เสือโคร่งชวา

สปีชีส์ของเสือ

เสือโคร่งชวา (อังกฤษ: Javan tiger) เป็นประชากรเสือที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970[4][5] มันถูกล่าจนสูญพันธุ์ และที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกแปลงไปเป็นที่ดินทางเกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน[1] เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ในหมู่เกาะซุนดา[6]

เสือโคร่งชวา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Pleistocene–Holocene
ภาพเสือโคร่งชวาโดยAndries Hoogerwerfที่อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน ค.ศ. 1938[1]
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
สกุล: สกุลแพนเทอรา
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. sondaica
Trinomial name
Panthera tigris sondaica
(Temminck, 1844)

ในอดีตถือเป็นเสือชนิดย่อยคนละสายพันธุ์ ซึ่งระบุว่าสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงไอยูซีเอ็นใน ค.ศ. 2008[5] ใน ค.ศ. 2017 มีการปรับปรุงอนุกรมวิธาน ทำให้เสือโคร่งชวาอยู่ในส่วนย่อยของ P. t. sondaica ร่วมกับเสือโคร่งสุมาตราและเสือโคร่งบาหลี[4]

ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียเสือ 23 แบบจากชุดสะสมพิพิธภัณฑ์แสดงให้เห็นว่า เสือชนิดนี้เคยอาศัยทั่วหมู่เกาะซุนดาในช่วงยุคน้ำแข็งสุดท้ายเมื่อ 11,000–12,000 ปีก่อน[7]

อนุกรมวิธาน แก้

Coenraad Jacob Temminck เป็นผู้เสนอ Felis tigris sondaicus เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของเสือโคร่งชวาใน ค.ศ. 1844[8]

ใน ค.ศ. 1929 เรจินัลด์ อินเนส โพค็อก นักอนุกรมวิธานชาวอังกฤษ จัดให้เสือนี้อยู่ในสกุล Panthera และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Panthera tigris[9][10][11]

ใน ค.ศ. 2017 ทาง Cat Classification Task Force of the Cat Specialist Group ได้ปรับปรุงอนุกรมวิธานและจัดให้ประชากรเสือทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์แล้วในประเทศอินโดนีเซียอยู่ใน P. t. sondaica[4]

รูปลักษณ์ แก้

หนังเสือโคร่งชวาในชุดสะสมของTropenmuseum, ค.ศ. 1915
กะโหลกเสือจากชวาในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์วีสบาเดิน

เสือโคร่งชวาเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับเสือโคร่งสุมาตรา แต่ใหญ่กว่าเสือโคร่งบาหลี[11] มักมีลายแถบยาวและบาง ซึ่งค่อนข้างมากกว่าเสือสุมาตรา มีจมูกยาวและแคบ กระดูกท้ายทอยแคบ และcarnassialยาว เมื่อเทียบกับความแตกต่างของกะโหลกศรีษะ เสือโคร่งชวาจึงเคยถูกจัดเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีชื่ออนุกรมวิธานเป็น Panthera sondaica.[6]

เพศผู้มีความยาวร่างกายเฉลี่ย 248 เซนติเมตร (98 นิ้ว) และน้ำหนักระหว่าง 100 และ 141 กิโลกรัม (220 และ 311 ปอนด์) ส่วนเพศเมียมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้และมีน้ำหนักระหว่าง 75 และ 115 กิโลกรัม (165 และ 254 ปอนด์)[11]

ร่ายกายที่เล็กกว่าของเสือโคร่งชวาและขนาดของสายพันธุ์เหยื่อบนเกาะชวา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์กวางและวงศ์วัวและควายบนเอเชียแผ่นดินใหญ่ เป็นไปตามกฎของเบิร์กมันน์ อย่างไรก็ตาม เส้นผ่านศูนย์กลางของร่องรอยมีขนาดใหญ่กว่าเสือโคร่งเบงกอลในประเทศบังกลาเทศ, อินเดีย และเนปาล[12]

กล่าวกันว่าเสือโคร่งชวาแข็งแรงมากพอที่จะใช้อุ้งเท้าหักขาม้าหรือควายได้[13]

