เลเซอร์โกสต์ (อังกฤษ: Laser Ghost) เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดยิงไลต์กันแนวสยองขวัญที่เปิดตัวโดยบริษัทเซกาใน ค.ศ. 1990 เกมดังกล่าวมีรูปแบบตามภาพยนตร์เรื่องบริษัทกำจัดผี[2] และโพลเตอร์ไกส์ 3 โดยคัดเลือกผู้เล่นในฐานะนักล่าผี[3] เกมนี้มีปืนสามกระบอกติดตั้งอยู่บนตู้ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกสามคนในทีมล่าผี เกมดังกล่าวให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นบิล, แมกซ์ และแคโรล ที่ต้องช่วยเหลือสาวน้อยที่ถูกลักพาตัวไปโดยการ์กอยล์สีน้ำเงิน รวมถึงปกป้องเมืองจากผีร้าย[4] ส่วนเกมมาสเตอร์ซิสเตมที่มีชื่อเดียวกันได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1991 สำหรับทวีปยุโรปโดยเฉพาะ แต่ไม่ได้อิงจากต้นฉบับอาร์เคด

เลเซอร์โกสต์
ภาพปกเวอร์ชันมาสเตอร์ซิสเตม
ผู้พัฒนาเซกา
ผู้จัดจำหน่ายเซกา
เครื่องเล่นอาร์เคด, มาสเตอร์ซิสเตม
วางจำหน่ายธันวาคม ค.ศ. 1990: อาร์เคด[1]
ค.ศ. 1991: มาสเตอร์ซิสเตม
แนวเกมยิงไลต์กัน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดเซกาซิสเตม 18

รูปแบบการเล่น แก้

 
ภาพจับหน้าจอเวอร์ชันอาร์เคด

เกมดังกล่าวจัดจำหน่ายในตู้แนวนอนพร้อมหน้าจอสีความละเอียดมาตรฐานที่สะท้อนจากกระจก โดยเกมนี้สามารถเล่นพร้อมกันได้สูงสุดสามผู้เล่น ซึ่งเกมถูกควบคุมโดยปืนประจำตำแหน่งที่มีปุ่มสองปุ่ม ปุ่มหนึ่งสำหรับการยิงปกติ และอีกปุ่มสำหรับอาวุธพิเศษแบบจำกัดการใช้งาน นอกจากปืนแล้ว ตู้ยังมีระบบเล็งบนหน้าจอซึ่งกระจกจะฉายลำแสงสีแดงออกจากปืนทุกครั้งที่ผู้เล่นทำการยิง ทำให้เกิดภาพลวงตาว่ามีลำแสงเลเซอร์จริง ๆ ออกมาจากปืนไปยังเป้าหมาย[5] เกมดังกล่าวทำให้นักล่าทั้งสามคนอยู่ในห้าด่านที่พวกเขาต้องทำลายบรรดาผี โดยแต่ละด่านจะจบลงด้วยการต่อสู้กับบอส โซนความเสียหายของผู้เล่นแต่ละคนจะแสดงเป็นหนึ่งในสามของหน้าจอ ซึ่งสถิติของพวกเขาก็ตั้งอยู่เช่นกัน ผู้เล่นได้รับความเสียหายหากส่วนที่สามของหน้าจอถูกโจมตีโดยศัตรู การโจมตีของผีทำให้แถบชีวิตของผู้เล่นหมดลง ซึ่งสามารถเติมได้โดยการยิงชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ศัตรูบางตัวทิ้งไว้หลังจากพวกมันถูกสังหาร

ส่วนเลเซอร์โกสต์สำหรับเซกา มาสเตอร์ซิสเตม แตกต่างจากต้นฉบับอาร์เคดอย่างสิ้นเชิง ในเกม ผู้เล่นจะต้องปกป้องเด็กสาวชื่อแคทเธอรีนซึ่งถูกจับเป็นเชลยในคฤหาสน์สีขาวที่มีผีสิง ด้วยการใช้จอยแพดหรือปืนไลต์เฟเซอร์ ผู้เล่นจะขจัดอันตรายต่าง ๆ ที่แคทเธอรีนเผชิญหน้าในขณะที่เธอพยายามหลบหนีด้วยดวงจิตของเธอ[6]

การพัฒนา แก้

เลเซอร์โกสต์เวอร์ชันอาร์เคดได้รับการจัดแสดงที่งานอะมิวส์เมนต์เทรดส์เอกซิบิชันอินเตอร์เนชันแนลเมื่อ ค.ศ. 1991[7]

การตอบรับ แก้

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1991 ระบุว่าเลเซอร์โกสต์เป็นหน่วยอาร์เคดตั้งตรงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับเจ็ดของเดือนดังกล่าว[8]

เกมอาร์เคดนี้ได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวกเมื่อวางจำหน่าย และจากข้อมูลของนิตยสารแซป!64 ระบุว่าเกมนี้เข้าท่าดี แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะแยกตัวเองออกจากเกมที่คล้ายกัน เช่น โอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์, สเปซกัน และเมคาไนด์แอตแทก[4] ส่วนนิตยสารเกมของอังกฤษอย่างดิวัน ได้วิจารณ์เลเซอร์โกสต์เวอร์ชันอาร์เคดใน ค.ศ. 1991 โดยเปรียบเทียบรูปแบบการเล่นกับบีสต์บัสเตอส์ และโครงเรื่องกับเดอะเรียลโกสต์บัสเตอร์ โดยนิตยสารดิวันได้กล่าวถึงรูปแบบการเล่นของเลเซอร์โกสต์ว่า "ไม่มีอะไรแปลกใหม่ให้เล่น" แต่แสดงความคิดเห็นว่า "เหตุการณ์ที่น่ากลัวจะทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่ [ตื่นเต้น]"[7]

นิตยสารมีนแมชชีนกล่าวว่าเกมเวอร์ชันมาสเตอร์ซิสเตมนั้นสนุก แต่ติเตียนต่อคุณภาพกราฟิกที่ต่ำ[3] ขณะที่นิตยสารคอนโซล เอกซ์เอส ได้วิจารณ์เวอร์ชันเซกา มาสเตอร์ซิสเตม ใน ค.ศ. 1992 โดยให้คะแนน 84 เปอร์เซ็นต์[9]

เมื่อพิจารณาย้อนหลัง ออลเกมให้ความเห็นว่าเกมอาร์เคดนั้นสนุก แต่อาจไม่คุ้มกับที่ผู้เล่นต้องจ่ายเพื่อเล่น[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Laser Ghost". Media Arts Database (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 27 September 2021.
  2. 2.0 2.1 Brad Cook. "Laser Ghost Review". Allgame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-15. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  3. 3.0 3.1 "Sega Master System". The Mean Machines Archive. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  4. 4.0 4.1 "Laser Ghost". Zzap!64. August 1991: 37. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. "Laser Ghost". klov. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  6. "Laser Ghost". Moby Games. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  7. 7.0 7.1 Nesbitt, Brian (February 1991). "Coin-Operated Corkers!". The One. No. 29. emap Images. p. 20.
  8. "Game Machine's Best Hit Games 25 - アップライト, コックピット型TVゲーム機 (Upright/Cockpit Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). Amusement Press, Inc. 1 January 1991. p. 37.
  9. "Software A-Z: Master System". Console XS. No. 1 (June/July 1992). United Kingdom: Paragon Publishing. 23 April 1992. pp. 137–47.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้