เลซิทิน (อังกฤษ: lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟลิพิด (phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหาร ถ้าไม่มีเลซิทินจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิทินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิทินยังมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือดอย่างแพร่หลาย

ตัวอย่างโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบกลุ่มเลซิทิน

เลซิทินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารอื่น ๆ ที่ให้เลซิทินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิทินผสมอยู่ด้วย เลซิทินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย

สารสำคัญที่พบในเลซิทิน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (phosphatidylcholine) ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิทิน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาทิดิลเอททาโนลามีน กรดลิโนเลอิก ฯลฯ

ประโยชน์ แก้

  1. ช่วยป้องกันและสลายคอเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
  2. phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
  3. ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (gall Stones)
  5. ให้สารอิโนซิทอล (inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
  6. การใช้เพื่อป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา

อ้างอิง แก้