ปืน เอ็ม1 กาแรนด์ (M1 Garand) เป็นอาวุธปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติประจำกายขนาด 0.30 นิ้ว ที่เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามเกาหลี และยังพบเห็นบ้างในช่วงสงครามเวียดนาม ปืนไรเฟิลเอ็ม 1 ส่วนใหญ่ถูกผลิตและใช้ในกองกำลังสหรัฐ แต่ก็มีหลายแสนกระบอกที่ส่งไปให้กับประเทศพันธมิตรของอเมริกา ปืนกาแรนด์ยังคงถูกใช้งานในการฝึกซ้อมและในกองทหารเกียรติยศ สำหรับพลเรือนใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการล่าสัตว์ การยิงเป้า และเป็นของสะสมทางทหาร

ปืน M1 Garand
ปืน M1 Garand พร้อมคลิปกระสุนแบบ en bloc
ปืน M1 Garand
ชนิด ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ semi-automatic rifle
สัญชาติ  สหรัฐ
สมัย สงครามโลกครั้งที่ 2
การใช้งาน อาวุธประจำกาย
เป้าหมาย บุคคล
เริ่มใช้ 1939
ช่วงผลิต 1936-1957
ช่วงการใช้งาน 1936-ปัจจุบัน
ผู้ใช้งาน
สงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม
ขนาดลำกล้อง 0.30 นิ้ว (7.62 มิลลิเมตร) 4 เกลียว เวียนขวา
ระยะครบรอบเกลียว 10 นิ้ว (1:10)
ความยาวลำกล้อง 24 นิ้ว (609.6 มิลลิเมตร)
กระสุน .30-06 Springfield
ซองกระสุน แบบ En Bloc ความจุ 8 นัด
ระบบปฏิบัติการ ขับดันด้วยแก๊ส (Gas-operated) ขัดกลอนด้วยลูกเลื่อนหมุนตัว (Rotating Bolt)
อัตราการยิง
ความเร็วปากลำกล้อง 2,800 ฟุต/วินาที (853 เมตร/วินาที)
ระยะยิงหวังผล 440 หลา (402 เมตร)
ระยะยิงไกลสุด 3,450 หลา (3,200 เมตร)
น้ำหนัก 9.5 ปอนด์ (4.31 กก.) น้ำหนักปืนเปล่า
11.6 ปอนด์ (5.3 กิโลกรัม) น้ำหนักปืนพร้อมกระสุน
ความยาว 43.5 นิ้ว (1,107.4 มิลลิเมตร)
แบบอื่น M1C, M1D

ปืนเอ็ม 1 ได้ชื่อตามจอห์น ซี กาแรนด์ (John C. Garand) ผู้ออกแบบชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส มันเป็นปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติมาตรฐานกองทัพชนิดแรก[1] ปืนเอ็ม 1 ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐทดแทนปืนเอ็ม1903 สปริงฟิลด์ในปี ค.ศ. 1936[2] และปลดประจำการในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1958 โดยมีปืนเล็กยาวเอ็ม 14 มาประจำการแทน[3] โดยปืนบางส่วนทางการสหรัฐฯได้มอบให้แก่กองกำลังท้องถิ่นและมิตรประเทศตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางทหาร (JUSMAG) ในช่วงสงครามเย็นซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยประเทศไทยได้รับมอบปืนรุ่นนี้สำหรับใช้ในภารกิจปราบปรามและรักษาความสงบภายในประเทศ ก่อนจะทยอยปลดประจำการเป็นอาวุธสำรองราชการและใช้เป็นปืนฝึกท่าอาวุธสำหรับนักศึกษาวิชาทหารและนักเรียนนายสิบตำรวจ ในภายหลัง

ปืนเอ็ม1 กาแรนด์มีคุณสมบัติในการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ ความแม่นยำสูง สามารถเล็งยิงซ้ำได้อย่างรวดเร็ว ตอนแรกนายการ์แรนด์ได้ออกแบบปืนเอ็ม1 กาแรนด์ให้ใช้กับกระสุนขนาด 7×51 มิลลิเมตร (.276 Pedersen) และสามารถบรรจุในคลิปกระสุนได้ 10 นัด แต่เมื่อกองทัพสหรัฐฯรับมาพิจารณาใน ค.ศ.1932 ก็มีคำสั่งให้ใช้กระสุน .30-06 ทำให้ความจุเหลือเพียง 8 นัด[4]

ปืน T20 ตัวต้นแบบ

อ้างอิง แก้

  1. Hogg, Ian V., & Weeks, John. Military Small-Arms of the 20th Century (London: Arms & Armour Press, 1977), p.183, "US Rifle, Caliber .30in ('Garand'), M1-M1E9, MiC, M1D, T26".
  2. jonfrye. "History of the M1 Garand Rifle". Garand Collectors Association (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
  3. "The M14 Rifle: John Garand's Final Legacy". www.americanrifleman.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
  4. Julian S. Hatcher, Hatcher's Notebook, MSPC 1947, pp.44–46, 155–156, 165–166.