เห็ดเผาะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Fungi
หมวด: Basidiomycota
ชั้น: Agaricomycetes
อันดับ: Boletales
วงศ์: Diplocystaceae
สกุล: Astraeus
สปีชีส์: A.  hygrometricus
ชื่อทวินาม
Astraeus hygrometricus
(Pers.) Morgan (1889)
ชื่อพ้อง[1]

Lycoperdon stellatus Scop. (1772)
Geastrum hygrometricum Pers. (1801)
Geastrum fibrillosum Schwein. (1822)
Geastrum stellatum (Scop.) Wettst. (1885)
Astraeus stellatus E.Fisch. (1900)

เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ เป็นเห็ดราชนิดหนึ่งในวงศ์ Diplocystaceae เมื่ออ่อนและดอกยังไม่เปิดมีลักษณะคล้ายเห็ดราในหมวด Basidiomycota กล่าวคือเป็นลูกกลม เมื่อโตขึ้นดอกเห็ดมีลักษณะเป็นรูปดาวซึ่งเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อชันนอกของสปอโรคาร์ปแตกออก เห็ดเผาะเป็นเห็ดชนิดไมคอร์ไรซาที่เติบโตร่วมกับต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินร่วนปนทราย

เห็ดเผาะมีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ชื่อสามัญ hygroscopic earthstar มาจากมันมีคุณสมบัติไฮโกรสโคปิก (ดูดซับน้ำ) เห็ดจะเปิดดอกวงนอกเผยถุงสปอร์เมื่อมีความชื้นเพิ่มขึ้นและปิดอีกครั้งเมื่อแห้ง ดอกวงนอกจะแตกแบบไม่สม่ำเสมอที่ผิว ขณะที่ถุงสปอร์เป็นสีน้ำตาลอ่อนมีรอยฉีกยาวบริเวณด้านบน เกลบา (gleba) เริ่มแรกมีสีขาวและกลายเป็นสีน้ำตาลและเป็นผงเมื่อสปอร์เจริญเต็มที่ สปอร์มีสีน้ำตาลแดง เกือบกลม มีปุ่มเล็กๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5–11 ไมโครเมตร

แม้ว่าจะมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน แต่เห็ดเผาะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเห็ดราในสกุล Geastrum ถึงในอดีตจะมีการจัดอนุกรมวิธานไว้ในสกุลนี้ก็ตาม เห็ดชนิดนี้ได้รับการจัดจำแนกครั้งแรกโดยคร้สติน เฮนดริก เพอร์ซูน (Christiaan Hendrik Persoon) ในปี ค.ศ. 1801 เป็น Geastrum hygrometricus ในปี ค.ศ. 1885 แอนดรูว์ พี. เมอร์แกน (Andrew P. Morgan) เสนอว่าเห็นชนิดนี้มีความแตกต่างทางลักษณะในระดับที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จึงควรแยกออกเป็นสกุลใหญ่ Astraeus แต่ความเห็นนี้กลับไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ประชากรเห็ดในเอเชียที่แต่เดิมจำแนกเป็นเห็ดเผาะ (A. hygrometricus) ได้รับการจัดจำแนกใหม่ในช่วงทศวรรษที่ 20 จากการจำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์เห็ดในสกุล Astraeus ประกอบด้วย เห็ดเผาะฝ้าย (A. asiaticus) และเห็ดเผาะหนัง (A. odoratus)

อนุกรมวิธาน แก้

ลักษณะ แก้

เห็ดที่มีลักษณะคล้ายคลึง แก้

 
Astraeus pteridis มีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันแต่มีขนาดใหญ่กว่า พบในอเมริกาเหนือและกานาเรียส

