เอฟซี รีเซพเตอร์

ตัวรับเอฟซี หรือ เอฟซี รีเซพเตอร์ (อังกฤษ: Fc Receptor) คือเป็นโปรตีนบนผิวของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำหน้าที่เป็นรีเซพเตอร์ (ตัวรับหรือจับ) ของแอนติบอดีส่วนขา (Fc component, Constant region) เมื่อจับได้จะส่งสัญญาณเข้าไปสู่เซลล์ ต่างๆกันตามชนิดของแอนติบอดี ชนิดของรีเซพเตอร์ และ ชนิดของเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ทำงานต่างๆ เช่น ฟาโกไซโทซิส (การทำลายแบคทีเรียโดยการนำเข้าเซลล์), degranulation (การปล่อยสารในเวซิเคิลในเซลล์ออกไป) และอื่นๆ โดยตัวรับเอฟซีแต่ละชนิดก็จะเจาะจงกับแอนติบอดีแต่ละไอโซไทป์ (isotype) และด้วยหน้าที่นี้จึงถือว่าตัวรับเอฟซีเป็นตัวเล่นที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันส่วนของเหลว (humoral immune system)

ภาพไดอะแกรมแสดง ปฏิกิริยาระหว่างตัวรับเอฟซีและ แอนติเจนที่ถูกตรวจจับด้วยแอนติบอดี

ระบบการเรียกชื่อของตัวรับเอฟซี แก้

เนื่องจากตัวรับเอฟซีมีหลายชนิดมาก และ จับกับแอนติบอดีต่างๆกันไป จึงแบ่งชนิดของมันตามแอนติบอดีที่มันจับ โดยให้ชื่อเป็นอักษรกรีกของแอนติบอดีนั้นๆ อย่างเช่น Fc Receptor ใด จับกับ IgA ก็จะมีชื่อว่า Fc-alpha Receptor (FcαR) , จับกับ IgE ก็จะมีชื่อว่า Fc-epsilon Receptor (FcεR) , จับกับ IgG ก็จะมีชื่อว่า Fc-gamma receptors (FcγR) เป็นต้น กรณีที่มีซับคลาส ก็จะใช้ตัวเลขโรมัน ต่อท้ายระบุลงไป เช่น FcγRI, FcγRII

โครงสร้างของตัวรับเอฟซี แก้

ส่วนมากจะเป็นโปรตีนหลายๆ ซับยูนิตมารวมกัน ส่วนมากจะเป็นโปรตีนในกลุ่ม Immunoglobulin superfamily ซึ่งประกอบด้วย สายแอลฟา ที่มีส่วนอยู่นอกเซลล์ไว้จับกับแอนติบอดี สายบีตา และ สายแกมมา สองสายที่ใช้ในการส่งสัญญาณเข้าในเซลล์ ซึ่งตัวรับเอฟซีแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องมีทุกสายครบ ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวรับเอฟซีนั้นๆ จากโครงสร้างของตัวรับเอฟซีสามารถถูกแบ่งได้คร่าวๆเป็นสามกลุ่มดังนี้

  1. Receptors with immunglobulin-like domain ได้แก่ FcγRs, FcεRI, FcαRI, polymeric immunoglobulin receptor (pIgR) , IgA/IgM-R (Fcα/μR)
  2. Receptors with immunglobulin-like domain ได้แก่ FcRn (neonatal FcR)
  3. Receptors with immunglobulin-like domain ได้แก่ FcεRI (CD23)

