เสาวรส

สปีชีส์ของพืช
เสาวรส
เสาวรสสีม่วงจากออสเตรเลียทั้งผลและผ่าตามขวาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Passifloraceae
สกุล: Passiflora
สปีชีส์: P.  edulis
ชื่อทวินาม
Passiflora edulis
Sims, 1818

เสาวรส, กะทกรกฝรั่ง, กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis, อังกฤษ: Passionfruit, สเปน: Maracujá) เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง[1] กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน

การผสมเกสร แก้

การผสมเกสรนั้นจะใช้แมลงภู่เพื่อการผสมเกสรในเชิงการค้าในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย และส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังค้นพบว่าดอกเสาวรสบานสัมพันธ์กันกับช่วงที่แมลงภู่กำลังแพร่กระจายจำนวนประชากร แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้วิวัฒนาการมาอย่างสัมพันธ์กัน[2]

การกระจายพันธุ์ แก้

มีการปลูกเสาวรสทางการค้าในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้และโปรตุเกส

ในประเทศไทยมีเสาวรสที่ปลูกทั่วไป 3 พันธุ์คือ พันธุ์สีม่วง เมื่อสุกเปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลือง รสอมหวานมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ แต่ไม่ค่อยต้านทานโรคในเขตร้อน พันธุ์สีเหลืองหรือเสาวรสสีทอง ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก นิยมปลูกในเขตร้อน พันธุ์ผสม เมื่อสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด กลิ่นแรง สามารถปักชำและเสียบยอดได้

การใช้ประโยชน์ แก้

 
ไวน์หรือ 'sicar' ทำจากเสาวรสในอิสราเอล

ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น[3]

ในทวีปอเมริกาใต้รับประทานเปลือกของเสาวรสสุก หรือนำไปปั่นรวมกับน้ำตาลและน้ำเสาวรสเป็นเครื่องดื่มที่เรียก Refresco นำเนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับน้ำพริกเมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์ เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป[4]

การใช้ประโยชน์ในประเทศต่าง ๆ มีดังนี้

  • บราซิล มูสเสาวรสเป็นของหวานที่พบได้ทั่วไป เมล็ดเสาวรสนิยมใช้แต่งหน้าเค้ก ในการปรุงCaipirinha นิยมใช้เสาวรสแทนมะนาว
  • โคลอมเบีย เป็นผลไม้ที่สำคัญในการทำน้ำผลไม้และขนม เรียกเสาวรสว่า "Maracuyá"
  • สาธารณรัฐโดมินิกันเรียกเสาวรสว่า chinola ใช้ทำน้ำผลไม้และใช้แต่งรสไซรับ กินเป็นผลไม้สดกับน้ำตาล
  • ฮาวาย ทั้งเสาวรสสีม่วงและสีเหลืองใช้กินเป็นผลไม้ น้ำเชื่อมรสเสาวรสใช้แต่งหน้าน้ำแข็ง ไอศกรีม และใช้เป็นส่วนผสมในเค้ก คุกกี้ แยม เยลลี่ เนย
  • อินโดนีเซีย มีเสาวรสสองชนิด คือชนิดสีขาวกับสีเหลือง สีขาวกินเป็นผลไม้ สีเหลืองใช้ทำน้ำผลไม้ และเคียวกับน้ำตาลเป็นไซรับ
  • นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย นิยมกินผลสดเป็นอาหารเช้าในช่วงฤดูร้อน เช่นทำฟรุตสลัด เสาวรสใช้ทำขนมหลายอย่าง เช่นแต่งหน้าเค้ก pavlova ไอศกรีม ใช้แต่งรสชีสเค้ก และมีน้ำอัดลมรสเสาวรสในออสเตรเลีย
  • ปารากวัย ใช้ทำน้ำผลไม้ ใช้ผสมในเค้กมูส ชีสเค้ก ใช้แต่งรสโยเกิร์ตและคอกเทล
  • เม็กซิโก ใช้ทำน้ำผลไม้หรือรับประทานผลกับพริกป่นและน้ำเลมอน
  • เปอร์โตริโก เรียกเสาวรสว่า "Parcha" นิยมใช้เป็นยาลดความดัน[5] ใช้ทำน้ำผลไม้ ไอศกรีมหรือเพสตรี
  • เปรูใช้เสาวรสทำขนมหลายชนิดรวมทั้งชีสเค้ก ใช้ทำน้ำผลไม้ ผสมใน ceviche และคอกเทล
  • ฟิลิปปินส์รับประทานเป็นผลไม้ มีขายทั่วไปแต่ไม่เป็นที่นิยมมาก
  • แอฟริกาใต้ เสาวรสรู้จักกันในชื่อ Granadilla ใช้แต่งรสโยเกิร์ต น้ำอัดลม กินเป็นผลไม้หรือใช้แต่งหน้าเค้ก
  • ศรีลังกา นิยมดื่มน้ำเสาวรสเป็นน้ำผลไม้ [6]
  • สหรัฐอเมริกา ใช้ผสมในน้ำผลไม้ผสม
  • เวียดนาม รับประทานเสาวรสปั่นกับน้ำผึ้งและน้ำแข็ง
  • ไทย นิยมรับประทานสด หรือแปรรูปเป็นน้ำผลไม้

สารอาหาร แก้

เสาวรสดิบ ผลสีม่วง
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน406 กิโลจูล (97 กิโลแคลอรี)
23.38 g
น้ำตาล11.20 g
ใยอาหาร10.4 g
0.70 g
2.20 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(8%)
64 μg
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(11%)
0.130 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(10%)
1.500 มก.
โฟเลต (บี9)
(4%)
14 μg
วิตามินซี
(36%)
30.0 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
12 มก.
เหล็ก
(12%)
1.60 มก.
แมกนีเซียม
(8%)
29 มก.
ฟอสฟอรัส
(10%)
68 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
348 มก.
สังกะสี
(1%)
0.10 มก.

Nutrient values and weights are for edible portion.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ผลเสาวรสสุกมีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง น้ำเสาวรสมีวิตามินซีมากและเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง[7] ผลสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ส่วนผลสีม่วงนิยมบริโภคสด เสาวรสมีไลโคพีน ในชั้นเพอริคาร์บ[8]

ภาพของเสาวรส แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Passion Fruit: Background, Nutrition, Preparation". Exotic Fruit for Health. 25 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 18 September 2011.
  2. Mardan, M., Yatim, Ismail, M. and Raji Khalid, Mohd. (1991). “Nesting Biology and Foraging Activity of Carpenter Bee on Passion Fruit”. Acta Hort. (ISHS) 288: 127-132 [1].
  3. "Passiflora edulis Sims". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2007-06-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  4. Chassagne, David; Crouzet, Jean C.; Bayonove, Claude L.; Baumes, Raymond L. (18 December 1996). "Identification and Quantification of Passion Fruit Cyanogenic Glycosides". Journal of Agricultural and Food Chemistry. American Chemical Society. 44 (12): 3817. doi:10.1021/jf960381t. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |unused_data= ถูกละเว้น (help)
  5. "Make Choosing Good Food for High Blood Pressure an Easy and Exciting Experience". highbloodpressureinfo.org. Site Build It!. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  6. "Passion fruit cordial Faluda and Sri Lankan food - TasteSpotting". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
  7. "Passionfruit". organicfood.com. WSPA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-31. สืบค้นเมื่อ 2008-08-25.
  8. Evangelia Mourvaki, Stefania Gizzi, Ruggero Rossi, Stefano Rufini, "Passionflower Fruit—A "New" Source of Lycopene?", Journal of Medicinal Food. Spring 2005: 104-106.
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น แก้