เมทัลลิกา

วงเฮฟวีเมทัลจากสหรัฐอเมริกา
(เปลี่ยนทางจาก เมทัลลิก้า)

เมทัลลิกา (อังกฤษ: Metallica) เป็นวงเฮฟวี่เมทัลสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1981 ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เมทัลลิกาได้เริ่มขึ้นเมื่อเจมส์ เฮตฟีลด์ (ร้องนำ/กีตาร์หลัก) ได้เข้าร่วมวงตามประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของลาร์ส อุลริก (กลองชุด) กระทั่งในเวลาต่อมาก็มีสมาชิกเพิ่มเข้ามาอีก 2 คน คือ เดฟ มัสเทน (กีตาร์หลัก) และ รอน แม็คกอฟนีย์ (เบส) ต่อมารอน แม็คกอฟนีย์ ถูกไล่ออกจากวง ทางวงได้ คลิฟฟ์ เบอร์ตันมาแทนที่ และต่อมา เดฟ มัสเทน ก็ถูกไล่ออกจากวงเช่นกัน ทางวงได้ตัว เคิร์ก แฮมเมตต์ จากวงเอ็กโซดัส มาแทนที่ในตำแหน่งกีตาร์หลัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1986 คลิฟฟ์ เบอร์ตัน ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ต เจสัน นิวสเตด จากวงโฟลตซัม แอนด์ เจทซัม ได้เข้ามาแทนที่ในตำแหน่งมือเบสของวง เจสัน นิวสเตด ได้ลาออกจากวงในปี ค.ศ. 2001 และถูกแทนที่โดยโรเบิร์ต ทรูฮีโย อดีตมือเบสของออซซี ออสบอร์น จนถึงปัจจุบัน

เมทัลลิกา
เมทัลลิกาในคอนเสิร์ตที่กรุงลอนดอน ปี ค.ศ. 2008
(จากซ้าย-ขวา:เคิร์ก แฮมเมตต์, ลาร์ส อุลริช, เจมส์ เฮตฟีลด์ และโรเบิร์ต ทรูฮีโย)
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดสหรัฐ ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลง
ช่วงปีค.ศ. 1981-ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิกเจมส์ เฮตฟีลด์
เคิร์ก แฮมเมตต์
โรเบิร์ต ทรูฮีโย
ลาร์ส อุลริก
อดีตสมาชิกรอน แม็คกอฟนีย์
เดฟ มัสเทน
คลิฟฟ์ เบอร์ตัน
เจสัน นิวสเตด
เว็บไซต์Metallica.com

วงได้นำเสนอการบรรเลงดนตรีด้วยเทคนิคที่ก้าวร้าวและจังหวะอันรวดเร็ว ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในวงผู้บุกเบิกและมีอิทธิพลอย่างสูงต่อวงการแทรชเมทัล หรือที่รู้จักกันดีในกลุ่ม "บิ๊กโฟว์"[1] ที่ประกอบไปด้วยวงแทรชเมทัลอื่นอีก 3 วงคือ สเลเยอร์ เมกาเดธ และแอนแทรกซ์ เมทัลลิกา เริ่มต้นจากการเป็นเพียงวงดนตรีใต้ดิน สู่การประสบความสำเร็จระดับหนึ่งใน 4 อัลบั้มแรก โดยเฉพาะในอัลบั้มที่ 3 Master of Puppets (ค.ศ. 1986) ที่รับการยกย่องให้เป็น "หนึ่งในอัลบั้มที่ทรงอิทธิพลและหนักที่สุดอัลบั้มหนึ่งในวงการแทรชเมทัล" วงยังคงเดินหน้าปูชื่อเสียงและผลสำเร็จในอัลบั้มที่ 5 คืออัลบั้ม Metallica หรือที่รู้จักกันในชื่อ อัลบั้มดำ (Black album) (ค.ศ. 1991) ซึ่งได้ผลตอบรับอย่างสูงจากแฟนคลับ ด้วยการขึ้นชาร์ตอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 นับตั้งแต่เปิดตัว ภายหลังการปล่อยอัลบั้มดำ 3 อัลบั้มต่อมา คือ Load (ค.ศ. 1996) Reload (ค.ศ. 1997) และ St. Anger (ค.ศ. 2003) วงได้ลดความเป็นแทรชเมทัลลง จนในท้ายสุดวงได้ออกอัลบั้ม Death Magnetic (2008) ซึ่งถือเป็นการกลับสู่แนวแทรชเมทัลอีกครั้งของวง และในปี ค.ศ. 2009 เมทัลลิกาก็ได้รับการยกเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล

เมทัลลิกาได้ออกสตูดิโออัลบั้มมาแล้วทั้งหมด 9 อัลบั้ม อัลบั้มแสดงสด 4 อัลบั้ม ส่วนเพิ่มเติมอีก 5 มิวสิกวิดีโอ 26 วิดีโอ และ 37 ซิงเกิล วงได้รับรางวัลแกรมมีถึง 8 รางวัล และ 5 อัลบั้มจากทั้งหมดของวง ล้วนสามารถไต่ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 1 บนบิลบอร์ด 200 โดยเพียงแค่ อัลบั้มดำ หรือ อัลบั้ม เมทัลลิกา สามารถจำหน่ายได้กว่า 16 ล้านชุดในสหรัฐ ทำให้กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่แห่งยุคในระบบนีลเซน ซาวด์สแกน นอกจากนี้วงยังเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดจำหน่ายอัลบั้มโดยรวมสูงที่สุดตลอดกาล ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 110 ล้านชุดทั่วโลก[2] เมทัลลิกายังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในศิลปินวงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากหลายนิตยสาร รวมถึงนิตยสารโรลลิงสโตน ซึ่งได้จัดอันดับที่ 61 ในหัวข้อ "100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[3] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 เมทัลลิกาได้กลายเป็นศิลปินที่มียอดจำหน่ายโดยรวมในระบบนีลเซน ซาวด์สแกน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 นับตั้งแต่จำหน่ายในปี ค.ศ. 1991 ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 54.26 ล้านอัลบั้มในสหรัฐที่เดียว[4][5] ในปี ค.ศ. 2016 วงได้มีการเตรียมออกอัลบั้มที่ 10 ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวภายหลังปีนั้น[6]

ประวัติ แก้

ก่อตั้งและช่วงปีแรก แก้

 
โลโก้ของเมทัลลิกา ใช้ในช่วงอัลบั้มแรกและรวมถึงอัลบั้มที่ 9 ในชื่อ Death Magnetic รวมถึง กีตาร์ฮีโร่:เมทัลลิกา

เมทัลลิกาได้ก่อขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1981 เมื่อ ลาร์ส อุลริก มือกลองสัญชาติเดนมาร์ก ได้ติดประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งนามว่า "เดอะรีไซเคลอร์" (The Recycler) โดยมีการพาดข้อความไว้ว่า "มือกลองกำลังหานักดนตรีแนวเมทัล แบบวงไทเกอรส์ออฟแพนแทง (Tygers of Pan Tang), ไดมอนเฮด (Diamond Head) และไอเอิร์นเมเดน"[7] จนในที่สุดก็ได้ เจมส์ เฮตฟีลด์ และ ฮิวจ์ แทนเนอร์ (Hugh Tanner) จากวง ลีเทอร์ชาร์ม ตอบรับ อุลริก ได้ทำหน้าที่ติดต่อไปยังหัวหน้าค่ายเพลงเมทัลเบลด นามว่า ไบรอัน สลาเกล (Brian Slagel) ถึงการบันทึกเสียงเพลงให้กับค่าย ในอัลบั้มโปรเจกต์อัลบั้มรวบรวมเพลง ที่ชื่อว่า เมทัลมาสซาเคอ (Metal Massacre) ซึ่งในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักในฐานะอัลบั้มรวมเพลงที่แจ้งเกิดให้กับวงเมทัลที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันหลายวง สลาเกลได้ตอบรับและอุลริกก็ได้จ้างเฮตฟีลด์ทำหน้าที่ในฐานะร้องนำและมือริทึมกีตาร์[7] วงได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการอย่างแท้จริงในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1981 ห้าเดือนภายหลังการพบกันครั้งแรกของอุลริกและเฮทฟิลด์[8]

อุลริกได้พูดคุยกับรอน ควินตานา (Ron Quintana) เพื่อนของเขา เพื่อช่วยกันระดมคิดชื่อ ในที่สุดก็ได้ชื่อให้เลือกมา 2 ชื่อ คือ เมทัลมาเนีย (MetalMania) และเมทัลลิกา อุลริกจึงตัดสินใจเลือกเมทัลลิกา ในเวลาต่อมาอุลริกในลงโฆษณาอีกรอบในเดอะไซเคลอร์ เพื่อหามือกีตาร์หลัก จนเดฟ มัสเทน ได้ตอบรับข้อเสนอ ในปี ค.ศ. 1982 เมทัลลิกาได้บันทึกเสียงครั้งแรกคือ Hit the Lights ให้กับ เมทัลมาสซาเคอที่หนึ่ง (Metal Massacre I) เฮทฟิลด์ทำหน้าที่มือเบสในเพลงและลอยด์ แกรนต์ (Lloyd Grant) ทำหน้าที่โซโล่กีตาร์[7] อัลบั้มได้เปิดตัวในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 แต่ในช่วงแรกอัลบั้มได้ใส่ชื่อวงผิดคือใส่ตัว "t" เพิ่มไปหนึ่งตัว (Mettallica)[9] ทำให้สมาชิกวงฉุนเฉียวไปพอสมควร วงได้แสดงสดครั้งแรกในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1982 ที่เมืองเรดิโอ ในอนาไฮม์ แคลิฟอร์เนีย โดยได้ว่าจ้าง รอน แม็คกอฟนีย์ ทำหน้าที่มือเบส[10] ซึ่งคอนเสิร์ตครั้งนี้ก็ทำให้วงได้สัมผัสผลสำเร็จตั้งแต่แรก จนวงได้รับการรับเลือกให้วงร่วมบรรเลงในทัวร์คอนเสิร์ตสหรัฐปี ค.ศ. 1982 ของวงสัญชาติอังกฤษ "แซกซอน" (Saxon) เมทัลลิกาได้บันทึกเสียงครั้งแรกในรูปแบบเดโม ในชื่อ Power Metal

