เล็ก นานา (18 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 1 เมษายน พ.ศ. 2553) เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร หลายสมัย

เล็ก นานา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน (รักษาราชการ)
ถัดไปบัญญัติ บรรทัดฐาน
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2525 – 5 เมษายน พ.ศ. 2529
ก่อนหน้าศ.(พิเศษ) มารุต บุนนาค
ถัดไปวีระ มุสิกพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2468
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต1 เมษายน พ.ศ. 2553 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2489 - 2553)
คู่สมรสยุพดี นานา
บุตรยุพ นานา

การเมือง แก้

นายเล็ก นานา เข้าสู่วงการการเมืองโดยถือเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในยุคก่อตั้ง ในสมัยที่มี นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค โดยเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร หลายสมัย และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวง

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แก้

นายเล็ก นานา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[1] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[2] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 2 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.37)[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก หลังจากรับตำแหน่งได้ 5 เดือน และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[4] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รวมระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ใน 3 คณะรัฐมนตรี เพียง 6 เดือนเศษ

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 แทนนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ รัฐมนตรีคนก่อนและอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเสียชีวิตจากการทำอัตตวินิบาตกรรม[5]

ชีวิตส่วนตัว แก้

นายเล็ก นานา เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์มาแต่แรกเริ่ม เป็นเจ้าของที่ดินหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่สมัยราคาที่ดิน ยังไม่แพงนัก และกรุงเทพมหานครยังไม่เจริญเหมือนปัจจุบัน และโดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ[6] จนได้ฉายาในยุคนั้นว่า "ราชาที่ดินกรุงเทพ" จากการมีที่ดินมากในกรุงเทพมหานคร มีซอยหนึ่งในถนนสุขุมวิทตั้งชื่อซอยตามนามสกุลของนายเล็ก คือ ซอยนานา หรือ สุขุมวิทซอย 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทธุรกิจประเภทต่าง ๆ มากมาย รวมถึงพื้นที่บริเวณนั้นก็ถูกเรียกว่า ย่านนานา นายเล็ก นานา เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค และได้ยกที่ดินส่วนตัว ในซอยเศรษฐศิริ เขตพญาไท ให้เป็นที่ทำการถาวรของพรรคประชาธิปัตย์มาจนถึงปัจจุบัน

นายเล็ก นานา เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะ โดยมีบรรพบุรุษมาจากอินเดีย ซึ่งต้นตระกูลนานา คือ อาลีสาย อะหะหมัด เทปาเดีย ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่เมืองแรนเดอร์ รัฐคุชราต ได้เข้ามาอาศัยและประกอบธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6][7]

นายเล็ก นานามีบุตร 2 คนและ ธิดา 1 คนโดย 1 ในบุตรของนายเล็ก นานาคือ นาย ยุพ นานา ได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองเหมือนกันโดยเคยดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานในสมัยรัฐบาล นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคนของมนุษย์ในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 โดยเป็นสมาชิกไม่ถึงหนึ่งเดือน

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

นายเล็ก นานา ได้ถึงแก่กรรม เมื่อเวลา 02.41 น. ของวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ด้วยโรคหัวใจ ที่โรงพยาบาลปิยะเวท สิริอายุได้ 85 ปี [8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  2. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายเล็ก นานา)
  6. 6.0 6.1 โพธิ์ศรีทอง, ประภัสสร (2015-06-09). "ชุมชนอินเดียย่านตึกแดงตึกขาว : ประวัติศาสตร์การค้าผ่านภาพถ่ายเก่า". ไทยทรีบูนดอตโออาร์จี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-02.
  7. Dubey, Tung Nath, India and Thailand: A Brief History, H.K. Publishers and Distributors, 1990, p. 76
  8. เล็ก นานา ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ปชป.เสียชีวิตแล้ว[ลิงก์เสีย]จากโพสต์ ทูเดย์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๐๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