เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2016

การแข่งขันฟุตบอล

เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2016 (หรือ เอฟเอคอมมิวนิตีชิลด์ 2016 ซัพพอเต็ดบาย แมคโดนัลด์ ตามชื่อผู้สนับสนุน) เป็นการแข่งขันฟุตบอล เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ ครั้งที่ 94 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีระหว่างทีมผู้ชนะ พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16 เลสเตอร์ซิตี แข่งขันกับทีมขนะเลิศ เอฟเอคัพ ฤดูกาล 2015–16 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยการแข่งขันถูกจัดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2016สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน

เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2016
วันที่7 สิงหาคม ค.ศ. 2016
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
เอริก บายี (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)
ผู้ตัดสินเคร็ก พอว์สัน (เซาท์ยอร์คเชียร์)
ผู้ชม85,437 คน
2015
2017

ภูมิหลัง แก้

เลสเตอร์ซิตี ได้เข้าร่วมการแข่งขันหลังจากชนะเลิศ พรีเมียร์ลีกในวันที่ 3 พฤษภาคม จากการที่ทอตนัมฮอตสเปอร์ แข่งขันเสมอ 2–2 กับเชลซี ทำให้เลสเตอร์คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรและได้เข้าร่วมฟุตบอลรายการนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งเลสเตอร์ชนะลิเวอร์พูล ด้วยผลคะแนน 1–0 ณ ฟิลเบอร์สตรีท โดยได้เข้าแข่งขันในฐานะแชมป์ดิวิชัน 2 (ปัจจุบันนี้คือ ลีกแชมเปียนชิป) ทั้งนี้แชมป์ในฤดูกาลก่อนหน้านั้นทั้งดิวิชัน 1 และเอฟเอคัพ คือ อาร์เซนอล ไม่สามารถลงแข่งได้ เนื่องจากติดการแข่งขันอุ่นเครื่องก่อนเปิดฤดูกาล[1]

ขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เข้าร่วมในฐานะผู้ชนะเลิศเอฟเอคัพ หลังจากสามารถเอาชนะคริสตัลพาเลซ ในรอบชิงชนะเลิศได้ด้วยคะแนน 2–1 ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ทำให้แมนฯยูไนเต็ดคว้าแชมป์เอฟเอคัพ เป็นสมัยที่ 12 ทำให้ได้แข่งขันรายการเป็นครั้งที่ 30 และเคยได้แชมป์มาแล้ว 20 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดที่ได้แชมป์คือในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งคือการเอาชนะวีแกนแอธเลติก 2–0 ภายใต้การจัดการและฝึกสอนของเดวิด มอยส์

การแข่งขันที่ทั้งคู่พบกันล่าสุดเกิดขึ้นที่ โอลด์แทรฟฟอร์ด ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ใน้เกมพรีเมียร์ลีก โดยอ็องตอนี มาร์ซียาล เป็นผู้ทำประตูให้กับแมนฯ ยูไนเต็ดในนาทีที่ 8 ก่อนที่ในอีก 9 นาทีต่อมา เวส มอร์แกน กัปตันทีมของเลสเตอร์จะทำประตูตีเสมอให้กับทีมได้ ซึ่งผลจบลงด้วยคะแนนนี้[2]

โชเซ มูรีนโย ผู้จัดการทีมแมนฯ ยูไนเต็ด ได้เป็นผู้จัดการทีมลงแข่งขันในคอมมิวนิตีชีลด์ 2 ปีติดต่อกัน โดยในปีก่อนหน้าเขาเป็นผู้จัดการทีมของเขลซี ซึ่งแพ้ให้กับคูแข่ง อาร์เซนอล 1–0[3]

การแข่งขัน แก้

สรุป แก้

เจสซี ลินการ์ด เป็นผู้ทำประตูแรกให้กับแมนฯ ยูไนเต็ดในนาทีที่ 32 จากการเลี้ยงบอลผ่านผู้เล่น 6 คนของเลสเตอร์และวิ่งเข้าไปยิงประตูด้วยเท้าขวาผ่านมือของ แคสเปอร์ สไมเกิล เข้าไป[4] ก่อนที่ในนาทีที่ 52 จากจังหวะที่อาห์เมด มูซา พาบอลขึ้นมาทำเกมรุกในพื้นที่ของอีกฝ่ายและเปิดบอลสั้นให้ วาร์ดี แต่ในจังหวะนี้ได้ถูก มารวน แฟลายนี ตัดบอลไว้และคืนหลังให้กับ ดาบิด เด เฆอา แต่มีความแรงน้อยเกินไป วาร์ดี จึงตัดบอลได้ก่อนจะถึงตัวเด เฆอา และเข้าไปยิงประตูด้วยเท้าซ้ายผ่านมือของเขาไปได้สำเร็จ เป็นประตูตีเสมอ 1–1[5] ก่อนที่ ซลาตัน อีบราฮีมอวิช กองหน้าชาวสวีเดนจะเป็นผู้โหม่งทำประตูเป็นประตูที่สองของแมนฯ ยูไนเต็ดจากการเปิดบอลทางด้านขวาของ อันโตนิโอ บาเลนเซีย เป็นประตูที่ทำให้ทีมชนะเลิศการแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 21 และเป็นครั้งที่ 17 ในฐานะแชมป์เดี่ยว[6]

