แก๊สจากขยะฝังกลบ

แก๊สจากขยะฝังกลบ เมื่อนำขยะชุมชนมากำจัดด้วยการฝังกลบ จะทำให้เกิดส่วนผสมของแก๊สหลายๆชนิดภายในหลุมฝังกลบนั้นด้วยขบวนการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เราสามารถนำแก๊สบางชนิดมาใช้เป็นพลังงานได้ แก๊สบางอย่างต้องทำลาย

ผลที่ได้จากขยะฝังกลบ แก้

อัตราการเกิดแก๊สจากขยะเป็นขบวนการย่อยสลายทางเคมีและชีวภาพขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมีของขยะ อุณหภูมิภายในบ่อ ปฏิกิริยาการหมัก สภาพการแตกต่างกัน และความไม่แน่นอนโดยธรรมชาติของส่วนผสม ทำให้เป็นการยากที่จะคาดการณ์ในการผลิตแก๊สเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ และยากกว่าการกำจัดขยะด้วยวิธีอื่น

เมื่อขบวนการย่อยสลายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแก๊สเพิ่มขึนเรื่อยๆ แก๊สเหล่านี้ทำให้เกิดแรงดันขึ้นภายในหลุมกลบ แก๊สบางส่วนจะรั่วออกสู่บรรยากาศ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายครั้งในประเทศทางยุโรป เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ต้องมีมาตรการการเฝ้าระวังตลอด การรั่วไหลของแก๊สทำให้น้ำใต้ดินบริเวณโดยรอบหลุมฝังกลบแทบทุกแห่งปนเปื้อน

แก๊สที่เกิดจากขยะนี้ ประมาณ 40-50% เป็นมีเทน ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ นอกจากนี้ก็ยังมี ไนโตรเจนและอ๊อกซิเจน ไอน้ำ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆที่เรียกว่า"สารประกอบที่ไม่ใช่มีเทน" เช่นปรอท ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1% ของแก๊สทั้งหมด สารประกอบที่ไม่ใช่มีเทน มีทั้งหมด 49 ตัว รวมทั้งสารพิษเช่นเบนซีน โทลูอีน โคลโรฟอร์ม และคาร์บอนเตตระคลอไรด์ วิธีการจัดการกับแก๊สจากขยะก็คือเผาทิ้งทำลาย หรือนำไปต้มทำความร้อน หรือจ่ายให้เครื่องสันดาปภายในเพื่อผลิตไฟฟ้า หรือเปลี่ยนมีเทนให้เป็นเมททิลแอลกอฮอล์ หรือทำให้สะอาดแล้วส่งไปตามท่อไปให้อุตสาหกรรมอื่นหรือส่งเข้าไปในท่อส่งแก๊สธรรมชาติ

ในสหรัฐ คาดว่าจะมีหลุมฝังกลบขยะกว่า 6000 หลุม ทำให้ผลิตเมเทนได้เป็นจำนวนมาก กว่า 600,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อปี หลุมเหล่านี้ปล่อยมีเทนขึ้นอยู่บรรยากาศของโลกด้วยฝีมือมนุษย์มากที่สุด

การเฝ้าดู แก้

แก๊สบางชนิดจากขยะอันตราย จึงต้องมีการเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ตัวจับเปลวไฟก็สามารถนำมาวัดระดับปริมาณของมีเทนได้ การเฝ้าดูต้องทำที่ระดับผิวดินและต่ำกว่า หลุมฝังกลบขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีระบบเก็บรวบรวมและควบคุมแก๊ส เพื่อที่ว่าอย่างน้อยต้องมีการเก็บและเผาทิ้ง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมได้มีความพยายามที่จะจูงใจให้นำแก๊สที่ได้จากหลุมฝังกลบมาเปลี่ยนเป็นพลังงานให้มากขึ้น จุดประสงค์ก็เพื่อลดการปล่อยมีเทนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

การนำไปผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย แก้

จังหวัด ขนาดการผลิต MW[1]
สมุทรปราการ 1.0
นครปฐม 1 .87
นครปฐม 2 .23
นครปฐม 3 2.0
นครปฐม 4 1,0
ปทุมธานี .055
ฉะเชิงเทรา 1.0
เชียงใหม่ 1.0

การต่อต้าน แก้

แหล่งทิ้งขยะยังไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลในพื้นที่ เพราะจะทำให้กระทบกับสุขอนามัยของชาวบ้าน และขยะทีถูกนำมาทิ้ง ไม่ได้มาจากชุมชนของตัวเองเท่านั้น ขยะจากชุมชนใกล้เคียงก็จะมาทิ้งที่นั่นด้วยเพราะทุกชุมชนมีปัญหาอย่างเดียวกันหมด

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แก้

แก็สที่เกิดจากหลุมฝังกลบ มีทั้งมีเทนและคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ แก๊สทั้งสองอย่างนี้ ถ้าถูกปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์อ้างว่ามีเทนมีผลกระทบมากกว่าคารืบอนไดอ๊อกไซด์ถึง 20 เท่า

อ้างอิง แก้

  1. [1] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, พลังงานขยะ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน