แซ็งต์-ชาแปล (ฝรั่งเศส: Sainte-Chapelle, ภาษาฝรั่งเศส: [sɛ̃t ʃapɛl], อังกฤษ: The Holy Chapel) เป็นโบสถ์น้อยของนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิก แซ็งต์-ชาแปลอาจจะถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก

แซ็งต์-ชาแปล
แซ็งต์-ชาแปล, ข้างในชั้นสอง
ศาสนา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
จังหวัดมุขมณฑลแห่งปารีส
ภูมิภาคอีล-เดอ-ฟร็องส์
จารีตโรมัน
สถานะฆราวาสตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส
ที่ตั้ง
รัฐฝรั่งเศส
พิกัดภูมิศาสตร์48°51′19″N 2°20′42″E / 48.85528°N 2.34500°E / 48.85528; 2.34500พิกัดภูมิศาสตร์: 48°51′19″N 2°20′42″E / 48.85528°N 2.34500°E / 48.85528; 2.34500
สถาปัตยกรรม
ประเภทโบสถ์ปารีส
รูปแบบกอทิก
ลงเสาเข็มค.ศ. 1242 (1242)
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 1248 (1248)
ชื่อทางการ: แซ็งต์-ชาแปล
แต่งตั้ง1862
หมายเลขอ้างอิงPA00086259[1]
นิกายÉglise
เว็บไซต์
www.sainte-chapelle.fr

ประวัติ แก้

 
ภาพเดือนมิถุนายนแสดงแซ็งต์-ชาแปลสูงเด่นเหนือภูมิทัศน์ของพระราชวังหลวง (ภาพจากหนังสือกำหนดเทศกาลดยุกเดอแบร์รีโดยพี่น้องลิมบูร์ก ราว ค.ศ. 1400
 
เพดานของชาเปลชั้นล่าง

แซ็งต์-ชาแปล[2] ที่ตั้งอยู่ลานของพระราชวังหลวงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรักษาเรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล เช่น มงกุฎหนามของพระเยซู, ภาพเอเดสซา และเรลิกอื่น ๆ เกี่ยวกับพระเยซูอีกสามสิบชิ้นที่เดิมเป็นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1239 ที่ทรงได้รับจากนักบวชคณะดอมินิกันสององค์ที่เวนิส พระเจ้าหลุยส์ทรงทำการซื้อเรลิกที่เกี่ยวกับพระทรมานของพระเยซูจากจักรพรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล, จักรพรรดิบอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นจำนวนเงินมหาศาลถึง 135,000 ลีฟวร์ตูร์นัวที่จ่ายให้แก่พ่อค้าชาวเวนิสที่สมบัติเหล่านี้ถูกจำนำอยู่[3] ค่าก่อสร้างแซ็งต์-ชาแปลเองที่เป็นที่เก็บตกมงคลวัตถุราคาเพียง 40,000 ลีฟวร์ตูร์นัว ก่อนหน้าที่จะสร้างเสร็จ เรลิกได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังแวงแซนส์ และในชาเปลที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ในปี ค.ศ. 1241 ก็ได้เรลิกเพิ่มขึ้นที่รวมทั้งไม้กางเขนแท้และอื่น ๆ ฉะนั้นแซ็งต์-ชาแปลที่เสกเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1248 จึงเป็นเสมือน “หีบบรรจุวัตถุมงคล” (Reliquary)[4]

ในขณะเดียวกันก็เป็นการเผยถึงความทะเยอทยานของพระเจ้าหลุยส์ทางการเมืองและทางวัฒนธรรม เมื่อประมุขของบัลลังก์คอนสแตนติโนเปิลมีบรรดาศักดิ์เป็นเพียงเคานต์แห่งฟลานเดอร์ และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อยู่ในสภาวะที่ยุ่งเหยิงสับสนในการที่จะเป็นผู้นำของจักรวรรดิคริสเตียนตะวันตก

แซ็งต์-ชาแปลเป็นตัวอย่างสำคัญของการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่พยายามทำให้สิ่งก่อสร้างดูเหมือนปราศจากน้ำหนัก เชื่อกันว่าสถาปนิกผู้ออกแบบชาเปลคือปีแยร์เดอมงเตอโร[5] ตัวชาเปลตั้งอยู่ในวังหลวงซึ่งเป็นวัดสำหรับผู้ที่ประทับและอาศัยอยู่ในพระราชวัง ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาล

สิ่งที่เด่นที่สุดของแซ็งต์-ชาแปลคือหน้าต่างประดับกระจกสีที่แคบและสูงและตกแต่งด้วยกระจกที่เป็นสีแพรวพราว หน้าต่างกุหลาบมาเพิ่มเติมบนชั้นบนของชาเปลภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 15

ชาเปลที่เห็นในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างใหม่ แต่สองในสามของหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นหน้าต่างดั้งเดิม ชาเปลได้รับความเสียหายอย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อยอดและเบญจาถูกรื้อ และเรลิกกระจัดกระจายหายไป ยังคงเหลืออยู่แต่ “เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล” ที่ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แต่หีบเก็บวัตถุมงคลที่รวมทั้ง “grande châsse” ถูกหลอม แซ็งต์-ชาแปลถูกเวนคืนเป็นหอเอกสารในปี ค.ศ. 1803 หน้าต่างยาวสองเมตรต้องถูกรื้อออกเพื่อให้แสงส่องเข้ามาได้มากขึ้น[6] งานบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้รับการบันทึกอย่างถี่ถ้วนทำโดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกในปี ค.ศ. 1855 ถือกันโดยผู้ร่วมสมัยว่าเป็นงานบูรณปฏิสังขรณ์ชั้นเยี่ยม[7] และเที่ยงตรงต่อภาพวาดและคำบรรยายดั้งเดิมของชาเปลที่ยังหลงเหลืออยู่

แซ็งต์-ชาแปลมีฐานะเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862

ระเบียงภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ

  1. Mérimée database 1992
  2. The architectural structure was distinct from the transient capella regis, the "king's chapel" of the royal household that followed the movements of the court and from the personnel of which, as from his council, the king habitually appointed chancellors and bishops: see Robert Branner, "The Sainte-Chapelle and the Capella Regis in the Thirteenth Century", Gesta 10.1 (1971:19-22).
  3. Baldwin had appeared at the court of Louis in 1237 to ask for aid in defending Constantinople from the Greeks.
  4. Robert Branner, St Louis and the Court Style in Gothic Architecture 1966:8ff).
  5. Prof. Robert Branner saw in the design the hand of an unidentified master mason from Amiens (Branner,
  6. The Philadelphia Museum of Art conserves three panels from the "Judith" window, identified by M. Caviness, "Three medallions of stained glass from the Sainte-Chapelle of Paris", Bulletin of the Philadelphia Museum of Art 62 (July-September 1967:249-55).
  7. Viollet-le-Duc, Dictionnaire, s.v. "Restauration", "Vitrail"; a modern reassessment of the stained-glass restorations, in the context of the Gothic Revival, is in Alyce A. Jordan, "Rationalizing the Narrative: Theory and Practice in the Nineteenth-Century Restoration of the Windows of the Sainte-Chapelle", Gesta 37.2, Essays on Stained Glass in Memory of Jane Hayward (1918-1994) (1998:192-200).

บรรณานุกรม แก้

  • de Finance, Laurence (2012). La Sainte-Chapelle- Palais de la Cité (ภาษาฝรั่งเศส). Éditions du Patrimoine, Centre des Monuments Nationaux. ISBN 978-2-7577-0246-8.
  • Brisac, Catherine (1994). Le Vitrail (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: La Martinière. ISBN 2-73-242117-0.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Cavicchi, Camilla (2019). "Origin and Dissemination of Images of the Saint Chapel". Music in Art: International Journal for Music Iconography. 44 (1–2): 57–77. ISSN 1522-7464.
  • Gebelin, F. (1937) La Sainte Chapelle et la Conciergerie. Paris.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้