แม้ว่าเห็ดเผาะ (A. hygrometricus) เมื่อมองผิวเผินจะรูปร่างคล้ายกับเห็ดในสกุล Geastrum แต่มันแตกต่างจากเห็ดส่วนใหญ่ในสกุล Geastrum คือการดูดคายความชื้นตามธรรมชาติของดอกเห็ด เห็ด Hygroscopic earthstars ประกอบด้วย G. arenarium, G. corollinum, G. floriforme, G. recolligens, และ G. kotlabae.[2] A. hygrometricus ไม่เหมือนกับ Geastrum ตรงที่ดอกเห็ดยังอ่อนของ A. hygrometricus ไม่มีคอลิวเมลลา (เนื้อเยื่อสืบพันธุ์ไม่ได้ในเกลบาที่ฐานของถุงสปอร์)[3] สกุล Geastrum ถุงสปอร์จะเปิดรอบเพอริสโตมหรือจาน แต่ใน A. hygrometricus ฉีกแหว่งเพียงรอยเดียว มีความแตกต่างอีกหลายประการเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ใน A. hygrometricus เบซิเดียมไม่ได้จัดเรียงเป็นคอลัมน์คู่ขนาน สปอร์มีขนาดใหญ่กว่า และเส้นใยของแคพิลลิเทียมแตกกิ่งก้านและต่อเนื่องกับใยราของผนังหุ้มส่วนสร้างสปอร์[4][5] แม้จะมีความแตกต่างเหล่านี้ แต่ตัวอย่างทางชีววิทยาที่เก่ายังยากจำแนกแยกความแตกต่างจาก Geastrum ได้[6] เห็ดอีกชนิดในสกุล Geastrum, G. mammosum มีดอกที่หนาและเปราะ ดูดคายความชื้นปานกลาง ซึ่งอาจทำให้สับสนกับ A. hygrometricus ได้ อย่างไรก็ตาม เห็ดชนิดนี้สปอร์มีขนาดเล็กกว่า A. hygrometricus โดยทั่วไปแล้วมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 4 µm[7]


ถิ่นอาศัย การกระจายพันธุ์ และนิเวศวิทยา แก้

 
เห็ดเผาะต้ม อาหารที่เป็นที่นิยมในภาคเหนือของไทย

เห็ดเผาะเป็นเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซา (ectomycorrhizal) ที่เจริญเติบโตร่วมกับต้นไม้สามชนิด[8] มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างรากต้นไม้และกลุ่มใยราของเห็ดรา เห็ดช่วยต้นไม้สกัดสารอาหาร (โดยเฉพาะฟอสฟอรัส) จากผืนดิน ในทางกลับกัน เห็ดจะได้รับคาร์โบไฮเดรตจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของต้นไม้[9] ในทวีปอเมริกาเหนือ เห็ดเผาะมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพากับต้นโอ๊กและไม้จำพวกสน[10] ขณะที่ในประเทศอินเดีย มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพากับสน Pinus roxburghii และต้นสาละ (Shorea robusta)[9] เห็ดเผาะพบขึ้นกระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่มบนพื้นดินในที่เปิดโล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนดินที่มีธาตุอาหารต่ำ ดินทราย หรือดินร่วน[5][11][12] มีรายงานว่าพบในพื้นที่ดินปนหินด้วยเช่นกัน ในสภาพดินเป็นกรดที่ประกอบด้วยหินชนวนและหินแกรนิต แต่ไม่พบบนดินที่มีหินปูนจำนวนมาก[13] ในประเทศเนปาล มีรายงานว่าพบเห็ดที่ความสูง3,000 m (9,800 ft)[14] ดอกเห็ดมักพบในฤดูใบไม้ร่วง แม้ว่าดอกแห้งจะสามารถคงสภาพได้สองถึงสามปี[7] Gelatinipulvinella astraeicola เป็นเห็ดราในวงศ์ leotiaceous ที่มีขนาดเล็ก คล้ายวุ้น มีแอโพทิเชียคล้ายนวม มักเจริญเติบโตในเห็ดสกุลAstraeus ที่ตายแล้ว รวมถึง A. hygrometricus ด้วย[15]

เห็ดเผาะมีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในพื้นที่อบอุ่นและเขตร้อน[16] ยกเว้น พื้นที่ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นแบบแอนตาร์ติค และแบบแอลป์[12] พบในแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ[17] และอเมริกาใต้[18]

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ แก้

 
โครงสร้างทางเคมีของสายโซ่โมเลกุลซึ่งมีลักษณะเฉพาะของไตรเทอร์พีน astrahygrol, 3-epi-astrahygrol, และ astrahygrone ที่ก่อตัวขึ้น

