เวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Statistics, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง สถิติทางการแพทย์ หรือการกระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในทางการแพทย์ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ การนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์มาสรุป และเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ในทางการแพทย์ [1][2]

เวชสถิติในความหมายทั่วไปทางการแพทย์ แก้

เวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Record Librarian, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง ตำแหน่งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในงานเวชระเบียน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการงานทางด้านเวชระเบียนตามที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสูงสุดทางด้านเวชระเบียนในสถานบริการสาธารณสุขมอบหมาย โดยงานต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นงานห้องบัตร งานสถิติทางการแพทย์ งานให้รหัสโรค งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย งานคัดกรองผู้ป่วย งานด้านคอมพิวเตอร์ หรืองานอื่น ๆ ทางด้านเวชระเบียนที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงชื่อโรงเรียนที่ทำการเรียนการสอนทางด้านพื้นฐานเวชระเบียน ซึ่งมีชื่อว่า โรงเรียนเวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Record Librarian School) ซึ่งจะมีการเรียนทางด้านเวชระเบียน รหัสโรค สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ พื้นฐานทางคลินิก วิธีดำเนินการทางการแพทย์ ศัพท์แพทย์ และสถิติ เป็นวิชาหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนาการศึกษาทางด้านเวชสถิติซึ่งจะมีการเรียนที่เปลี่ยนชื่อไปเป็น เวชระเบียน โดยมีการเปลี่ยนจากโรงเรียนเวชสถิติเดิมไปเป็นสาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรีด้านเวชระเบียนด้วย และมีการศึกษาต่อเนื่องในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเวชระเบียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาจากการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตร 4 ปี [3][4][2]

บุคลากรทางด้านเวชสถิติ แก้

  1. นักวิชาการเวชสถิติ หรือ นักเวชสถิติ (ตำแหน่งที่มีอยู่ในปัจจุบันคือตำแหน่งนักวิชาการเวชสถิติ ที่มีการบรรจุในโรงพยาบาลที่มีโรงเรียนแพทย์ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2534 แต่ยังไม่สามารถบรรจุบุคลากรในสาขานี้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพราะ ก.พ.ได้กำหนดเพียงตำแหน่ง นักสถิติ เท่านั้น แต่อาจมีชื่อตำแหน่งดังกล่าวในผู้ที่เป็นพนักงานของรัฐที่โรงพยาบาลสามารถกำหนดชื่อตำแหน่งนี้ไว้ได้ ในปัจจุบันมีการกำหนดตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข (เวชสถิติ) ในการรับเข้าเป็นพนักงานราชการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้นซึ่งอาจไปตรงกับชื่อของบุคลากรด้านเวชสถิตินัก)
  2. นักวิชาการสถิติ หรือ นักสถิติ (ซึ่งเป็นตำแหน่งตามที่ ก.พ.กำหนดในระดับปริญญาตรีคือ นักวิชาการสถิติ ที่สามารถปรับคุณวุฒิจากตำแหน่ง เจ้าพนักงานสถิติ)
  3. เจ้าพนักงานเวชสถิติ
  4. เจ้าหน้าที่เวชสถิติ (เป็นตำแหน่งเดีมที่เคยมีใช้สำหรับบุคลากรที่จบจาก โรงเรียนเวชสถิติ แต่ปัจจุบันให้ใช้ชื่อในตำแหน่ง เจ้าพนักงานเวชสถิติแล้ว)
  5. ลูกจ้างงานเวชสถิติ
  6. นักวิชาการรหัสโรค (กรณีที่งานให้รหัสทางการแพทย์ขึ้นกับงานเวชสถิติในบางโรงพยาบาล)
  7. พนักงานให้รหัสโรค หรือเจ้าหน้าที่ให้รหัสโรค หรือพนักงานรหัส (กรณีที่งานให้รหัสทางการแพทย์ขึ้นกับงานเวชสถิติในบางโรงพยาบาล)

รายละเอียดของตำแหน่งในประเทศไทย แก้

ตำแหน่งเจ้าพนักงานเวชสถิติ แก้

-ตําแหน่งประเภท ทั่วไป

-ชื่่อสายงาน ปฏิบัติงานเวชสถิติ

-ชื่่อตําแหนงในสายงาน เจ้าพนักงานเวชสถิติ

-ลักษณะงานโดยทั่วไป สายงานนี้คลุมถึงตําแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสถิติทางการแพทย์ในขั้นตอนเบื้องต้น ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเก ี่ ยวกับการจัดเก็บ รวบรวม ข้อมูลและตัวเลขสถิติที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ การรักษาพยาบาลและการวิเคราะห์โรคเพ ื่อประโยชนืในการปรับปรุงคุณภาพ ของการรักษาพยาบาลการปรับปรุงและขยายกิจการของโรงพยาบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เก ี่ ยวข้องกับ การรักษาพยาบาลและเพ ื่อประโยชน์แก้การศึกษา ค้นคว้า วิจัยและวางมาตรการในการป้องกันโรค ตลอดจนการวางแผนเกี่ยวกับสาธารณสุขของประเทศในด้านอื่น ๆ ด้วยและปฏิบัติหน้าที่อี่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อระดับตําแหนงในสายงานและระดับตําแหน่ง แก้