ที่อยู่อาศัยและนิเวศวิทยา แก้

วัวแดง วัวชนิดย่อยชวา Bos javanicus javanicus มีผิวสีดำ
กวางรูซาชวาจากริมชายฝั่งเกาะอูจงกูลนย้ายถิ่นฐานใหม่ไปที่เมอรูเบอตีรี[12]

เสือโคร่งชวาเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะชวา แต่ต้องอพยพไปยังพื้นที่ภูเขาและป่าไม้ห่างไกลใน ค.ศ. 1940 ในช่วง ค.ศ. 1970 บริเวณที่มีเสืออยู่เหลือแค่เมอรูเบอตีรี ภูเขาที่สูงที่สุดในเกาะชวาตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยภูมิประเทศที่ชันทำให้ไม่มีใครอาศัยอยู่ พื้นที่ขนาด 500 ตารางกิโลเมตร (190 ตารางไมล์) ถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าใน ค.ศ. 1972 มีผู้เห็นเสือครั้งสุดท้ายที่นี่ใน ค.ศ. 1976[1][14]

เสือโคร่งชวาล่าเหยื่อที่เป็นกวางรูซาชวา (Rusa timorensis), วัวแดง (Bos javanicus) และหมูป่า (Sus scrofa) และไม่บ่อยครั้งที่จะล่านกน้ำและสัตว์เลี้อยคลาน ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับช่วงชีวิตและระยะเวลาตั้งครรภ์ของเสือทั้งในป่าหรือที่ถูกกักเก็บ เสือโคร่งชวาบางส่วนถูกเก็บในสวนสัตว์อินโดนีเซียบางแห่งที่ปิดในช่วงสงครามจนถึงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ถือครองเสือสุมาตราง่ายกว่าในช่วงหลังสงคราม[12]

อ้างว่าพบเห็น แก้

ในบางครั้ง มีรายงานการเห็นเสือโคร่งชวาอย่างไม่เป็นทางการจากผู้ที่ชื่นชอบซึ่งเชื่อว่ายังมีเสือสายพันธุ์นี้ในเกาะชวา[15]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 มีผู้พบร่างนักปีนเขาหญิงไม่ทราบสัญชาติที่อุทยานแห่งชาติเขาเมอร์บาบู จังหวัดชวากลาง ซึ่งอ้างว่าเสียชีวิตจากการถูกเสือโจมตี ชาวบ้านที่พบร่างกายก็อ้างว่าเห็นเสือในบริเวณใกล้เคียง[16]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ชาวบ้านบางส่วนอ้างว่าเห็นเสือเพศเมียกับลูกสองตัวใกล้เดินใกล้หมู่บ้านที่ติดกับเขาลาวู เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นพบร่องรอยสดในพื้นที่นี้ อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้น สัตว์เหล่านี้ได้หายไปหมดแล้ว[17]

หลังการปะทุของเขาเมอราปีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 ชาวบ้านในอินโดนีเซียสองคนอ้างว่าเห็นรอยเท่าแมวขนาดใหญ่บนเถ้าที่เหลือ ทำให้มีข่าวลือว่ามีเสือหรือเสือดาวในฟาร์มร้างเพื่อหาอาหาร พนักงานในอุทยานแห่งชาติใหล้เคียงไม่คิดว่ารอยเท้านี้เป็นของเสือ[18]

ใน ค.ศ. 2016 มีภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นเสือโคร่งชวาในเขาอาร์จูโนในจังหวัดชวาตะวันออก[19]

