เอาเตอร์ก็อด หรือ อุตรเทพ เป็นศัพท์ซึ่งใช้เรียกเทพสมมุติในวรรณกรรมกลุ่มตำนานคธูลู ซึ่งมีที่มาจากบทประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์

อซาธอทที่อยู่ ณ ใจกลางของจักรวาล

โดยรวมแล้ว เอาเตอร์ก็อดเป็นเทพที่มีอำนาจมากกว่าเกรทโอลด์วันและมีอิทธิพลในระดับจักรวาล แต่ความแตกต่างของเทพทั้งสองกลุ่มก็ค่อนข้างคลุมเครือ และบางครั้งผู้ศึกษางานประพันธ์กลุ่มตำนานคธูลูก็ไม่อาจแยกเทพทั้งสองกลุ่มออกจากกันได้[1]

ลักษณะโดยทั่วไป แก้

ผู้นำของเหล่าเอาเตอร์ก็อดคืออซาธอท เทพตาบอดผู้โง่เขลา ซึ่งหลับใหลอยู่ ณ ใจกลางของจักรวาลโดยมีเทพอื่นๆเต้นระบำและเล่นดนตรีขับกล่อมอซาธอทอยู่โดยรอบ ในบรรดาเอาเตอร์ก็อดที่อยู่กับอซาธอทประกอบด้วยทุลซ์ชา เปลวไฟสีเขียว ชุบ นิกกูรัธ แพะดำแห่งป่า ยอก โซธอท ทั้งหมดในหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นเทพแห่งมิติและเวลาทั้งมวล และไนอาลาโธเทป ความวุ่นวายที่คืบคลาน ซึ่งเป็นสื่อกลางระหว่างเหล่าเทพเจ้าและสาวก ไนอาลาโธเทปเป็นเอาเตอร์ก็อดเพียงหนึ่งเดียวที่มีบุคลิกคล้ายกับมนุษย์[2]

เอาเตอร์ก็อดตนอื่นๆ แก้

กรอธ แก้

(Ghroth) ปรากฏตัวในเรื่อง The Music of the Spheres ของเควิน เอ รอส กรอธมีลักษณะเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กหรือดวงจันทร์ มีสีแดงสนิมและรอยแยกขนาดใหญ่ที่มีดวงตาขนาดมหึมาอยู่ข้างใต้ กรอธจะเดินทางไปในจักรวาลพร้อมกับร้องเพลงไปด้วย เมื่อเข้าใกล้ดาวเคราะห์อื่น เพลงของกรอธจะทำให้เกรทโอลด์วันหรือเอาเตอร์ก็อดที่หลับใหลอยู่ตื่นขึ้น ซึ่งมักทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่บนดาวดวงนั้นหรือแม้แต่การแตกสลายของดวงดาว[3] เชื่อว่ากรอธเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หลายๆครั้งบนโลก และเป็นต้นเหตุให้ดาวแชกไกของเผ่าแมลง ชานแตกสลาย[4] เรื่องของกรอธนี้มีที่มาจากทฤษฏีดาวเนเมซิส

ดาโอล็อธ แก้

(Daoloth) ปรากฏตัวในเรื่อง The Render of the Veils ของแรมซีย์ แคมเบล มีฉายาว่า ผู้คลี่ม่าน ดาโอล็อธอยู่ในมิติเหนือมิติทั้งสามที่มนุษย์รับรู้ได้ ร่างของดาโอล็อธเป็นทรงกลมกับแท่งที่เป็นอนินทรีย์วัตถุต่างๆรวมถึงโลหะและพลาสติกประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงที่แปลกประหลาดอย่างซับซ้อน เนื่องจากรูปลักษณ์ของดาโอล็อธเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสำนึกของมนุษย์และทำให้ผู้ที่พบเห็นเสียสติได้ การทำพิธีเรียกดาโอล็อธจึงต้องทำในความมืดเท่านั้น และถ้าไม่ใช้เวทมนตร์กักดาโอล็อธไว้ ดาโอล็อธจะขยายตัวขึ้นและกลืนทุกคนในบริเวณใกล้เคียงเข้าไป ซึ่งผู้ที่ถูกดาโอล็อธกลืนเข้าไปจะถูกส่งไปยังโลกซึ่งเต็มไปด้วยความพิลึกพิลั่นและตายในที่สุด กล่าวว่านักบวชของดาโอล็อธจะสามารถมองเห็นเหตุการณ์ในอดีตและอนาคตได้ รวมถึงสามารถมองเห็นการเหลื่อมล้ำในมิติของวัตถุต่างๆอีกด้วย