ระดับตําแหน่ง ปฏิบัติงาน แก้

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซ ึ่งไม่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านเวชสถิติ ตามแนวทางแบบอยย่างขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังน ี้

1. ด้านปฏิบัติการ (1) ให้บริการในงานเวชระเบียน อย่างมีมาตรฐานเพ ื่ อการรักษาดูแลสุขภาพผู้ป่วย (2) ให้บริการ จําแนกประเภทผู้ป่วย เพ ื่ อการส่งผู้ป่วยไปรับการรักษากลุ่มเฉพาะโรค ได้อย่างถูกต้อง (3) ให้รหัสทางการแพทย์ตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้องเพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงาน ของบุคลากรทางการแพทย์ (4) เก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อจัดทํารายงาน และนําเสนอเจ้าหน้าที่ระดับสูงข ึ้นไป

2. ด้านบริการ

(1) ให้บริการข้อมูลเวชระเบียนและสถิติประเภทต่าง ๆ แก้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร ทางการแพทย์ ประชาชน เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ศึกษา อ้างอิงวางแผนงานต่างๆ

(2) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน เพี่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่าง ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ได้รับประกาศนียบัตรซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 จากประโยคมัธยมศึกษา ตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญทางการพยาบาลเวชสถิติหรือทางอื่นที่ ก.พ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ เฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชระเบียน

3. ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอ ื่ นท ี่ ก.พ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับ ตําแหน่งนี้ได้ ความรู้ความสามารถ ทักษะ

สมรรถนะที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง

1. ความรู้ความสามารถที่จําเป็นสําหรับการปฏิบัติงานในตําแหน่ง

2. ทักษะที่จําเป็นสําหรับการปฏิบัติงานในตําแหน่ง

3. สมรรถนะที่จําเป็นสําหรับการปฏิบัติงานในตําแหน่ง

ระดับตําแหน่ง ชํานาญงาน แก้

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้อง กํากับ แนะนํา ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณื และความชํานาญงานดานเวชสถิติปฏิบัติงานที่ตองตัดสินใจหรือแกปญหาที่คอนขางยากและปฏิบัติงาน อื่นตามที่ไดรับมอบหมาย หรือ ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานที่มีประสบการณซึ่งไมจําเปนตองใชผูสําเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา โดยใชความรูความสามารถ ประสบการณและความชํานาญงานดานเวชสถิติปฏิบัติงานที่ตอง ตัดสินใจหรือแกไขปญหาที่คอนขางยากและปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานท ี่ปฏิบัติในดานตาง ๆ ดังน ี้

1. ดานปฏิบัติการ

(1) ใหบริการในงานเวชระเบียนอยางมีมาตรฐาน ประยกตุ การปฏิบัติงาน วิธีการทํางาน ตัดสินใจแกไขปญหา เพ ื่ อพัฒนาการทํางานใหมีประสิทธิภาพ

(2) ใหรหัสทางการแพทยสําหรบผั ูปวยที่มีภาวะแทรกซอนหลายโรค ตามมาตรฐานได อยางถูกตอง เพ ื่อใชประกอบการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย

(3) ศึกษา คนควา จัดทํารายงานขอมูลสุขภาพ เพ ื่อใหเจ าหนาท ี่ ระดับสูงข ึ้นไปนําไปใช ประกอบการวางแผน และการพัฒนาคุณภาพงานไดอยางเหมาะสม

2. ดานการกํากับดูแล

(1) กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผูรวมปฏิบัติงานในระดับรองลงมา เพ ื่อใหสามารถ ปฏิบัติงานไดอยางถูกตอง

(2) วางระบบและแผนการปฏิบัติงานของตนเอง เพ ื่อใหสามารถปฏิบัติงานไดอยางมี ประสิทธิภาพ

3. ดานบริการ

(1) ใหความรู คําปรึกษา ขอมูลดานเวชระเบียนและสถิติประเภทตางๆ แกหนวยงาน ที่เก ี่ ยวของ บุคลากรทางการแพทย ประชาชน เพ ื่ อนําไปใชประโยชนในการปฏิบัติงาน ศึกษา อางอิง วางแผนงานตาง ๆ

(2) ติดตอ ประสานงานกับหนวยงานท ี่ เก ี่ ยวของท ั้งภายในและภายนอก เพ ื่อใหการ ดําเนินงานเปนไปอยางราบร ื่ นและมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหนง

1. มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหนง เจาพนักงานเวชสถิติระดับปฏิบัติงาน และ

2. เคยดํารงตําแหนงประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน มาแลวไมนอยกวา 5 ปกําหนดเวลา 5 ปใหลดเปน 4 ปสําหรับผูมีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหนงเจาพนักงานเวชสถิติระดับปฏิบัติงาน ขอ 2 หรือขอ 3 ที่เทียบไดไมต่ํากวาประกาศนียบัตรวิชาชีพช ั้ นสูงหรือดํารงตําแหนงอ ื่ นท ี่ เทียบได ไมต่ํากวาน ี้ ตามหลักเกณฑและเง ื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด โดยจะตองปฏิบัติงานเวชสถิติ หรืองานอ ื่ นท ี่ เก ี่ ยวของตามที่สวนราชการเจาสังกัดเห็นวาเหมาะสมกับหนาท ี่ ความรับผิดชอบและลักษณะงานท ี่ปฏิบัติ มาแลวไมนอยกวา 1 ป

ระดับตําแหนง อาวุโส แก้

หนาที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะหัวหนางาน ซึ่งไมจําเปนตองใชผูสําเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยตอง กํากับ แนะนํา ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผูรวมปฏิบัติงาน โดยใชความรูความสามารถ ประสบการณ และความชํานาญงานดานเวชสถิติคอนขางสูง มีงานในความรับผิดชอบท ี่ หลากหลาย ปฏิบัติงานที่ตอง ตัดสินใจหรือแกปญหาในงานที่คอนขางยากมากและปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานท ี่ปฏิบัติในดานตาง ๆ ดังน ี้

1. ดานการกํากับดูแล

(1) ควบคุม กํากับ ดูแลการปฎิบัติงานของผูใตบังคับบัญชา เพ ื่อใหการปฏิบัติงาน บรรลุเปาหมายและวัตถุประสงคของหนวยงาน

(2) ควบคุม กํากับ ดูแลโครงการขนาดเล็กที่มีขั้นตอนการดําเนินงานไมซับซอน เพ ื่อให การบริหารจัดการบรรลุวัตถุประสงคของหนวยงาน

2. ดานปฏิบัติการ

(1) พัฒนามาตรฐานรหัสดานสุขภาพ จัดทําคูมือการปฏิบัติงาน ตัดสินใจแกไขปญหา เพ ื่ อพัฒนาการทํางานใหมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน

(2) แปลผลการวินิจฉัยโรค ศึกษา คนควา วิเคราะห จัดทํารายงานขอมูลสุขภาพ เพ ื่ อนําไปใชในการวางแผนปรับปรุงระบบงานใหมีประสิทธิภาพ

นักวิชาการสถิติ แก้

ตำแหน่งประเภท วิชาการ

สายงาน วิชาการสถิติ

ลักษณะงานโดยทั่วไป สายงานนี้ครอบคลุมตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้ายวิชาการสถิติ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาการทางด้านสถิติ เช่น การกำหนดมาตรฐานสถิติ กำหนดระเบียนรวิธีปฏิบัติและควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ และเทคนิคการปฏิบัติการทางสถิติ การวางแผนจัดทำสถิติ รวมทั้งการดนินการส่งเสริมวิชาการสถิติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการเวชสถิติ แก้

ตำแหน่งประเภท เชี่ยวชาญเฉพาะ

สายงาน วิชาการเวชสถิติ[5]

ลักษณะงานโดยทั่วไป สายงานนี้ครอบคลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานงิชาการเวชสถิติ ซึ่่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับสถิติผู้ป่วย การรักษาพยาบาล การวิเคราะห์โรค การแปลข้อมูลและลงรหัส การจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเวชสถิติ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและขยายกิจการของโรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา ค้นคว้าวิจัย และวางมาตรการในการป้องกันโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ตลอดจนการวางแผนเกี่ยวกับสาธารณสุขของประเทศด้านอื่นๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อระดับตำแหน่ง

1.รับดับปฏิบัติการ

2.ระดับชำนาญการ

3.ระดับชำนาญการพิเศษ

4.ระดับเชี่ยวชาญ

5. ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ

อ้างอิง แก้

  1. แสงเทียน อยู่เถา, เวชสถิติ, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
  2. 2.0 2.1 แสงเทียน อยู่เถา. (๒๕๖๐). เวชสถิติ (Medical Statistics). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพืแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  3. แสงเทียน อยู่เถา. (๒๕๕๖). เวชระเบียน (Medical Record). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.
  4. แสงเทียน อยู่เถา. (๒๕๖๐). การบริหารงานเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  5. ก.พ.อ. (๒๕๕๓). มาตรฐานกำหนดตำแหน่งนักวิชาการเวชสถิติ. ประกาศ ก.พ.อ. วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓.