เหตุระเบิดในมุมไบ 13 กรกฎาคม 2554

เหตุระเบิดในมุมไบ 13 กรกฎาคม 2554 เป็นเหตุระเบิดสามครั้งตามจุดต่าง ๆ ในมุมไบ ประเทศอินเดีย ระหว่างเวลา 18.54 น. และ 19.06 น. ตามเวลามาตรฐานอินเดีย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554[5] โดยเหตุระเบิดเกิดขึ้นที่โอเปราเฮาส์, ซาเวรี บาซาร์และท้องที่ดาดาร์ตะวันตก[6] มีรายงานว่าระเบิดลูกที่สี่ถูกค้นพบในพื้นที่ซานตาครุซ และถูกปลดชนวนก่อนที่จะถูกจุดระเบิด[7]

เหตุระเบิดในมุมไบ 13 กรกฎาคม 2554
เหตุระเบิดในมุมไบ 13 กรกฎาคม 2554ตั้งอยู่ในมุมไบ
Opera House
Opera House
Zaveri Bazaar
Zaveri Bazaar
Dadar
Dadar
ที่ตั้งของโรงอุปรากร, Zaveri Bazaar และDadar สถานที่เกิดเหตุในมุมไบ
สถานที่โรงอุปรากร
Zaveri Bazaar
Dadar
มุมไบ, รัฐมหาราษฏระ, อินเดีย
พิกัด18°58′N 72°49′E / 18.96°N 72.82°E / 18.96; 72.82 (2011 Mumbai bombings)
วันที่13 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
18:54 น. – 19:06 IST[1] (UTC+05:30)
ประเภทระเบิดแสวงเครื่อง
ตาย26[2][3]
เจ็บ130[4]
ผู้ก่อเหตุ3

ลำดับเหตุการณ์และเหตุระเบิด แก้

ระเบิดลูกแรกถูกวางไว้ทางใต้ของตลาดค้าอัญมณีซาเวรี บาซาร์ และเกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 18.54 น. ตามเวลาท้องถิ่น ระเบิดลูกที่สองถูกวางไว้ใต้ร่มคันหนึ่ง โดยเป็นวันที่มีฝนตกระหว่างฤดูมรสุม ที่โอเปราเฮาส์ ระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 18.55 น. ระเบิดลูกที่สามถูกวางไว้บนเสาไฟฟ้าที่สถานีรถโดยสารประจำทางแห่งหนึ่งในพื้นที่ดาดาร์และเกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 19.05 น.[8][9]

ซาเวรี บาซาร์ ซึ่งอยู่ใกล้กับวิหารมุมบาเทวี เคยเกิดเหตุระเบิดสองครั้งในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 54 คน[10]

หลังเกิดเหตุระเบิด สายโทรศัพท์เกิดการขัดข้องและการสื่อสารถูกตัดขาดหรือขาด ๆ หาย ๆ เป็นเวลาอย่างน้อยสองสามชั่วโมง มหานครอื่นเช่น เดลี เจนไน ไฮเดอราบาดและเบงคลูรูมีการระวังภัยอย่างสูง[11] ทันทีหลังจากเกิดเหตุระเบิด ตำรวจมุมไบได้ส่งเอสเอ็มเอสอ่านได้ว่า "มีรายงานเหตุระเบิดที่ซาเวรี บาซาร์ ดาดาร์ โปรดระมัดระวัง อยู่แต่ภายในบ้าน ดูข่าวทางโทรทัศน์" แก่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนหนึ่งในมุมไบ[12] ผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่ถูกเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาลหลายแห่งในมุมไบ[13]

มุมไบตกเป็นเป้าหมายการก่อการร้ายอย่างน้อยหกครั้งนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 มีผู้เสียชีวิตรวมมากกว่า 600 คน บทบรรณาธิการของเดอะไทมส์ออฟอินเดียเรียกนครมุมไบว่ากำลังจะกลายเป็น "สนามล่าการก่อการร้ายอันร้อนแรง"[14][15]

ความสูญเสียและเงินชดเชย แก้

เหตุระเบิดดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน และอีก 130 คนได้รับบาดเจ็บ นายกรัฐมนตรี มานโมฮัน ซิงห์ และประธานสภาแห่งชาติอินเดีย โซเนีย คานธี เดินทางเยี่ยมมุมไบในวันรุ่งขึ้น และเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดที่โรงพยาบาลไซฟี[16] วันที่ 15 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีซิงห์ประกาศจะจ่ายเงินชดเชยมูลค่า 200,000 รูปี (4,460 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ญาติผู้เสียชีวิตและ 100,000 รูปี (2,230 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ญาติผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะเดียวกับ รัฐบาลรัฐมหาราษฏระประกาศจะจ่ายเงิน 500,000 รูปี (11,150 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นค่าชดเชยแก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิต และราว 50,000 รูปี (1,115 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ[17]

