เฮนรี คิสซินเจอร์

เฮนรี คิสซินเจอร์ (อังกฤษ: Henry Kissinger) หรือชื่อเกิดคือ ไฮนทซ์ อัลเฟรท คิสซิงเงอร์ (เยอรมัน: Heinz Alfred Kissinger; 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023) เป็นนักการเมือง นักการทูต และที่ปรึกษาด้านภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เดิมเขาเป็นชาวเยอรมันโดยกำเนิด เขาและครอบครัวซึ่งมีเชื้อสายยิวได้อพยพออกจากนาซีเยอรมนีและมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1938 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐและที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ บทบาทของเขาที่ผลักดันข้อตกลงสันติภาพปารีสจนทำให้เกิดการหยุดยิงในสงครามเวียดนามทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1973 ท่ามกลางความเห็นแย้งของบรรดาคณะกรรมการรางวัลโนเบล[1]

เฮนรี คิสซินเจอร์
คิสซินเจอร์ ใน ค.ศ. 1973
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ คนที่ 56
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน ค.ศ. 1973 – 20 มกราคม ค.ศ. 1977
ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน
เจอรัลด์ ฟอร์ด
รอง
  • เคนเน็ธ รัช
  • โรเบิร์ต อิงเกอร์ซอลล์
  • ชาร์ลส์ โรบินสัน
ก่อนหน้าวิลเลียม โรเจอร์ส
ถัดไปไซรัส แวนซ์
ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ คนที่ 7
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 1969 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975
ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน
เจอรัลด์ ฟอร์ด
รอง
  • ริชาร์ด อัลเลน
  • อเล็กซานเดอร์ เฮก
  • เบรนต์ สคาวครอฟต์
ก่อนหน้าวอลต์ วิทแมน รอสโตว์
ถัดไปเบรนต์ สคาวครอฟต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ไฮนทซ์ อัลเฟรท คิสซิงเงอร์

27 พฤษภาคม ค.ศ. 1923(1923-05-27)
เฟือร์ท บาวาเรีย เยอรมัน
เสียชีวิต29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023(2023-11-29) (100 ปี)
เคนท์ รัฐคอนเนทิคัต สหรัฐ
พรรคการเมืองริพับลิกัน
บุตร2
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหรัฐ
สังกัด กองทัพบกสหรัฐ
ประจำการ1943 – 1946
ยศ จ่า
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

คิสซินเจอร์เป็นบุคคลซึ่งเป็นทั้งที่รักและที่ชังในการเมืองอเมริกา เขาถูกประณามเป็นอาชญากรสงครามโดยเหล่าบรรณาธิการข่าว, นักการเมือง, นักกิจกรรม และนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีทฤษฎีสมคบคิดกันว่าเขามีส่วนรู้เห็นกับการทรมานและอุ้มหาย[2][3][4] เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐประหารในประเทศชิลี ค.ศ. 1973 และเป็นผู้ให้ "ไฟเขียว" แก่รัฐบาลทหารอาร์เจนตินาในสงครามสกปรก และมีส่วนที่สหรัฐเข้าเป็นผู้สนับสนุนปากีสถานในสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศจนเกิดเป็นการสังหารหมู่[5] แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้รับการยกย่องเชิดชูในฐานะรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐที่มีผลงานที่สุดโดยวงการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[6]

ชีวิตตอนต้น แก้

คิสซินเจอร์เกิดในปี ค.ศ. 1923 ที่เมืองเฟือร์ท รัฐไบเอิร์น ประเทศเยอรมนี โดยมีชื่อแรกว่า ไฮนทซ์ อัลเฟรท คิสซิงเงอร์ ครอบครัวเขาเป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว[7] นายลูอิส คิสซิงเงอร์ (Louis Kissinger) ผู้บิดาเป็นครูสอนหนังสือ ส่วนนางเพาลา ชแตร์น (Paula Stern) มารดาเป็นแม่บ้าน เขามีน้องชายหนึ่งคนนามว่าวัลเทอร์ คิสซิงเงอร์ (Walter Kissinger) สกุลคิสซิงเงอร์ถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1817 ตามชื่อเมืองบาทคิสซิงเงิน[8] โดยนายไมเออร์ เลิบ (Meyer Löb) บรรพบรุษของตระกูล ในปี ค.ศ. 1938 ขณะที่เขามีอายุ 15 ปี เขาและครอบครัวอพยพหนีออกจากประเทศเยอรมนีจากผลของนโยบายต่อต้านชาวยิว

ชีวิตส่วนตัว แก้

คิสซินเจอร์เป็นแฟนฟุตบอล (ซ็อคเกอร์) อย่างเข้มข้น เขาเคยเป็นนักเตะเยาวชนของสโมสรกรอยเธอร์ เฟือร์ท ซึ่งเป็นสโมสรในท้องถิ่น นอกจากนั้นเจ้าตัวยังเป็นแฟนทีมดังกล่าวอีกด้วย โดยหลังจากกรอยเธอร์ เฟือร์ท ขึ้นสู่บุนเดสลีกา ในฤดูกาล 2012-13 เขาได้ไปชมการแข่งขันที่สนามชปอร์ทพาร์คร็อนโฮฟ ซึ่งเป็นสนามเหย้าของทีมในเกมกับชัลเคอ 04 ในเดือนกันยายน 2012[9] และเคยนำฟุตบอลมาใช้เป็นข้อมูลทางการทูตที่แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของชาวรัสเซียในคิวบา[10]

เสียชีวิต แก้

เฮนรี คิสซินเจอร์ เสียชีวิตวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ที่บ้านพักในคอนเนตทิคัต รวมอายุ 100 ปี

อ้างอิง แก้

  1. Feldman, Burton (2001). The Nobel Prize: A History Of Genius, Controversy, and Prestige. Arcade Publishing. p. 16. ISBN 978-1-55970-537-0.
  2. "Henry Kissinger: Realpolitik and Kurdish Genocide". March 24, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-18. สืบค้นเมื่อ March 1, 2019.
  3. Rohter, Larry (March 28, 2002). "As Door Opens for Legal Actions in Chilean Coup, Kissinger Is Numbered Among the Hunted". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
  4. "Protesters Heckle Kissinger, Denounce Him for 'War Crimes'". The Times of Israel. January 30, 2015. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
  5. Bass, Gary (September 21, 2013). "Blood Meridian". The Economist. สืบค้นเมื่อ February 13, 2016.
  6. "The Best International Relations Schools in the World". Foreign Policy. February 3, 2015. สืบค้นเมื่อ August 8, 2015.
  7. Isaacson, Walter (1992). Kissinger: A Biography. Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-66323-0.
  8. "Die Kissingers in Bad Kissingen" [The Kissinger in Bad Kissingen] (ภาษาเยอรมัน). Bayerischer Rundfunk. June 2, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2007. สืบค้นเมื่อ February 3, 2007.
  9. https://www.reuters.com/article/soccer-germany-kissinger-idINDEE88E05Q20120915
  10. https://www.irishtimes.com/sport/soccer/how-henry-kissinger-spoke-football-when-playing-politics-1.3252429