เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์

เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ เป็นเรือนยอดตั้งอยู่ภายในพระราชวังดุสิต ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม มีจำนวน 9 ยอด ตามรัชกาล ซึ่งนับเป็นเรือนยอดที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ส่วนเรือนยอดที่มีอยู่แล้วสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเพียง 5 ยอด คือ พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทเรือนยอด
สถาปัตยกรรมศิลปะไทยร่วมสมัย
เมืองแขวงดุสิต เขตดุสิต, กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°46′16.55″ N, 100°30′50.73″ E
เริ่มสร้างพ.ศ. 2554พ.ศ. 2559
รื้อถอนพ.ศ. 2566
ในกำกับดูแลของสำนักพระราชวัง
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างเรือนโถง 9 ยอด
วัสดุโลหะทั้งหลัง
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกอัครพล คล่องบัญชี
ผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบผู้อื่นสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
ดูแลด้านการออกแบบตกแต่งภายใน
เจริญ ฮั่นเจริญ
รับผิดชอบด้านฐานล่างเรือนยอด

สำหรับเรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์มีลักษณะเป็นเรือนโถง หน้าบันทั้ง 9 ยอดจะมีพระปรมาภิไธย, พระนามาภิไธย และอักษรพระนามของทุกพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้แก่

๑.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
๒.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
๓.สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
๔.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
๕.พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
๖.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๗.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
๘.สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๙.ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

อ้างอิง แก้

  • "เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ ศิลปกรรมชิ้นเอกที่ทรงคุณค่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์". ไทยรัฐ. 2016-06-12.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°46′17″N 100°30′51″E / 13.771263°N 100.514091°E / 13.771263; 100.514091