ทุลซ์ชา แก้

(Tulzscha) ปรากฏตัวในเรื่อง The Festival ของเลิฟคราฟท์ มีฉายาว่าเปลวไฟสีเขียว เป็นหนึ่งในเอาเตอร์ก็อดที่เต้นระบำขับกล่อมอซาธอท เมื่อสาวกทำพิธีเรียกมายังโลกจะปรากฏร่างเป็นเสาเพลิงสีเขียวซีด ร่างของทุลซ์ชาไม่มีความร้อนและแสงของทุลซ์ชาจะไม่ทำให้เกิดเงาเหมือนไฟธรรมดา พื้นดินใกล้กับที่ทุลซ์ชาปรากฏร่างนั้นจะแปดเปื้อนด้วยพิษและสิ่งมีชีวิตในบริเวณใกล้เคียงจะล้มตาย กล่าวว่าในอนาคตอันไกลโพ้น ทุลซ์ชาจะเป็นผู้ทำลายโลกโดยทำให้ดวงอาทิตย์โชติช่วงขึ้นและกลืนโลกเข้าไป สาวกของทุลซ์ชานั้นสามารถเรียกเบียกีซึ่งเป็นอสูรรับใช้ของฮัสเทอร์มาเพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับเดินทางในอวกาศได้

ยิดฮ์รา แก้

(Yidhra) ปรากฏตัวในเรื่อง Where Yidhra Walks ของวอลเตอร์ ซี. เดบิล จูเนียร์ มีฉายาว่าแม่มดฝัน ยิดฮ์รานั้นเป็นอมตะและอยู่บนโลกมาตั้งแต่ก่อน3,000ปีแรกเริ่มที่จะมีสิ่งมีชีวิต ยิดฮ์ราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้โดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นและวิวัฒนาการตามลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น เมื่อเวลาผ่านไป ยิดฮ์ราก็จะแบ่งร่างย่อยออกมาซึ่งล้วนแต่มีจิตสำนึกร่วมกัน ยิดฮ์รานั้นมีสาวกอยู่ทั่วโลก สาวกของยิดฮ์รานั้นอาจรับชีวิตอมตะได้โดยกลายเป็นส่วนหนึ่งของยิดฮ์รา ยิดฮ์ราจะเปิดเผยร่างที่แท้จริงต่อสาวกผู้ภักดีอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏกายด้วยภาพลวงตาเป็นหญิงสาวผู้งดงามเสียมากกว่า

หมอกนิรนาม แก้

(Nameless mist) ปรากฏตัวในจดหมายของเอช.พี.เลิร์ฟคราฟเอง หมอกนิรนามเป็นเอาเตอร์ก๊อดที่ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตต่างๆในจักรวาลอื่นได้ รวมถึง yog-sothoth ด้วยและมันมีอายุเก่าแก่กว่าเอาเตอร์ก๊อดทุกตัวยกเว้น อซาทอธ ที่เป็นผู้สร้าง​ ลักษณะ​ของมันไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนเพราะปรากฏ​เพียงในจดหมายเท่านั้น

ซัคซัคครูธ​ แก้

(Cxaxakluth)​ ปรากฏตัวในเรื่อง​ the​ Uuresponding​ gods​ ประพันธ์​โดย​ คราก​ แอชตัน​ สมิธ​ ซัคซัคครูธนั้นเป็นลูกที่เกิดจากการแบ่งตัวของอซาธอธ​ มันได้อยู่กับครอบครัวของมันบนดาวยุกกอธก่อนที่จะแยกออกจากครอบครัวเพราะว่าดาวเคราะห์​ทั้งหลายบนระบบสุริยะ​เป็นอาหารเรียกน้ำย่อยของมัน

อุบโบ ซาธลา แก้

(Ubbo-Sathla) ปรากฏตัวในเรื่อง Ubbo-Sathla ของคลาก แอชตัน สมิท อุบโบ ซาธลาเป็นหนึ่งในเทพซึ่งอยู่ในถ้ำยิคาใต้ภูเขาวูรมิธาเดรธ มีลักษณะเป็นกลุ่มโปรโตพลาสซึมขนาดใหญ่และให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตระดับจุลินทรีย์ออกจากตัวอย่างต่อเนื่อง อุบโบ ซาธลาทำหน้าที่คุ้มกันหินจารึกซึ่งเชื่อว่าบันทึกความรู้ของเหล่าเอลเดอร์ก็อดไว้ แม้จะกล่าวว่าอุบโบ ซาธลาได้ให้กำเนิดบรรพบุรุษของชีวิตทั้งมวลบนโลก แต่สิ่งใดก็ตามที่ถูกระยางของอุบโบ ซาธลาสัมผัสจะปราศจากชีวิตไปตลอดกาล และในอนาคต อุบโบ ซาธลาจะกลืนทุกชีวิตในโลกเข้ากับตัวเองอีกครั้ง

เอาเตอร์ก็อดชั้นต่ำ แก้

(Lesser Outer God) ระบุถึงใน ภารกิจฝันแห่งปริศนาคาแดธ (Dream Quest of Unknow Kadath) ของเลิฟคราฟท์ เอาเตอร์ก็อดชั้นต่ำเป็นคำเรียกรวมๆถึงเอาเตอร์ก็อดที่ไม่มีชื่อและเต้นระบำขับกล่อมอซาธอท เอาเตอร์ก็อดชั้นต่ำมีลักษณะและอำนาจที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดก็ล้วนแต่ไม่มีความคิดเช่นเดียวกับอซาธอท บางครั้งเทพชั้นต่ำนี้จะให้กำเนิดเอาเตอร์ก็อดตนอื่นออกมา ซึ่งเอาเตอร์ก็อดที่เกิดใหม่นี้บ้างก็จะเดินทางไปในจักรวาล แต่ส่วนใหญ่จะอยู่กับตนอื่นๆมากกว่า

