แคนเดิลอินเดอะวินด์

"แคนเดิลอินเดอะวินด์" (อังกฤษ: Candle in the Wind) เป็นเพลงที่เซอร์ เอลตัน จอห์นประพันธ์ดนตรีขึ้น และประพันธ์เนื้อเพลงโดยเบอร์นีย์ ทอพีน เมื่อปี ค.ศ. 1973 เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่มาริลิน มอนโร ที่เสียชีวิตเมื่อ 11 ปีก่อน[1] และต่อมาได้ใช้เป็นเพลงในพระราชพิธีพระศพของไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย

"แคนเดิลอินเดอะวินด์"
ซิงเกิลโดยเอลตัน จอห์น
จากอัลบั้มกูดบายเยลโลว์บริกค์โรด
ด้านบี"เบ็นนีแอนด์เดอะเจ็ตส์"
วางจำหน่าย22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 (1974-02-22)
บันทึกเสียงพฤษภาคม 1973
สตูดิโอChâteau d'Hérouville ฝรั่งเศส
แนวเพลงป็อปร็อก, ซอฟต์ร็อก
ความยาว3:50
ค่ายเพลงเอ็มซีเอ, ดีเจเอ็ม
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์กัส ดัดเจียน
ลำดับซิงเกิลของเอลตัน จอห์น
"เบ็นนีแอนด์เดอะเจ็ตส์"
(1974)
"แคนเดิลอินเดอะวินด์"
(1974)
"ดอนต์เลตเดอะซันโกดาวน์ออนมี"
(1974)

เพลงนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1973 โดยเซอร์เอลตัน จอห์น กับอัลบั้มกูดบายเยลโลว์บริกค์โรด เนื้อเพลงเปรียบเทียบถึงชีวิตของมาริลิน มอนโร (ประโยคแรกขึ้นต้นว่า "Goodbye Norma Jean" ซึ่งหมายถึงมาริลิน เพราะชื่อจริงของเธอคือ Norma Jeane Mortenson) โดยกล่าวถึงความอ้างว้างเปลี่ยวเหงาของเธอในปีสุดท้ายแห่งชีวิต ทอพีนผู้ประพันธ์เพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจของเนื้อเพลงจากประโยคว่า "candle in the wind" ซึ่งเป็นการไว้อาลัยถึงนักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดัง เจนีส จอพลีน

ในปี ค.ศ. 1997 เซอร์เอลตัน จอห์นได้นำเพลงนี้มาร้อง เป็นการไว้อาลัยให้แก่ผู้หญิงที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกคนหนึ่งของโลกคือ ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ในงานพระราชพิธีพระศพนั้น เป็นการร้องสดเพียงครั้งเดียวของท่านเซอร์ และเพลงนี้ได้รับการกล่าวขวัญถึง และกลายเป็นเพลงที่ "ฮิต" ติดอันดับในเวลาต่อมา ใน ค.ศ. 2006 เพลงนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นเพลงที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก

ในงานพระราชพิธีพระศพนั้นไม่ใช่แต่เพียงจอห์นเท่านั้นที่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ หากแต่คนรอบข้างและทั้งโลกที่เสียดายต่อการจากไปของไดอาน่า จอห์นได้เปลี่ยนเนื้อเพลงท่อนแรกเสียใหม่จาก "Goodbye Norma Jean" เป็น "Goodbye England's Rose" ท่านเซอร์ได้สร้างความเป็นคู่ขนาน ทั้งเหมือนและแตกต่างระหว่างสตรีชื่อก้องโลกทั้งสองด้วยบทเพลงนี้ แม้ว่าทั้งคู่จะมีชีวิตที่แตกต่างกันมาก แต่ก็เหมือนกันในข้อที่ต้องทุกข์ทรมาน "เพราะ" และ "เพื่อ" คนอื่นเช่นกัน ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงที่กินใจผู้ชมมากที่สุดคือท่อนที่ว่า "Your candle's burned out long before...your legend ever will...." (เทียนน้อยของเธอดับสิ้นนานไป แต่ตำนานของเธอจะไม่เสื่อมทรามตามลง)

บุคลากร แก้

การรับรอง แก้

ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
United Kingdom (BPI)[2] Silver 200,000 

 ตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง แก้

  1. Ben Brantley (11 October 2004). "Some Like It Hot, Some Like It Painted in Words". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  2. "British single certifications – Elton John – Candle in the Wind". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.