พอลิแซ็กคาไรด์ของเห็ดชนิดนี้ได้ดึงดูดความสนใจของนักวิจัยเนื่องด้วยคุณสมบัติควบคุมการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและต้านเซลล์มะเร็งของมัน[19] สารสกัดจาก A. hygrometricus ประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ที่ชื่อ AE2 ซึ่งพบว่าช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ไลน์เนื้องอกในผลการทดลองเชิงห้องปฏิบัติการ[20][21] และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ม้าม ไทมอไซต์ และเซลล์ไขกระดูกในหนู สารสกัดนี้ยังกระตุ้นเซลล์ที่เชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โดยเฉพาะเซลล์เพชฌฆาต กระตุ้นมาโครฟาจให้ผลิตไนตริกออกไซด์ และเพิ่มการผลิตไซโตไคน์[22][23][24][25] การกระตุ้นมาโครฟาจโดย AE2 อาจอาศัยวิถีไมโทเจน–แอคทิเวเตดโปรตีนไคเนสของกระบวนการส่งต่อสัญญาณเป็นสื่อกลาง[26][27] AE2 ถูกสร้างจาก แมนโนส กลูโคส และฟิวโคสในสัดส่วน 1:2:1[9]

นอกเหนือไปจากสารประกอบสเตอรอยด์ที่รู้จักกันก่อนหน้านี้ ได้แก่ ergosta-7,22-diene-3-ol acetate และ ergosta-4,6,8-(14),22-tetraene-3-one ยังมีสามไตรเทอร์พีนที่มีลักษณะเฉพาะ (สารอนุพันธ์ของ 3-hydroxy-lanostane) ถูกแยกมาจากสปอโรคาร์ปของ A. hygrometricus สารประกอบที่ชื่อ astrahygrol, 3-epi-astrahygrol และ astrahygrone (3-oxo-25S-lanost-8-eno-26,22-lactone) ซึ่งมี δ-lactone (วงแหวนรูปหกเหลี่ยม) ในโซ่ข้างเป็นคุณสมบัติทางเคมีที่แต่ก่อนไม่รู้จักในหมวด Basidiomycota[28][29] สเตอรอลเอสเทอร์ที่ไม่ทราบมาก่อนหน้านี้ (3β, 5α-dihydroxy-(22E, 24R)-ergosta-7,22-dien-6α-yl palmitate) ถูกแยกจากไมซีเลียมที่เจริญในการเพาะเลี้ยงโดยใช้อาหารเลี้ยงชนิดเหลว สารประกอบมี polyhydroxylated ergostaneซึ่งเป็นต้นแบบนิวเคลียส[30]

การสกัดสปอโรคาร์ปโดยใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบเมื่อเทียบกับไดโคลฟีแนคในการทดสอบเชิงห้องปฏิบัติการ[31] การศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปกป้องตับ โดยการฟื้นฟูระดับของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสและคะตาเลสที่ลดลงจากการทดลองปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากคาร์บอนเตตระคลอไรด์ซึ่งทำลายตับ[32]

ความเชื่อแต่โบราณ แก้

ในแพทย์แผนจีนมีการใช้เห็ดเผาะเป็นยาห้ามเลือดโดยใช้ผงสปอร์กับบาดแผลเพื่อหยุดการไหลของเลือดและลดภาวะมือและเท้าอักเสบ[33] มีรายงานว่ามีเผ่าสองเผ่าในรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย คือ Baiga และ Bharia ใช้ดอกเป็นยา สปอร์นำมาผสมกับน้ำมันเมล็ดมัสตาร์ดใช้เป็นขี้ผึ่งรักษาแผลไฟไหม้ได้[34] เผ่า Blackfoot ในอเมริกาเหนือเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า "fallen stars" เนื่องด้วยเชื่อว่าเห็ดเหล่านี้เป็นดาวที่ตกมายังพื้นดินระหว่างเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ[35]

