เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์

เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นบุตรของนายเหลียง กับนางเจียม เปี่ยมพงศ์สานต์

เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(0 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าประกอบ หุตะสิงห์
ถัดไปทวิช กลิ่นประทุม
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 169 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าทวิช กลิ่นประทุม
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ถัดไปบุญชัย บำรุงพงศ์
อัมพร จันทรวิจิตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452
อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
เสียชีวิต10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (93 ปี)
อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
คู่สมรสนางโสภา เปี่ยมพงศ์สานต์

นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นนักการเมืองจังหวัดระยอง ที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดระยอง ถึง 8 สมัยติดต่อกัน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเก็บภาษียาสูบและสุรา ที่ยังคงมีการจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน

ประวัติการศึกษา แก้

เมื่อแรกเข้าเรียนหนังสือ นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เรียนเก่ง สมองดี ทำให้การเรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และปีที่ 3 ของท่าน เรียนเพียงชั้นละครึ่งปีเท่านั้น และได้ทุนเรียนมาตลอดจนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 อันเป็นชั้นสูงสุดที่มีในจังหวัดระยอง เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 แล้ว ได้เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปี พ.ศ. 2465 จนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 เมื่ออายุ 18 ปี

ประวัติการทำงาน แก้

  • พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยองสมัยแรก
    • ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2491 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 2
    • ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1]
  • พ.ศ. 2495 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 3
  • พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 4[2]
    • ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[3][4]
    • เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 5[5]
  • พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี สั่งราชการกระทรวงการคลัง[6] ต่อมาแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[7] ริเริ่มให้มีการเก็บภาษียาสูบและสุรา
  • พ.ศ. 2512 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 6
  • พ.ศ. 2518 ตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พรรคเกษตรสังคม” โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
    • เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 7
    • ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[8]
  • พ.ศ. 2519 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 8
    • ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[9] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[10] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่[11]

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

งานเขียน แก้

  • พ.ศ. 2485 แต่งสุภาษิต หนักก็เอาเบาก็สู้
  • พ.ศ. 2486 แต่งคำฉันท์ เรื่องวีรชน แต่งบทร้อยกรองหัวข้อสิบปีแห่งวัฒนชัย
  • พ.ศ. 2498 แต่งหนังสือพุทธวิปัสสนา

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ แก้

  • พ.ศ. 2507 เป็นผู้จัดหาทุนสร้างพุทธประทีป กรุงลอนดอน
  • สมาชิก “วรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย”

เกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

รางวัล แก้

  • พ.ศ. 2529 ได้รับโล่เกียรติคุณจากคณะกรรมการจัดงานฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ ในฐานผู้ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของท่านสุนทรภู่
  • พ.ศ. 2536 ได้รับโล่เกียรติคุณจากสภากวีไทย ในฐานะผู้ส่งเสริมและสร้างสรรค์วรรณคดีไทย
  • พ.ศ. 2537 ได้รับการประกาศให้เป็นผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านภาษาและวรรณคดี

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  3. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  6. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายเสวตร เปี่ยมพงษ์สานต์ นายชื่น ระวิวรรณ พลตรี เนตร เขมะโยธิน นายทิม ภูริพัฒน์ นายอารีย์ ตันติเวชกุล)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๕๑๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
ก่อนหน้า เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ ถัดไป
บุญชู โรจนเสถียร    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.37, ครม.38)
(21 เมษายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
  สุพัฒน์ สุธาธรรม
สมหมาย ฮุนตระกูล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.35)
(15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
  บุญชู โรจนเสถียร