ใน ค.ศ. 2017 เจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์ป่าที่ทำงานในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนถ่ายภาพที่อ้างว่าเป็นเสือโคร่งชวาขณะกินวัวที่ตายแล้ว ในเวลาต่อมามีทีมนักวิจัยไปสำรวจเป็นเวลา 10 วันเพื่อยืนยันการมีตัวตนของเสือ ผู้เชี่ยวชาญที่ด้านเสือระบุสัตว์ชนิดนี้เป็นเสือดาวชวา[20]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Seidensticker, J. (1987). "Bearing witness: observations on the extinction of Panthera tigris balica and Panthera tigris sondaica". ใน Tilson, R. L.; Seal, U. S. (บ.ก.). Tigers of the world: the biology, biopolitics, management, and conservation of an endangered species. New Jersey: Noyes Publications. pp. 1–8. ISBN 9780815511335.
  2. Jackson, P. & Kemf, E. (1994). Wanted alive! Tigers in the wild: 1994 WWF species status report (Report). Gland: WWF.
  3. Goodrich, J.; Lynam, A.; Miquelle, D.; Wibisono, H.; Kawanishi, K.; Pattanavibool, A.; Htun, S.; Tempa, T.; Karki, J.; Jhala, Y. & Karanth, U. (2015). "Panthera tigris". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T15955A50659951.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O'Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News. Special Issue 11: 66–68.
  5. 5.0 5.1 Jackson, P. & Nowell, K. (2008). "Panthera tigris ssp. sondaica". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T41681A10509194.
  6. 6.0 6.1 Mazák, J. H. & Groves, C. P. (2006). "A taxonomic revision of the tigers (Panthera tigris)" (PDF). Mammalian Biology. 71 (5): 268–287. doi:10.1016/j.mambio.2006.02.007.
  7. Xue, H.R.; Yamaguchi, N.; Driscoll, C.A.; Han, Y.; Bar-Gal, G.K.; Zhuang, Y.; Mazak, J.H.; Macdonald, D.W.; O’Brien, S.J. & Luo, S.J. (2015). "Genetic ancestry of the extinct Javan and Bali tigers". Journal of Heredity. 106 (3): 247–257. doi:10.1093/jhered/esv002. PMC 4406268. PMID 25754539.
  8. Temminck, C. J. (1844). "Aperçu général et spécifique sur les mammifères qui habitent le Japon et les iles qui en dépendent". ใน von Siebold, F.; Temminck, C. J.; Schlegel, H; de Haan, W.; Kiichi Nakazawa; Shigeho Tanaka; Nagamichi Kuroda; Yaichirō Okada (บ.ก.). Fauna Japonica sive Descriptio animalium, quae in itinere per Japoniam, jussu et auspiciis superiorum, qui summum in India Batava imperium tenent, suscepto, annis 1825 - 1830 collegit, notis, observationibus et adumbrationibus illustravit Ph. Fr. de Siebold. Mammalia. Lugduni Batavorum: Arnz et Socius. pp. 1–59.
  9. Pocock, R. I. (1929). "Tigers". Journal of the Bombay Natural History Society. 33: 505–541.
  10. Pocock, R. I. (1939). "Panthera tigris". The Fauna of British India, Including Ceylon and Burma. Mammalia: Volume 1. London: T. Taylor and Francis, Ltd. pp. 197–210.
  11. 11.0 11.1 11.2 Mazák, V. (1981). "Panthera tigris" (PDF). Mammalian Species. 152 (152): 1–8. doi:10.2307/3504004. JSTOR 3504004.
  12. 12.0 12.1 12.2 Seidensticker, J. (1986). "Large Carnivores and the Consequences of Habitat Insularization: ecology and conservation of Tigers in Indonesia and Bangladesh" (PDF). ใน Miller, S. D.; Everett, D. D. (บ.ก.). Cats of the world: biology, conservation and management. Washington DC: National Wildlife Federation. pp. 1−41.
  13. Partington, C. F. (1835). "Felis, the cat tribe". The British cyclopæedia of natural history. Orr & Smith.
  14. Treep, L. (1973). On the Tiger in Indonesia (with special reference to its status and conservation. Report no. 164 (Report). Wageningen, The Netherlands: Department of Nature Conservation and Nature Management.
  15. Bambang M. (2002). In search of 'extinct' Javan tiger. เก็บถาวร 2011-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Jakarta Post, October 30, 2002.
  16. DetikNews Nov 17, 2008: Pendaki Wanita Tewas di Gunung Merbabu, Diduga Diterkam Harimau
  17. JawaPos 24 Januari 2009: Harimau Teror Warga Ringin Agung เก็บถาวร 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. The Sydney Morning Herald (2010) Tiger rumors swirl below Indon volcano The Sydney Morning Herald, 2 November 2010.
  19. "Sight of Javan Tiger in Mount Arjuno Went Viral".
  20. "Tiger Species Thought Extinct Is Possibly Spotted in Indonesia". NY Times. 1017. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้