การสืบสวน แก้

กระทรวงมหาดไทยจัดเหตุระเบิดดังกล่าวว่าเป็นการก่อการร้ายและมีการส่งทีมสำนักงานสืบสวนแห่งชาติ (NIA) ไปยังจุดเกิดระเบิด[18] แต่เดิม มุขมนตรีรัฐมหาราษฏระกล่าวว่า ระเบิดที่ใช้อาจมีการเติมเชื้อเพลิง คล้ายกับโมโลตอฟ ค็อกเทล[19] อย่างไรก็ตาม การสืบสวนชั้นต้นแนะว่าการใช้ระเบิดแสวงเครื่องจำนวนมากในการระเบิดร่วมกับระเบิดที่ใช้แอมโมเนียมไนเตรต ระเบิดดังกล่าวชี้ว่าผู้ลงมือมีความรู้ด้านระเบิดระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าอาจมีการใช้ตัวจุดระเบิดระยะไกล โดยระเบิดสองในสามลูกมีความรุนแรงสูง[20][21] NIA กำลังสืบสวนความเป็นไปได้ว่ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮีดีนอินเดียและลัชกัร-อี-ตอยบามีส่วนในเหตุระเบิดดังกล่าว[22][23] กระทรวงมหาดไทยยังได้ประกาศว่า ทางกระทรวงจะอัปเดตข้อมูลแก่ประชาชนผ่านสื่อทุกสองชั่วโมง[12]

มีข้อสังเกตว่ารูปแบบของระเบิดเป็นการชี้ว่ามูจาฮีดีนอินเดียมีส่วนเกี่ยวข้อง ตามข้อมูลของตำรวจเดลี มูจาฮีดีนอินเดียจะก่อเหตุระเบิดในวันที่ 13 หรือวันที่ 26 ของเดือน[24] นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า มิจฉาชีพมุมไบอาจอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีการมองว่าเหตุโจมตีอาจถูกวางแผนขึ้นโดยผู้ที่พยายามสกัดการเจรจาสันติภาพอินเดีย-ปากีสถาน[25]

อ้างอิง แก้

  1. Three blasts in Mumbai, thirteen dead, 81 injured, NDTV, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2011, สืบค้นเมื่อ 13 July 2011
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ twentysix
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ twentysix2
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Victims
  5. "Three blasts in Mumbai". NDTV 24x7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  6. "3 bomb blasts in Mumbai; 8 killed, 70 injured". CNN-IBN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  7. "Mumbai serial blasts: Toll 23; rains may have destroyed evidence : Mumbai Blasts 2011: India Today". [India Today]]. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  8. "Three blasts go off in Mumbai, 50 injured". Rediff.com. 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  9. "Serial Blasts in Mumbai, at Least 10 Killed". International Business Times. 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  10. "Three get death for Gateway, Zaveri Bazar blasts". The Times of India. 7 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  11. Security alert in Delhi, Bangalore and Chennai, NDTV, สืบค้นเมื่อ 13 July 2011
  12. 12.0 12.1 "The SMS sent by police to cellphone users in Mumbai". NDTV. 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  13. "Mumbai blasts: hospitals struggle to cope up". IBN News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  14. "Mumbai's 'macabre dance of death' - Indian press". BBC. July 14 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. "Mumbai: Hot hunting ground for terror". Times of India. July 14 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  16. PM, Sonia visit Mumbai blasts victims at Saifee, Times of India, สืบค้นเมื่อ 2011-07-15
  17. "PM to visit Mumbai, announces Rs 2 lakh for kin of deceased". The Times of India. India. 14 July 2011.
  18. "Terror Strikes Mumbai, 3 blasts, 10 reported dead". NDTV. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  19. "Bombs used were like Molotov Cocktails: Chavan". NDTV 24x7. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  20. "Mumbai blasts: Sophisticated IEDs controlled by cellphones used". NDTV. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
  21. "Ammonium nitrate used to carry out Mumbai blasts". CNN-IBN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
  22. "IB confirms it is a terror strike, 7 IEDS used". สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  23. "Three blasts in Mumbai". NDTV 24x7. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  24. "Date, modus operandi point to IM involvement: Special Cell". สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
  25. "Mumbai bomb blasts a ploy to derail India-Pakistan talks?". The Economic Times. 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้