เสริมคุณ คุณาวงศ์

เสริมคุณ คุณาวงศ์ เป็นนักธุรกิจชาวไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติสาขาศิลปะและศิลปะการแสดง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านการสร้างสรรค์ และบริหารจัดการอีเวนท์ชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเซียน ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) ในปี 2554 และเป็นผู้ก่อตั้ง ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ (Bangkok Sculpture Center) จนถึงปี 2565 ได้ก่อตั้ง บริษัท อาร์ต แท็งก์ กรุ๊ป จำกัด (Art Tank Group Co., Ltd.) กลุ่มบริษัทบริหารจัดการด้านธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ ตลอดจนมีบทบาทในการเป็นช่างภาพร่วมสมัย โดยมีนิทรรศการภาพถ่ายที่จัดแสดงในประเทศไทยมาแล้ว 4 ครั้ง [1][2][3][4]

เสริมคุณ คุณาวงศ์
SERMKHUN-KUNAWONG-03.jpg
SERMKHUN-KUNAWONG-03
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
บุตร2

ประวัติ แก้

“เสริมคุณ คุณาวงศ์” เกิดเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2503 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยการเป็นช่างภาพอิสระ ทั้งภาพนิ่งและภาพยนตร์ ซึ่งจากจุดนี้เองทำให้นำไปสู่การก่อตั้งบริษัทแห่งแรก ในปี 2529 ภายใต้ชื่อว่า “บริษัท ดิ อายส์ จำกัด” (THE EYES) บริษัทผู้ให้บริการผลิตประเภทสื่อมัลติมิเดีย และมัลติวิชั่น ชั้นนำของประเทศไทย ต่อมาในปี 2533 ได้ขยายธุรกิจใหม่ ก่อตั้ง “บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด” (PM CENTER) ซึ่งเป็นบริษัทให้เช่าอุปกรณ์เกี่ยวกับแสงสีเสียงทั้งหมด ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และ ในปี 2534 ได้ขยายธุรกิจสู่การให้บริการบริหารการจัดงาน (Event Management) ภายใต้ชื่อว่า “ ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์” (CM ORGANIZER) หรือ (CMO GROUP) ผู้นำธุรกิจด้านการสร้างสรรค์และบริหารจัดการอีเวนท์ชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเซียน (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) ในปี 2554) [5] นอกจากนี้ ในปี 2547 ได้นำบริษัท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI และใช้ชื่อย่อการซื้อขายหุ้นว่า “CMO” ถือเป็นบริษัทอีเวนท์รายแรกของเมืองไทยที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI [6]

นอกจากการเป็นนักธุรกิจ เสริมคุณ คุณาวงศ์ ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมผลงานด้านประติมากรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ” (Bangkok Sculpture Center) [7] ซึ่งก่อตั้งในปี 2547 ตั้งอยู่ที่ ถนนรามอินทรา ซอยนวลจันทร์ กรุงเทพมหานคร อยู่บนเนื้อที่ 4 ไร่ และเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

และล่าสุดเมื่อต้นปี 2565 นี้ ได้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทบริหารงานด้านศิลปะ ชื่อว่า “บริษัท อาร์ต แท็งก์ กรุ๊ป จำกัด” (Art Tank Group Co., Ltd.) ซึ่งภายใต้กลุ่มนี้ ประกอบไปด้วย 4 บริษัท ได้แก่

  1. Bangkok Art Auction เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บริษัทจัดการประมูลผลงานศิลปะชั้นนำของประเทศไทย
  2. Bangkok Art Conservation Center ศูนย์อนุรักษ์ผลงานศิลปะซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำงานร่วมกันทั้งนักอนุรักษ์ไทยและต่างชาติ เพื่อยกระดับการอนุรักษ์ให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับนานาชาติ
  3. Kunawong House Museum ที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่มาจากการสะสมของคุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ จำนวนกว่า 1,000 ชิ้น กำลังอยู่ในระหว่างปิดปรับปรุงและจะเปิดให้บริการอีกครั้งกลางปี 2567
  4. arttank.media: สื่อกลางสำหรับคนรักศิลปะทั้งในและต่างประเทศ
  5. Art Tank Handler ขนส่ง ติดตั้ง นำเข้า ส่งออก งานศิลปะ ประติมากรรม ไปจนถึงวัตถุโบราณทุกชนิดอย่างมืออาชีพ

ขณะเดียวกันยังเป็นช่างภาพร่วมสมัย โดยมีนิทรรศการภาพถ่ายที่จัดแสดงในประเทศไทยมาแล้วถึง 4 ครั้ง ด้านชีวิตครอบครัว เคยสมรสกับ คุณสุรีย์ สิริกรณ์ มีบุตรสาว 2 คน ได้แก่ คุณเหมือนฝัน สิริกรณ์ คุณาวงศ์ และ คุณวาดฝัน คุณาวงศ์ ปัจจุบันสมรสกับ คุณยุพเรศ คุณาวงศ์

