เลณยาทรี (มราฐี: लेण्याद्री, Leṇyādri; Lenyadri) หรือบางครั้งเรียกว่า ถ้ำคเณศเลณ (Ganesa Lena), คเณศปหร์ (Ganesh Pahar) หรือ ถ้ำสุเลมาน (Suleman Caves) เป็นหมู่ถ้ำเจาะหินกว่า 30 แห่งในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ 5 กิโลเมตรทางเหนือของชุนนร (Junnar) ในอำเภอปูเน รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ถ้ำอื่น ๆ ที่รายล้อมเมืองชุนนรได้แก่ถ้ำมนโมที (Manmodi Caves), ถ้ำศิวเนรี (Shivneri Caves) และ ถ้ำตุลชา (Tulja Caves)

หมู่ถ้ำเลนยาทรี

ถ้ำหมายเลข 7 ดั้งเดิมแล้วเป็นเป็นวิหารในศาสนาพุทธได้กลายเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระพิฆเนศ และเป็นหนึ่งในแปดโบสถ์พระคเณศอันยิ่งใหญ่ อัษฏวินายก ถ้ำจำนวน 26 ถ้ำมีการระบุตัวเลข เรียงจากตะวันออกไปตะวันตก โดยที่ทุกถ้ำหันหน้าออกไปทางทิศใต้[1][2][3] ถ้ำหมายเลข 6 และ 14 เป็นเจดียคฤห์ (chaitya-griha - ที่ประกอบพิธีกรรม) ส่วนที่เหลือเป็นวิหาร (vihara - กุฏิสงฆ์)[1][2][3]

ถ้ำต่าง ๆ สร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-3 โดยมนเทียรของพระคเณศในถ้ำหมายเลข 7 สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1[1][4] ทุกถ้ำล้วนมีรากฐานมาจากศาสนาพุทธหินยาน และไม่ทราบชัดเจนว่าวิหารพุทธในถ้ำ 7 กลายเป็นโบสถ์พราหมณ์ตั้งแต่เมื่อใด[1]

ชื่อ แก้

"เลณยาทรี" (Lenyadri) แปลตรงตัวว่า "ถ้ำเขา" ("mountain cave") มาจากภาษามราฐี คำว่า 'เลณ' ('Lena') แปลว่าถ้ำ และ 'อทรี' ('Adri') ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "เขา" หรือ "หิน"[5] พบชื่อของเลณยาทรีอยู่ในทั้งคัมภีร์คเณศปุราณะและสถลปุราณะ (Sthala Purana) ในลักษณะเกี่ยวข้องกับตำนานของพระคเณศ[1] It is also called Jeernapur and Lekhan parvat ("Lekhan mountain").[6]

ในอดีตเขานี้มีชื่อว่า คเณศปหร (Ganesh Pahar) ("เขาพระคเณศ") ในจารึกโบราณเรียกที่นี่ว่า กปิจิต (กปิจิตต) (Kapichita (Kapichitta)) ชื่ออื่น ๆ ของถ้ำเช่น คเณศเลณ (Ganesh Lena) หรือถ้ำพระคเณศ[1]

ถ้ำหมายเลข 7 แก้

เลณยาทรีคเณศมนเทียร
(ศรีคีรีชาตมัชมนเทียร)
 
ถ้ำหมายเลข 7 เลณยาทรี
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอปูเน
เทพพระพิฆเนศ "คีรีชาตมัช" (Girijatmaja; गिरीजात्मज)
เทศกาลคเณศจตุรถี และ คเณศชยันตี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งถ้ำเลณยาทรี
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์วิหาร: คริสต์ศตวรรษที่ 1
การแปลงเป็นมนเทียร: ไม่ทราบ

สถาปัตยกรรม แก้

คเณศมนเทียรตั้งอยู่ในถ้ำหมายเลข 7 ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาการเจาะถ้ำรอบ ๆ ชุนนร (Junnar) ตั้งอยู่ที่ความสูงประมาณ 100 ฟุต (30 เมตร) จากพื้นดิน ดั้งเดิมแล้วที่นี่เป็นวิหารในศาสนาพุทธ ที่ซึ่งสงฆ์ใช้อยู่อาศัยและทำสมาธิ โถงมีความยาวราม 17.37 เมตร (57.0 ฟุต) กว้าง 15.54 เมตร (51.0 ฟุต) และสูง 3.38 เมตร (11.1 ฟุต) มีหน้าต่างอยู่ 2 บาน บานละข้างของทางเข้า[1][3] ปัจจุบันโถงนี้ใช้เป็นสภามณฑป (sabha-mandapa - โถงรวมตัว) ของมนเทียร ("assembly hall") ทางเข้ามนเทียรเข้าถึงได้ผ่านบันได 283 ขั้น[7][8] บันไดเหล่านี้เชื่อว่าเป็นตัวแทนถึงความสุขทางราคะ ที่ซึ่งพระคเณศสามารถพ้นผ่านมาได้[9]

เทวรูป แก้

 
ด้านในถ้ำหมายเลข 7
 
ด้านในมนเทียร

พระพิฆเนศที่ประดิษฐานที่นี่เรียกว่า "คีรีชาตมัช" (สันสกฤต: गिरिजात्मज) แปลว่า "เกิด (ชาตะ) แก่ภูเขา (คีรี)" ("mountain-born")[8][10] หรือ "อาตมัชแห่งคีรีชา" ("Atmaja of Girija") พระบุตรแห่งพระปารวตี ผู้ซึ่งทรงเป็นพระธิดาของหิมวาน (Himavan) บุคลาธิสถานของเทือกเขาหิมาลัย[7][8][11] เช่นเดียวกันกับอัษฏวินายกแห่งอื่น ๆ ทั้งแปดแห่ง พระคเณศแห่งคีรีชาตมัชนั้นเชื่อว่าเป็น สวยัมภู (svayambhu) คือหินที่เกิดขึ้นเป็นรูปลักษณะของพระคเณศเองตามธรรมชาติ[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Lenyadri Group of Caves, Junnar". Archaeological Survey of India official site. Archaeological Survey of India, Government of India. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 4 February 2010.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gazetteer
  3. 3.0 3.1 3.2 Edwardes, S. M. (2009). By-Ways of Bombay. The Ganesh Caves. Echo Library. pp. 34–36. ISBN 978-1-4068-5154-0. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26.
  4. Feldhaus p. 143
  5. Grimes p. 13
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ transport
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pune
  8. 8.0 8.1 8.2 Satguru Sivaya, Subramuniya (2000). "Lenyadhri Cave to Sri Girijatmaja". Loving Ganesa: Hinduism's Endearing Elephant-Faced God. Himalayan Academy Publications. pp. 278, 284. ISBN 9780945497776. สืบค้นเมื่อ 2009-11-26.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Grimes115
  10. Grimes pp. 37–8
  11. Feldhaus p. 249
  12. Grimes pp. 110–1

บรรณานุกรม แก้

19°14′34″N 73°53′8″E / 19.24278°N 73.88556°E / 19.24278; 73.88556