อ้างอิง แก้

  1. "Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan 1889". MycoBank. International Mycological Association. สืบค้นเมื่อ 2011-08-24.
  2. Arora D. (1986). Mushrooms Demystified: a Comprehensive Guide to the Fleshy Fungi. Berkeley, California: Ten Speed Press. p. 706. ISBN 0-89815-169-4.
  3. Metzler V, Metzler S. (1992). Texas Mushrooms: a Field Guide. Austin, Texas: University of Texas Press. p. 298. ISBN 0-292-75125-7.
  4. Johnson MM, Coker WS, Couch JN. (1974) [1928]. The Gasteromycetes of the Eastern United States and Canada. New York, New York: Dover Publications. pp. 185–8. ISBN 0-486-23033-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Orr DB, Orr RT. (1979). Mushrooms of Western North America. Berkeley, California: University of California Press. p. 123. ISBN 0-520-03656-5.
  6. McKnight VB, McKnight KH. (1987). A Field Guide to Mushrooms, North America. Boston, Massachusetts: Houghton Mifflin. p. 358. ISBN 0-395-91090-0.
  7. 7.0 7.1 Healy RA, Huffman DR, Tiffany LH, Knaphaus G. (2008). Mushrooms and Other Fungi of the Midcontinental United States. Bur Oak Guide. Iowa City, Iowa: University of Iowa Press. p. 235. ISBN 1-58729-627-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Harley JB, Smith SP, Read DJ. (1997). Mycorrhizal symbiosis. Boston, Massachusetts: Academic Press. p. 172. ISBN 0-12-652840-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 Maiti D, Chandra K, Mondal S, Ojha AK, Das D, Roy SK, Ghosh K, Chakraborty I, Islam SS. (2008). "Isolation and characterization of a heteroglycan from the fruits of Astraeus hygrometricus". Carbohydrate Research. 343 (4): 817–24. doi:10.1016/j.carres.2007.12.003. PMID 18206864.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Roody WC. (2003). Mushrooms of West Virginia and the Central Appalachians. Lexington, Kentucky: University Press of Kentucky. p. 438. ISBN 0-8131-9039-8.
  11. Ellis JB, Ellis MB. (1990). Fungi without Gills (Hymenomycetes and Gasteromycetes): an Identification Handbook. London, UK: Chapman and Hall. p. 220. ISBN 0-412-36970-2.
  12. 12.0 12.1 Laessøe T, Pegler DN, Spooner B. (1995). British Puffballs, Earthstars and Stinkhorns: an Account of the British Gasteroid Fungi. Kew, UK: Royal Botanic Gardens. pp. 40–1. ISBN 0-947643-81-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Mishra SR. (2005). Morphology of Fungi. New Delhi, India: Discovery Publishing House. p. 167. ISBN 978-81-7141-980-7.
  14. Balfour-Browne FL. (1955). "Some Himalayan fungi". Bulletin of the British Museum (Natural History). 1 (7): 187–218 (see p. 201).
  15. Hosoya T, Otani Y. (1995). "Gelatinipulvinella astraeicola gen. et sp. nov., a fungicolous Discomycete and its anamorph". Mycologia. 87 (5): 689–96. doi:10.2307/3760813. JSTOR 3760813.[ลิงก์เสีย]
  16. Phosri C, Martín MP, Sihanonth P, Whalley AJ, Watling R. (2007). "Molecular study of the genus Astraeus". Mycological Research. 111 (3): 275–86. doi:10.1016/j.mycres.2007.01.004. PMID 17360168.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Petcharat V. (2003). "Edible Astraeus (Basidiomycota) from Thailand". Nordic Journal of Botany. 23 (4): 499–503. doi:10.1111/j.1756-1051.2003.tb00423.x.
  18. Nouhra ER, Dominguez De Toledo L. (1998). "The first record of Astraeus hygrometricus from Argentina". Mycologist. 12 (3): 112–3. doi:10.1016/S0269-915X(98)80009-8.
  19. Moradali MF, Mostafavi H, Ghods S, Hedjaroude GA. (2007). "Immunomodulating and anticancer agents in the realm of macromycetes fungi (macrofungi)". International Immunopharmacology. 7 (6): 701–24. doi:10.1016/j.intimp.2007.01.008. PMID 17466905.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Mallick SK, Maiti S, Bhutia SK, Maiti, TK. (2010). "Antitumor properties of a heteroglucan isolated from Astraeus hygrometricus on Dalton's lymphoma bearing mouse". Food and Chemical Toxicology. 48 (8–9): 2115–21. doi:10.1016/j.fct.2010.05.013. PMID 20472019.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Mallick SK, Maiti S, Bhutia SK, Maiti TK. (2010). "Immunostimulatory properties of a polysaccharide isolated from Astraeus hygrometricus". Journal of Medicinal Food. 13 (3): 665–72. doi:10.1089/jmf.2009.1300. PMID 20521989.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Maiti S, Bhutia SK, Mallick SK, Kumar A, Khadgi N Maiti TK. (2008). "Antiproliferative and immunostimulatory protein fraction from edible mushrooms". Environmental Toxicology and Pharmacology. 26 (2): 187–91. doi:10.1016/j.etap.2008.03.009. PMID 21783909.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Pramanik A, Sirajul Islam S. (1997). "Structural studies of a polysaccharide isolated from an edible mushroom, Astraeus hygrometricus". Trends in Carbohydrate Chemistry. 3: 57–64.
