แกนีมีด (ดาวบริวาร)

แกนีมีด (อังกฤษ: Ganymede) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีสนามแม่เหล็กสูง พื้นผิวหลายลักษณะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกอย่างซับซ้อนยาวนาน มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ พื้นที่เก่าแก่เป็นบริเวณมืดคล้ำเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ขรุขระ เป็นแอ่งลึก กับพื้นที่ใหม่เป็นบริเวณที่ราบเรียบ สว่างกว่า มีน้ำแข็งติดกับดินหิน บางพื้นที่เป็นรอยแยกยาวเหยียด

แกนีมีด
การค้นพบ
ค้นพบโดย:กาลิเลโอ กาลิเลอี
ไซมอน มาริอุส
ค้นพบเมื่อ:11 มกราคม ค.ศ. 1610
ชื่ออื่น ๆ:Jupiter III
ลักษณะของวงโคจร
รัศมีวงโคจรเฉลี่ย:1070400 km[1]
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.0013[1]
คาบการโคจร:7.15455296 วัน[1]
ความเอียง:0.20° (จากเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี) [1]
ดาวบริวารของ:ดาวพฤหัสบดี
ลักษณะทางกายภาพ
พื้นที่ผิว:8.72×107 km2 (0.171 ของโลก) [c]
ปริมาตร:7.66×1010 km3 (0.0704 ของโลก) [d]
มวล:1.4819×1023 kg (0.025 ของโลก) [2]
ความหนาแน่นเฉลี่ย:1.936 g/cm3 (0.351 ของโลก)[2]
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
1.428 m/s2 (0.146 g)
ความเร็วหลุดพ้น:2.741 km/s
ความเอียงของแกน:0–0.33°[3]
อัตราส่วนสะท้อน:0.43 ± 0.02[4]
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
trace
องค์ประกอบ:ออกซิเจน[5]

แกนีมีดเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามเทพแกนีมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็นที่รักของเทพซูส

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Planetary Satellite Mean Orbital Parameters". Jet Propulsion Laboratory, California Institute of Technology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2013. สืบค้นเมื่อ February 9, 2008.
  2. 2.0 2.1 Showman, Adam P.; Malhotra, Renu (October 1, 1999). "The Galilean Satellites" (PDF). Science. 286 (5437): 77–84. doi:10.1126/science.286.5437.77. PMID 10506564. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2011. สืบค้นเมื่อ January 17, 2008.
  3. Bills, Bruce G. (2005). "Free and forced obliquities of the Galilean satellites of Jupiter". Icarus. 175: 233–247. doi:10.1016/j.icarus.2004.10.028.
  4. Yeomans, Donald K. (2006-07-13). "Planetary Satellite Physical Parameters". JPL Solar System Dynamics. สืบค้นเมื่อ 2007-11-05.
  5. Hall, D. T.; Feldman, P. D.; และคณะ (1998). "The Far-Ultraviolet Oxygen Airglow of Europa and Ganymede". The Astrophysical Journal. 499 (1): 475–481. Bibcode:1998ApJ...499..475H. doi:10.1086/305604.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้