เอเชียออนไลน์ เป็นบริษัทเอกชนซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยนักลงทุนและธุรกิจเงินร่วมลงทุนสถาบัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ และมีการปฏิบัติงานที่สำคัญอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาทั่วทวีปเอเชีย และการดำเนินการเพิ่มการขายในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ

Asia Online Pte Ltd
อุตสาหกรรมTranslation / Portals
ผู้ก่อตั้งGregory Binger, Dion Wiggins, Bob Hayward
สำนักงานใหญ่Singapore
จำนวนที่ตั้ง
Singapore, Thailand, Los Angeles, Indonesia
บุคลากรหลัก
Gregory Binger, Dion Wiggins, Bob Hayward, Philipp Koehn, Tim Cox, Kirti Vashee.
ผลิตภัณฑ์Language Studio Automated Translation Suite
บริการAutomated translation
เว็บไซต์http://www.asiaonline.com, http://www.asiaonline.net,http://www.languagestudio.com

เอเชียออนไลน์กำลังดำเนินการในสิ่งที่เรียกว่า โครงการเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยการแปลความรู้ในภาษาอังกฤษจำนวนมากไปเป็นภาษาของประเทศเอเชีย ซึ่งใช้เทคโนโลยีเครื่องแปลภาษาแบบใช้สถิติ (SMT) ซึ่งได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นให้ความสนใจในภาษาเอเชีย แต่ไม่เพียงเฉพาะภาษาในทวีปเอเชียตามชื่อบริษัทเท่านั้น เอเชียออนไลน์ยังสนับสนุนภาษาราชการของสหภาพยุโรปอีก 23 ภาษา

บริษัทดังกล่าวก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2549 โดยฟิลิป เคิห์น จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ, เกรกอรี บิงเกอร์ นักเทคโนโลยีและทนายความ และอดีตนักวิเคราะห์อาวุโสของการ์ตเนอร์ บ็อบ เฮย์วาร์ด และดิออน วิกกินส์

ซอฟต์แวร์แปลภาษาที่ใช้สถิติของเอเชียออนไลน์เป็นตัวอย่างของความก้าวหน้าล่าสุดของการแปลภาษาอัตโนมัติ[ต้องการอ้างอิง] จนกระทั่งต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เทคโนโลยีการแปลภาษาระดับ เทคโนโลยีเครื่องแปลภาษาระดับการผลิตเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับรายการกฎทางภาษาเพื่อวิเคราะห์ถึงประโยคที่มา จากนั้นนำการสร้างประโยคและโครงสร้างความหมายเข้าไปยังภาษาเป้าหมาย เอเชียออนไลน์ใช้เทคนิคทางสถิติจากวิทยาการเข้ารหัสลับ[ต้องการอ้างอิง] โดยใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งนำเอารูปแบบทางสถิติจากรายการแปลของมนุษย์ที่ใกล้เคียงกันที่มีอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ และระบบที่ใช้เป็นเครื่องมือโมเสสโอเพ่นซอร์สของเคิห์นสำหรับเครื่องแปลภาษาอัตโนมัติ แต่ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติมอีกเป็นอันมาก

ข่าวการแปลวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย แก้

จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ กสท. โทรคมนาคม สนับสนุนโครงการแปลบทความแปลบทความบนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ โดยใช้งบประมาณ 10.7 ล้านบาท ภายใน 1 ปี เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้และรองรับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีสูงกว่า 20 ล้านคน[1] ใน พ.ศ. 2553 โดยมีการเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554 จุติกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า การแปลดังกล่าวจะมีความถูกต้องมากกว่า 95%[1] ถึงแม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโครงการนี้อย่างกว้างขวางทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เอเชีย ออนไลน์ยังให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาคุณภาพการแปลบทความในเว็บไซต์ได้โดยการเพิ่มข้อมูลให้ระบบแปลเรียนรู้เชิงสถิติ การตรวจแก้ภาษาบทความต่างๆ และจะมีการแปลบทความใหม่เป็นระยะๆ[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 เท10ล.แปล"วิกิพีเดีย"เป็นภาษาไทย ไอซีทีดันกสท-ทีโอทีเดินหน้าบรอดแบนด์แห่งชาติ. ประชาชาติ. สืบค้น 26-1-2554.
  2. "การพัฒนาคุณภาพการแปลของเอเชีย ออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.