รายละเอียด แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
เลสเตอร์ซิตี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
GK 1   แคสเปอร์ สไมเกิล
RB 17   แดนนี ซิมป์สัน   40'   63'
CB 6   โรเบิร์ต ฮูธ   89'
CB 5   เวส มอร์แกน (c)
LB 28   คริสเตียน ฟุชส์   80'
RM 26   ริยาด มาห์เรซ
CM 10   แอนดี คิง   55'   62'
CM 4   แดนนี่ ดริงค์วอเตอร์
LM 11   มาร์ก ออลไบรตัน   46'
CF 20   ชินจิ โอะกะซะกิ   46'
CF 9   เจมี วาร์ดี   75'
ผู้เล่นตัวสำรอง:
GK 21   รอน โรเบิร์ต ซีเลอร์
DF 2   ลุยส์ เอร์นันเดซ โรดรีเกซ   63'
DF 15   เจฟฟรีย์ ชลุปป์   80'
MF 22   เดมาไร เกรย์   46'
MF 24   แนมพายต์ เมนดี้   62'
FW 7   อาห์เมด มูซา   46'
FW 23   เลโอนาร์โด้ อูยัว   89'
ผู้จัดการทีม:
  เกลาดีโอ รานีเอรี
 
GK 1   ดาบิด เด เคอา
RB 25   อันโตเนียว บาเลนเซีย
CB 3   เอริก บายี   71'
CB 17   เดลีย์ บลินด์
LB 23   ลู้ก ชอว์   69'
CM 16   ไมเคิล แคร์ริก   61'
CM 27   มารวน แฟลายนี
RW 14   เจสซี ลินการ์ด   63'
AM 10   เวย์น รูนีย์ (c)   87'
LW 11   อ็องตอนี มาร์ซียาล   70'
CF 9   ซลาตัน อีบราฮีมอวิช
ผู้เล่นตัวสำรอง:
GK 20   เซร์คีโอ โรเมโร
DF 5   มาร์โกส โรโค   69'
MF 8   ควน มาตา   63'   90+3'
MF 21   อันเดร์ เอร์เรรา   61'
MF 22   แฮนริค มะคีทาเรียน   90+3'
MF 28   มอร์แกน ชเนแดร์แล็ง   87'
FW 19   มาร์คัส แรชฟอร์ด   70'
ผู้จัดการทีม:
  โชเซ มูรีนโย

แมนออฟเดอะแมตซ์:
เอริก บายี (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
สเตปเฮนท์ ชิลล์ (เคนต์)
ลี เบตี (นอร์ฟอล์ก)
ผู้ตัดสินที่สี่:
บ็อบบี เมดลีย์ (เวสต์ฟอร์กเชีย)

กฎการแข่งขัน

  • แข่ง 90 นาที
  • ดวลลูกโทษ หากเสมอกันใน 90 นาที
  • สามารถเปลี่ยนตัวได้ 6 คน

อ้างอิง แก้

  1. "Leicester City - Liverpool 1-0 1971-08-07 FA Charity Shield". youtube. May 11, 2016. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.
  2. Leicester City 1–1 Manchester United bbc.com 1 พฤษภาคม 2016
  3. "Leicester 1 Man Utd 2". Guardian. 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
  4. "Community Shield: Leicester City 1 Manchester United 2 as it happened". The 42. 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017.
  5. "Community Shield: Leicester City 1 Manchester United 2 - Zlatan Ibrahimovic late header wins United's 21st Shield". Telegraph. 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017.
  6. "Community Shield: Manchester United beat Leicester with Ibrahimovic header". Guardian. 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017.
  7. "'อิบรา' โชกชัย! 'ผีแดง' เฉือนจิ้งจอกสยาม 2-1 ซิวโล่คอมมูนิตี้ชิลด์". ไทยรัฐ. August 7, 2016. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.
  8. Veevers, Nicholas (7 July 2016). "Craig Pawson to take charge of the FA Community Shield". TheFA.com. The Football Association. สืบค้นเมื่อ 3 August 2016.