้อมูลอื่น แก้