แอบฮอธ แก้

(Abhoth) ปรากฏตัวในเรื่อง The Seven Geases ของคลาก แอชตัน สมิท มีฉายาว่า ต้นตอแห่งความโสโครก แอบฮอธเป็นหนึ่งในเทพซึ่งอยู่ในถ้ำยิคาใต้ภูเขาวูรมิธาเดรธ แอบฮอธมีลักษณะเป็นบ่อเนื้อเหลวสีเทาซึ่งให้กำเนิดอสุรกายดุร้ายรูปร่างต่างๆกัน อสุรกายที่กำเนิดจากแอบฮอธส่วนใหญ่จะถูกแอบฮอธใช้สายระยางและแขนดึงกลับไปและกินเป็นอาหาร แอบฮอธสามารถใช้โทรจิตสื่อสารกับผู้ที่อยู่ใกล้ได้ เนื่องจากลักษณะของแอบฮอธคล้ายคลึงกับอุบโบ ซาธลามาก จึงเป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้วเทพทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกัน

ไฮดรา แก้

(Hydra) ปรากฏตัวในเรื่อง Hydra ของเฮนรี คัทเนอร์ มีลักษณะเป็นของเหลวสีเทาปริมาณมหาศาลซึ่งมีหัวของมนุษย์และมนุษย์ต่างดาวจำนวนมากผุดขึ้นมาและร่ำไห้ด้วยความเจ็บปวด สาวกของไฮดราจะหลอกใช้ผู้อื่นในการสังเวยแก่ไฮดราโดยมอบคัมภีร์ On the Sending Out of the Soul ซึ่งมีมนต์พิธีกรรมสำหรับการถอดจิตออกจากร่างไปยังที่ใดๆได้ตามความปรารถนา แต่ไฮดราจะรวมตัวกับร่างจิตของผู้ประกอบพิธี และตัดหัวของทุกคนในบริเวณที่ร่างจิตปรากฏตัวเพื่อนำมารวมไว้ในตัวไฮดราเอง ผู้ที่ทำพิธีถอดจิตจะกลับคืนสู่ร่างเองในภายหลังโดยไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากอาการช็อกที่ได้เห็นการฆ่าฟันของไฮดรา[5] ชื่อของไฮดรานั้นมาจากงูพิษในตำนานกรีก แต่ในตำนานคธูลูนี้ ไฮดราเป็นส่วนหนึ่งของอซาธอท

ไนอาลาโธเทป แก้

ไนอาลาโธเทป (Nyarlathotep) หรือไนอาลัทโฮเทป หรือเนียลาโธเทป เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า เอาเตอร์ก็อด ในงานประพันธ์ของ เอช. พี. เลิฟคราฟท์ ไนอาลาโธเทปมีฉายาว่า "ความวุ่นวายที่คืบคลาน" (Crawling Chaos) ปรากฏตัวในเรื่องสั้นชื่อ ไนอาลาโธเทป (พ.ศ. 2463) และนับเป็นเทพที่มีบทบาทมากที่สุดตัวหนึ่งในงานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์

หมายเหตุ แก้

  1. Daniel Harms, "Outer Gods", The Encyclopedia Cthulhiana, p. 233.
  2. Harms. The Encyclopedia Cthulhiana, "Azathoth", pp. 16; "Nyarlathotep", pp. 218; "Shub-Niggurath", pp. 275; "Tulzscha", pp. 304; Yog-Sothoth, p. 346.
  3. Kevin A. Ross, "The Music Of The Spheres", Made In Goatswood, pp. 211-222.
  4. Daniel Harms, "Ghroth", The Encyclopedia Cthulhiana, pp. 118-9.
  5. Henry Kuttner, "Hydra", The Azathoth Cycle, pp. 50-63.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • H. P. Lovecraft (1987) [1925]. "The Festival". ใน S. T. Joshi (ed.) (บ.ก.). Dagon and Other Macabre Tales (9th corrected printing ed.). Sauk City, WI: Arkham House. ISBN 0-87054-039-4. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help) Definitive version.
  • Walter C. DeBill, Jr. (2003) [1976]. "Where Yidhra Walks". ใน Kevin L. O'Brien (ed.) (บ.ก.). Tales of Awe and Terrible Beauty: The Complete Works of Walter C. DeBill, Jr. Lindisfarne Press. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Servants of Tulzscha, a mythos site devoted to the Green Flame (อังกฤษ)
  • Scott David Aniolowski (2006). Malleus Monstrorum: Creatures, Gods & Forbidden Knowledge. Hayward, CA: Chaosium. ISBN 1-56882-179-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)