เลิศ ชินวัตร (10 ตุลาคม พ.ศ. 2462 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวไทย เป็นบิดาของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28

เลิศ ชินวัตร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2462
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (มณฑล​พายัพ)​
เสียชีวิต23 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (78 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังใหม่
คู่สมรสยินดี ชินวัตร
บุตรเยาวลักษณ์ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
พายัพ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์

ประวัติ แก้

นายเลิศ เดิมมีชื่อว่า "บุญเลิศ แซ่คู"[1] เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2462 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 4 จากบุตรจำนวน 12 คน ของนายเชียง (คู ชุนเชียง) และนางแสง ชินวัตร ชาวไทยเชื้อสายจีนแคะอพยพจากจังหวัดจันทบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย หลังจากจบมัธยม 8 ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ไม่สำเร็จการศึกษา เนื่องจากครอบครัวขาดผู้สืบทอดธุรกิจ[2]

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางยินดี (สกุลเดิม ระมิงวงศ์) ธิดาในเจ้าจันทร์ทิพย์ ณ เชียงใหม่ และนัดดาในเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่[3][4] มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่

  1. นาง เยาวลักษณ์ (สมรสกับ พ.อ.พิเศษ ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ)
  2. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (เคยสมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร),
  3. นาง เยาวเรศ (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์),
  4. นางเยาวภา (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
  5. นาย พายัพ (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์),
  6. นาง ปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ),
  7. นาย อุดร
  8. นาง มณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล),
  9. นางสาว ยิ่งลักษณ์ (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร)[5]
  10. นาง ทัศนีย์ ชินวัตร

นายเลิศ ชินวัตร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ด้วยโรคระบบหายใจล้มเหลว สิริอายุได้ 78 ปี โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารและ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

การทำงาน แก้

นายเลิศ เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เพียงภาคเรียนเดียว ต้องกลับมาช่วยกิจการของครอบครัว คือ โรงงานทอผ้าไหมชินวัตรพาณิชย์ และธุรกิจตลาดสดสันกำแพง ต่อมาได้ประกอบกิจการหลายอย่าง เช่น รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามต่างจังหวัด เปิดร้านกาแฟที่ห้องแถวไม้หน้าตลาดสันกำแพง ทดลองทำสวนส้มเขียวหวาน สวนฝรั่งและผลไม้เมืองหนาว หลังจากนั้น จึงมาทำงานที่ธนาคารนครหลวงไทย สาขาเชียงใหม่ ในตำแหน่งหัวหน้าสินเชื่อ ต่อมาร่วมหุ้นทำโรงภาพยนตร์ศรีวิศาลและได้ซื้อหุ้นไว้ทั้งหมด หลังจากนั้นได้สร้างโรงภาพยนตร์ชินทัศนีย์ ที่ถนนเจริญเมืองและซื้อกิจการรถเมล์วิ่งในตัวเมืองเชียงใหม่[2]

งานการเมือง แก้

นายเลิศ ชินวัตร เริ่มสนใจเล่นการเมืองท้องถิ่นเมื่อปี พ.ศ. 2510 เริ่มสมัครสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัด เขตอำเภอสันกำแพง ในปี พ.ศ. 2512 ลงรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ในสังกัดพรรคพลังใหม่และได้รับเลือก[6] แต่ในการเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] ก่อนจะวางมือไปหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.2551[ลิงก์เสีย]
  3. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้าฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2011-11-09.
  4. "สังคมเมืองเชียงใหม่: ย่านถนนเจริญเมือง (๑๙)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2011-11-09.
  5. สุขสันต์วันแม่กับคำถาม ลูกชายของ "นายกฯปู" มีชื่อเล่นว่า "ไปค์" หรือ "ไปป์" ? เก็บถาวร 2012-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. (12 สิงหาคม 2554). สืบค้น 12-8-2554.
  6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
  7. ตระกูลการเมือง-ชินวัตรเก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  • หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพนายเลิศ ชินวัตรและสัมภาษณ์คุณเถาวัลย์ ชินวัตร