เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หรือ เศรษฐศาสตร์พาณิชย์ (อังกฤษ: Business economics) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งเน้นไปยังหน่วยธุรกิจ และวิเคราะห์ไปยังส่วนต่างๆขององค์กรที่หลากหลาย รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มแรงงาน, ส่วนกลาง และผลิตผลทางการตลาด[1]

วัตถุประสงค์หลัก แก้

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการแก้ปัญหา, การจัดการ, ยุทธวิธีในองค์กรธุรกิจ, ประเด็นและปัญหาดังเช่น : การอธิบายว่าทำไมจึงเกิดผลลัพธ์เช่นนี้, สาเหตุที่ทำให้องค์กรประสบกับความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในส่วนของ การจัดการในแนวตั้งและแนวนอน, บทบาทของนักลงทุนกับคณะผู้บริหาร; ความสำคัญในโครงสร้างขององค์กร; การรักษาความสัมพันธ์ต่อลูกจ้าง, นายจ้าง, ผู้จัดการส่วนกลาง, ลูกค้า, รัฐบาล; ตลอดจนปฏิกิริยาที่มีต่อความมั่นคงกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ[1]

ความกำกวมในการนำไปใช้ แก้

คำศัพท์"เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ" ถูกนำไปใช้ในหลายทาง บางครั้งนำไปพ้องกับความหมายของคำว่า เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม, เศรษฐศาสตร์การจัดการ และเศรษฐศาสตร์เพื่อการธุรกิจ โดย เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม นั้นมีนิยามที่ใกล้เคียงที่สุด ในขณะที่สาระสำคัญมีความหมายแตกต่างมากมายกว่า ทั้งเศรษฐศาสตร์เพื่อการธุรกิจ กับ เศรษฐศาสตร์การจัดการ

อีกหนึ่งมุมมองให้นิยามถึงเศรษฐศาสตร์ธุรกิจนั้น มีความหมายกินขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับ "อุตสาหกรรม" เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง"ภาคธุรกิจบริการ" ที่นำมาใช้อย่างจริงจังในงานประพันธ์ด้าน "กลยุทธ์ทางธุรกิจ" อีกด้วย ส่วนเศรษฐศาสตร์เพื่อการธุรกิจ จะมองไปที่ทฤษฎีทางเศรษฐกิจเป็นใหญ่ แต่มุ่งจุดสนใจการนำทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ในโลกธุรกิจของจริง[2] และเศรษฐศาสตร์การจัดการ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินการโดยมุ่งเน้นการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเป็นหลัก[3]

การตีความหมายของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจในแต่ละมหาวิทยาลัย แก้

Notes แก้

  1. 1.0 1.1 Moschandreas, M (2000) Business Economics, Business Press Thompson Learning, 2nd Edition
  2. Sloman, J and Sutcliffe (2004) Economics for Business, Financial Times/ Prentice Hall; 3 edition
  3. Wilkinson, Nick (2005) Managerial Economics: A Problem-Solving Approach, Cambridge University Press

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้