  24. Pramanik A, Sirajul Islam S. (2000). "Structural studies of a polysaccharide isolated from an edible mushroom, Astraeus hygrometricus". Indian Journal of Chemistry, Section B: Organic Chemistry Including Medicinal Chemistry. 39B (7): 525–9.
  25. Chakraborty I, Mondal S, Pramanik M, Rout D, Islam SS. (2004). "Structural investigation of a water-soluble glucan from an edible mushroom, Astraeus hygrometricus". Carbohydrate Research. 339 (13): 2249–54. doi:10.1016/j.carres.2004.07.013. PMID 15337453.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Mallick SK, Bhutia SK, Maiti TK. (2009). "Macrophage stimulation by polysaccharides isolated from barometer earthstar mushroom, Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan (Gasteromycetideae)". International Journal of Medicinal Mushrooms. 11 (3): 237–48. doi:10.1615/IntJMedMushr.v11.i3.30.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Mallick SK, Maiti S, Bhutia SK, Maiti TK. (2011). "Activation of RAW 264.7 cells by Astraeus hygrometricus-derived heteroglucan through MAP kinase pathway". Cell Biology International. 35 (6): 617–21. doi:10.1042/CBI20100199. PMID 21143204.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Takaishi Y, Murakami Y, Ohashi T, Nakano K, Murakami K, Tomimatsu T. (1987). "Three triterpenes from Astraeus hygrometricus". Phytochemistry. 26 (8): 2341–4. doi:10.1016/S0031-9422(00)84715-9.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Hill RA, Makin HLJ, Kirk DN, Murphy GM. (1991). Dictionary of Steroids: Chemical Data, Structures, and Bibliographies. London, UK: Chapman and Hall. p. 447. ISBN 0-412-27060-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Shao H-J, Fang L-Z, Yang W-Q, Wang F, Liu J-K. (2007). "A new steryl ester from the culture mycelia of the Basidiomycete Astraeus hygrometricus (Astraceae)". Acta Metallurgica Sinica. 29 (3): 371–4. ISSN 0412-1961.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  31. Biswas G, Sarkar S, Acharya, K. (2010). "Free radical scavenging and anti-inflammatory activities of the extracts of Astraeus hygrometricus (Pers.) Morg". Latin American Journal of Pharmacy. 29 (4): 549–53.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  32. Biswas G, Sarkar S, Acharya K. (2011). "Hepatoprotective activity of the ethanolic extract of Astraeus hygrometricus (Pers.) Morg" (PDF). Digest Journal of Nanomaterials and Biostructures. 6 (2): 637–41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-31. สืบค้นเมื่อ 2014-09-24.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  33. Hobbs CJ. (1995). Medicinal Mushrooms: An Exploration of Tradition, Healing & Culture. Portland, Oregon: Culinary Arts Ltd. p. 109. ISBN 1-884360-01-7.
  34. Rai BK, Ayachi SS, Rai A. (1993). "A note on ethno-myco-medicines from Central India". Mycologist. 7 (4): 192–3. doi:10.1016/S0269-915X(09)80397-2.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  35. Burk W. (1983). "Puffball usages among North American Indians" (PDF). Journal of Ethnobiology. 3 (1): 55–62.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Alexopoulos1996" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Baseia2002" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Christensen2008" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Cunningham1944" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "DGfM" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Engler1900" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Fangfuk2010" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Foy1991" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Gaumann1928" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Harsh1996" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Jordan2004" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Kakumyan2009" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Kreisel1976" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Lloyd1902" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Miller2006" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Morgan1889" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Persoon1801" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Phillips1991" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Phosri2004" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Stanek1958" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Rea1922" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Schaechter1998" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Schweinitz1822" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Scopoli1772" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Smith1975" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "urlCalifornia Fungi: Astraeus hygrometricus" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "urlFotM" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น แก้