แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว

แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว (อังกฤษ: Friendship Breakdown) ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่าแอ๊คชั่นในปี พ.ศ. 2542 นำแสดงโดย สมชาย เข็มกลัด, ศรราม เทพพิทักษ์, สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา, ปราโมทย์ แสงศร กำกับโดย องอาจ สิงห์ลำพอง

แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว
กำกับองอาจ สิงห์ลำพอง
เขียนบทอาร์เอส.ฟิล์ม
อำนวยการสร้างอังเคิล
นักแสดงนำสมชาย เข็มกลัด
ศรราม เทพพิทักษ์
สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
ปราโมทย์ แสงศร
ขจรศักดิ์ รัตนนิสัย
ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์
อภิชาติ ชูสกุล
ฐิติ พุ่มอ่อน
นักแสดงรับเชิญ:
ชาติชาย งามสรรพ์
สุนีย์ สินธุเดชะ
เด่น ดอกประดู่
อดุลย์ ดุลยรัตน์
กำกับภาพสุทัศน์ อินทรานุปกรณ์
ตัดต่อรินทร์ วชิรปิตานนท์
ดนตรีประกอบจำรัส เศวตาภรณ์
ผู้จัดจำหน่ายอาร์เอสฟิล์ม
วันฉาย30 เมษายน พ.ศ. 2542
ความยาว90 นาที
ภาษาไทย
เขมร
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

เนื้อเรื่องย่อ แก้

มิตรภาพของเด็กหนุ่มสาว 4 คน จากจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย เดียว, น้ำ และน้อย ทั้ง 3 เปิดร้านกาแฟและร้านอาหารที่กรุงเทพมหานคร วันหนึ่ง อิฐก็กลับมา โดยแท้จริงแล้ว อิฐหลบหนีบิ๊ก ซึ่งเคยร่วมแก๊งค์เดียวกันปล้นรถขนเงินธนาคารมาก่อน บิ๊กโดน แจ็ค ผู้นำแก๊งค์หักหลัง บิ๊กตามมาทวงเอาเงินคืน โดยจับน้อยไปเรียกค่าไถ่ ทั้งหมดจึงตามไปด้วยช่วยน้อย บิ๊กโดนยิงตาย แต่น้อยก็ได้รับบาดเจ็บจนเสียสติ ความทรงจำเลอะเลือนไป ส่วนเดียวก็ถูกรถไฟทับขาขาดและถูกจับเข้าคุก หมดอนาคตที่จะเป็นตำรวจตามที่ฝันไว้

อิฐรู้สึกผิด จึงพยายามจะช่วยเพื่อน จึงยอมรับใช้ อำนาจ นักการเมืองผู้โกงชาติ ซึ่งมีแจ็คเป็นผู้ช่วยมือขวา ขณะที่เดียวอยู่ในคุกก็ได้รับการเสี้ยมสอนจากเฮียแหลม มาเฟียนักโทษรุ่นพี่ร่วมห้อง ส่วนน้ำซึ่งเป็นผู้หญิงคนเดียวของกลุ่ม ก็คอยพยาบาลดูแลน้อยตลอด

2 ปีผ่านไป เมื่ออำนาจ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้ไว้ใจอิฐมากขึ้น แจ็คจึงหาทางกำจัดอิฐด้วยการใส่ร้ายอิฐ และจ้างเดียว ซึ่งพ้นจากคุกมาแล้ว เป็นผู้กำจัดอิฐผ่านทางเฮียแหลม

นักแสดง แก้

นักแสดงรับเชิญ แก้

เบื้องหลัง แก้

แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว นับเป็นผลงานภาพยนตร์ลำดับที่สองของ องอาจ สิงห์ลำพอง ต่อจาก ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน (พ.ศ. 2540) โดยมี ปราโมทย์ แสงศร ซึ่งร่วมแสดงในเรื่องนี้ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้กำกับฯอีกด้วย[1]

และจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ศรราม เทพพิทักษ์ ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2542[2]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้