เหรียญของแครอน (อังกฤษ: Charon's obol) หมายถึงเหรียญที่ใส่ในปากหรือบนปาก[1] ของผู้ตายก่อนที่จะทำการฝัง

แครอนนำวิญญาณข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก โดยลูกา จอร์ดาโน

ประเพณีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับประเพณีกรีกและโรมันโบราณ แต่ก็พบว่าทำกันในตะวันออกใกล้ด้วย และต่อมาในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเคลต์ของวัฒนธรรมกอล-โรมัน, ฮิสเปเนีย-โรมัน และโรมันบริเตน และในกลุ่มชนเจอร์แมนิกของปลายยุคโบราณตอนปลาย และในสมัยคริสเตียนตอนต้น และมีปฏิบัติกันอยู่บ้างมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในวรรณกรรมภาษากรีกโบราณ และ ภาษาลาตินของตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 กล่าวกันว่าเหรียญของแครอนใช้เป็นค่าโดยสารหรือค่าติดสินบนสำหรับแครอนคนพายเรือของเฮดีสผู้มีหน้าที่นำวิญญาณของผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก

หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าตำนานสะท้อนไปถึงวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันจริง และไม่แต่จะจำกัดอยู่เพียงใส่เหรียญเพียงเหรียญเดียวในปากเท่านั้น[2] นอกจากนั้นก็ยังมีประเพณีการให้เหรียญหรือเงินจำนวนมากเช่นที่ทำกันในการฝังผู้ตายพร้อมกับเรือซึ่งก็ตรงกับอุปมาของความคิดดังกล่าว[3]

คำว่า "เหรียญของแครอน" ที่ใช้โดยนักโบราณคดีบางครั้งก็อาจจะหมายความถึงประเพณีทางศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งแต่มักจะมีนัยยะถึงเงินที่ใช้โดยผู้ตายในยมโลกหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว[4] ในภาษาละติน เหรียญของแครอนบางครั้งก็เรียกว่า "viaticum" หรือ "sustenance for the journey" บางครั้งก็จะให้คำอธิบายว่าการใส่เหรียญในปากผู้ตายเป็นการป้องกันไม่ให้วิญญาณของผู้ตายกลับมาอีกได้

อ้างอิง แก้

  1. Neither ancient literary sources nor archaeological finds indicate that the ritual of Charon's obol explains the modern-era custom of placing a pair of coins on the eyes of the deceased, nor is the single coin said to have been placed specifically sub lingua. See "Coins on the eyes?".
  2. Gregory Grabka, "Christian Viaticum: A Study of Its Cultural Background," Traditio 9 (1953), 1–43, especially p. 8; Susan T. Stevens, "Charon’s Obol and Other Coins in Ancient Funerary Practice," Phoenix 45 (1991) 215–229.
  3. Discussed under "Archaeological evidence".
  4. Ian Morris, Death-ritual and Social Structure in Classical Antiquity (Cambridge University Press, 1992), p. 106, noting in his skeptical discussion of "Who Pays the Ferryman?" that "coins may have paid the ferryman, but that is not all that they did." See also Keld Grinder-Hansen, "Charon’s Fee in Ancient Greece?" Acta Hyperborea 3 (1991), p. 215, who goes so far as to assert that "there is very little evidence in favour of a connection between the Charon myth and the death-coin practice," but the point is primarily that the term "Charon’s obol" belongs to the discourse of myth and literature rather than the discipline of archaeology.

ดูเพิ่ม แก้