ตารางสรุป แก้

ชนิด Receptor แอนติบอดีที่จับ ความสามารถในการจับ (Affinity) พบบนเซลล์ ปฏิกิริยาตอบสนองของเซลล์
FcγRI (CD64) IgG1 and IgG3 สูง (Kd ~ 10-9 M) Macrophages
Neutrophils
Eosinophils
Dendritic cells
Phagocytosis
Cell activation
กระตุ้นการเกิด respiratory burst
กระตุ้นการกำจัดเชื้อโรค
FcγRIIA (CD32) IgG ต่ำ (Kd > 10-7 M) Macrophages
Neutrophils
Eosinophils
เกล็ดเลือด
Langerhans cells
Phagocytosis
Degranulation (eosinophils)
FcγRIIB1 (CD32) IgG ต่ำ (Kd > 10-7 M) บีเซลล์
Mast cells
ไม่เกิด phagocytosis
ยับยั้งการทำงานของเซลล์
FcγRIIB2 (CD32) IgG ต่ำ (Kd > 10-7 M) Macrophages
Neutrophils
Eosinophils
Phagocytosis
ยับยั้งการทำงานของเซลล์
FcγRIIIA (CD16a) IgG ต่ำ (Kd > 10-6 M) NK cells กระตุ้นให้ทำลายเซลล์ที่ไม่ต้องการโดย วิธี antibody-dependent cell-mediated cytotoxicity (ADCC)
FcγRIIIB (CD16b) IgG ต่ำ (Kd > 10-6 M) Eosinophils
Macrophages
Neutrophils
Mast cells
Follicular dendritic cells
กระตุ้นการฆ่าเชื้อโรค
FcεRI IgE สูงที่สุด (Kd ~ 10-10 M) Mast cells
Eosinophils
Basophils
Langerhans cells
Degranulation
FcεRII (CD23) IgE ต่ำ (Kd > 10-7 M) บีเซลล์
Eosinophils
Langerhans cells
เกี่ยวกับการเกาะติดของเซลล์ (adhesion molecule)
เป็น growth factor ของ บีเซลล์
FcαRI (CD89) IgA ต่ำ (Kd > 10-6 M) Monocytes
Macrophages
Neutrophils
Eosinophils
Phagocytosis
กระตุ้นการฆ่าเชื้อโรค
และอื่นๆตามชนิดเซลล์
Fcα/μR IgA and IgM สูงสำหรับ IgM, ปานกลางสำหรับ IgA บีเซลล์
Mesangial cells
Macrophages
Endocytosis
กระตุ้นการฆ่าเชื้อโรค
ป้องกันการสร้างแอนติบอดีที่ต่อต้านตัวเอง (autoimmunity)
FcRn IgG Monocytes
Macrophages
Dendritic cells
Epithelial cells
Endothelial cells
Hepatocytes
ส่งผ่านแอนติบอดี IgG จากแม่สู่ลูกในครรภ์ ผ่านทางรก
ส่งผ่านแอนติบอดี IgG จากแม่ สู่ ทารกผ่านทางน้ำนม
ป้องกัน IgG จากการถูกย่อยสลาย
pIgR dimerIgA และ polymerIgM เซลล์เยื่อบุ (epithelial cell) ส่งผ่านแอนติบอดี dimerIgA จากเซลล์ร่างกายสู่น้ำเมือกในท่อลำเลียง (transcytosis)


การส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ แก้

ส่วนใหญ่ใช้ผ่าน โปรตีน สาย บีตา และ แกมมา ที่มี โปรตีนโมทิฟที่มีกรดอะมิโนไทโรซีน เป็นกลไกการส่งสัญญาณ ชื่อ Immunoreceptor tyrosine-based activation motif (ITAM) ที่มีผลในทางกระตุ้น หรือ Immunoreceptor tyrosine-based inhibitory motif (ITIM) ที่มีผลในทางยับยั้งการทำงานของเซลล์ สำหรับตัวรับเอฟซีบางชนิดจะไม่มีโปรตีนโมทิฟที่ว่ามา แต่จะมี โปรตีนโมทิฟอื่นแทนในการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ เช่น ใน Fcα/μR และ pIgR จะมี dileucine motif และ Glycophosphatidylinositol (GPI) anchor


การทำงานของเซลล์หลังได้รับสัญญาณ แก้

 
การกระตุ้นให้กรานูลาของมาสต์เซลล์แตกออก (degranulation) โดยปฏิกิริยาระหว่าง IgE กับ FcεRI. 1 = แอนติเจน; 2 = IgE; 3 = FcεRI; 4 = สารหลั่งที่ถูกสร้างก่อน (preformed mediators: histamine, proteases, chemokines, heparin) ; 5 = แกรนูลา; 6 - มาสต์เซลล์ (mast cell) ; 7 - สารที่เกิดใหม่หลังการ degranulation เช่น prostaglandins, leukotrienes, thromboxanes, platelet-activating factor

เมื่อเซลล์ที่มีตัวรับเอฟซีบนเซลล์ ได้รับการส่งสัญญาณเข้าภายในเซลล์แล้ว เซลล์จะมีการตอบสนองหลักๆ 3 แบบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเซลล์ ดังนี้

  1. ผลต่อการนำแอนติเจนเข้าสู่เซลล์ซึ่งอาจเป็น endocytosis หรือฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ก็ได้
  2. ผลต่อการสังเคราะห์สารในเซลล์ เช่น ไซโตคีน (Cytokine) และอื่นๆ
  3. ผลทำให้เซลล์ปล่อยสารบางอย่างออกมา (Degranulation) เช่นใน เอ็นเค เซลล์ (NK cell) ที่จะปล่อยสารออกมาฆ่าเซลล์ที่ถูกแอนติบอดีจับได้ หรือ ในมาสต์เซลล์ ที่ปล่อยสารภูมิแพ้ เช่น ฮิสตามีน ออกมา

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • Immunobiology. 5th ed. Janeway, Charles A.; Travers, Paul; Walport, Mark; Shlomchik, Mark. New York and London: Garland Publishing; c2001.