ด้านการส่งเสริมศิลปะ และผลงานการถ่ายภาพ แก้

  • ผู้ก่อตั้ง บริษัท อาร์ต แท็งก์ กรุ๊ป จำกัด (Art Tank Group Co., Ltd.) กลุ่มบริษัทบริหารจัดการด้านธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ ประกอบด้วยธุรกิจจัดการประมูลผลงานศิลปะ (Bangkok Art Auction ) เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ ดูแลฟื้นฟูอนุรักษ์ผลงานศิลปะที่ชำรุดจากร่องรอยของกาลเวลา (Bangkok Art Conservation Center) ไปจนถึง "บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์" (Kunawong House Museum) รวมถึง จัดทำสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะ ชื่อว่า arttank.media [8]
  • ผู้ก่อตั้ง “ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ” (Bangkok Sculpture Center) [9]
  • อำนวยการฟื้นฟูและอนุรักษ์หุ่นหลวง (The Royal Puppet Preservation Project) ซึ่งเป็นหุ่นชนิดที่มีตั้งแต่สมัยอยุธยา [10]
  • เจ้าของผลงานหนังสือ “The Passion of Thai Sculpture” หนังสือที่รวมภาพและข้อมูลประติมากรรมไทยร่วมสมัยกว่า 150 ชิ้น [11]
  • อำนวยการจัดงานเทศกาลศิลปะ “Passion of Thai Modern Art” ซึ่งเป็นการแสดงงานศิลปะกว่า 400 ชิ้นในทุกรูปแบบ ณ สยามพารากอน [12][13]
  • นิทรรศการภาพถ่ายร่วมสมัย ทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่
  1. นิทรรศการภาพถ่ายชุด "Symbol Steam Stone and Surrender" ในปี 2551
  2. นิทรรศการภาพถ่ายชุด “โขน ฅน สิ่งสมมติ” ในปี 2554
  3. นิทรรศการภาพถ่ายชุด “วจนพุทธปฏิมา”: “BUDDHA IMAGE TALKS” ในปี 2555
  4. นิทรรศการภาพถ่ายชุด “The Blue Man” ในปี 2556

ผลงานที่สำคัญ แก้

  • การจัดฉาย Mapping บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ความยาว 200 เมตร เนื่องในโอกาส เฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา [14]
  • สร้างรูปแบบการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสมในประเทศไทย โดยการกำกับและอำนวยการผลิตงาน “72 พรรษาเฉลิมหล้าจอมราชัน ”
  • งานเทศกาลวัดอรุณ (Wat Arun Festival) ในปี 2543-2544 [15]
  • งานแม่น้ำของแผ่นดินครั้งที่ 3,4 และ 5 ในปี 2545-2547
  • ผู้อำนวยการบริหารจัดพิธีเปิด และการแสดงน้ำพุงาน “มหาสงกรานต์ เบิกบานวิถีไทย 2546” ณ ลานมหาเจษฎาบดินทร์และถนนราชดำเนินกลาง
  • ส่วนนิทรรศการอลังการในงาน “OTOP City” ครั้งที่ 1 ในปี 2547
  • จัดกิจกรรมในงานประกวด Miss Universe 2005 Thailand Presented by Singha
  • การจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่24 [16]
  • ศาลาไทยในงาน Expo ที่ประเทศสเปน
  • การร่วมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ
  • ดำเนินการจัดงาน Hua Hin Jazz Festival 2006 ซึ่งเป็น 1 ใน 3 งาน Music Festival ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยได้รับความไว้วางใจเป็นผู้จัดงานมหกรรมดนตรี Jazz นี้เป็นระยะเวลา 3 ปี (2006 – 2009 )
  • อำนวยการผลิตการจัดงานกิจกรรม HANDS Bangkok Countdown 2008-2010 จัดขึ้น ณ ลานหน้า Central World ซึ่งเป็นงานฉลองปีใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร
  • บริหารพาวิลเลียน โดดเด่นที่สุดในงาน BOI FAIR 2011 ทั้งหมด 8 พาวิลเลียน โดยได้รับรางวัล 5 รางวัล จาก 11 รางวัล [17]

อ้างอิง แก้

  1. SermkhunK (2011-06-22). "Behind the scene Symbol by Sermkhun Kunawong". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  2. "8880000013109 - BUDDHA IMAGE TALKS (วจนพุทธปฏิมา)". Asiabooks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-17. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  3. "Q&A with Sermkhun Kunawong | BK Magazine Online". Bk.asia-city.com. 2011-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  4. 4
  5. "CMO Group". CMO Plc. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  6. "CMO Profile & Executives - CMO PCL". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  7. "Bangkok Sculpture Center". Bangkok Sculpture Center. 2008-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  8. "arttank.media".
  9. "ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ". ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ. 2008-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  10. "โครงการส่งเสริมศิลปะไทย". Bangkok Sculpture Center. 2005-12-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  11. "ความหลงไหลในประติมากรรมไทย". กรุงเทพฯ :ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ,2548. 2005-12-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.[ลิงก์เสีย]
  12. "Sermkhun Kunawong | Thailand Tatler Magazine - The Spirit of High Society". Thailandtatler.com. 2011-07-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  13. "Exhibition : Passion of Thai Modern Art by 81 art pieces from KASIKORNBANK's Contemporary Art Collection". Rama9art.org. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  14. "เฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา". ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ. 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  15. "เทศกาลวัดอรุณ".
  16. "การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่24".
  17. Brio Launch "BOI Fair 2011". CMO Plc. 2011-12-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Sermkhun Kunawong}
ชื่ออื่น Jok
รายละเอียดโดยย่อ
วันเกิด 1960
สถานที่เกิด Thailand
วันตาย
สถานที่ตาย