อ้างจากนิตยสารเคอร์แรง! ฉบับที่ 62 หน้าที่ 8 ความหมายของคำว่า "แทรชเมทัล" ได้เกิดขึ้นโดย มัลคอล์ม โดม (Malcolm Dome) นักข่าวจากนิตยสารเคอร์แรง! เพื่ออธิบายแนวเพลง "Metal Thrashing Mad" ของแอนแทรกซ์[11] แต่โดยก่อนหน้านี้ เฮตฟีลด์ ได้อ้างถึงเมทัลลิกา ว่าดนตรีของพวกเขาเป็นแนวพาวเวอร์เมทัล ในช่วงปลาย ค.ศ. 1982 อุลริกและเฮตฟีลด์ ได้เข้าไปชมการแสดงที่ "Whisky a Go Go" ไนท์คลับแห่งหนึ่งในย่านฮอลลีวูดฝั่งตะวันตก และได้พบกับคลิฟฟ์ เบอร์ตัน มือเบสแห่งวงทรอมา (Trauma) จนพวกเขารู้สึกประทับใจในทักษะของเขา และได้ขอให้เขาร่วมวง ซึ่งเฮตฟีลด์และมัสเทนต้องการให้แม็คกอฟนีย์ ออกจากวงเนื่องจากพวกเขาคิดว่าแม็คกอฟนีย์ "ไม่ได้มีส่วนร่วมสร้างในดนตรีของพวกเขาเลย นอกจากจะเป็นผู้ตามอย่างเดียว"[12] แม้ว่าในตอนแรกเบอร์ตันจะปฏิเสธข้อเสนอ แต่ภายหลังสิ้นปีเขาก็ตอบรับ วงได้แสดงคอนเสิร์ตร่วมกับเบอร์ตันครั้งแรกที่ไนท์คลับ "เดอะสโตน" (The Stone) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1983 และบันทึกเสียงร่วมกับเบอร์ตันครั้งแรกในเดโม Megaforce demo (1983)[12]

เมทัลลิกา ได้เตรียมพร้อมที่ออกอัลบั้มแรกของพวกเขา แต่ทางค่ายเมทัลเบลดไม่มีงบเพียงพอ วงจึงต้องหาทางเลือกอื่นด้วยการพบ จอห์นนี "แซด" ซาซูลา นักโปรโมตคอนเสิร์ต ซึ่งเขาเป็นตัวแทนเสนอทำสัญญาระหว่างเมทัลลิกาและค่ายเพลงต่างๆในนิวยอร์ก แต่ภายหลังเหล่าค่ายเพลงชมคอนเสิร์ตของพวกเขาแล้วกลับไม่สนใจ ซาซูลาจึงได้หาวิธีอื่นด้วยการขอยืมเงินจนเพียงพอต่องบประมาณและได้เซ็นสัญญากับค่ายของเขาเองในชื่อ "เมกาฟอร์ซเรเคิดส์" (Megaforce Records)[13]

คิลเอมออล และ ไรด์เดอะไลท์นิง (ค.ศ. 1983–85) แก้

 
เดฟ มัสเทน ได้ย้ายไปตั้งวงแข่งกับเมทัลลิกา ในชื่อ "เมกาเดธ" ภายหลังถูกขับออกจากวงในปี ค.ศ. 1983

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1983 สมาชิกเมทัลลิกาได้เดินทางไปยัง โรเชสเตอร์, นิวยอร์ก เพื่อทำการบันทึกเสียงอัลบั้มแรก Metal Up Your Ass ซึ่งได้พอล เคอร์คิโอ (Paul Curcio) เป็นโปรดิวเซอร์[14] สมาชิกคนอื่นๆได้ตกลงกันให้มัสเทนออกจากวงเพราะเขาเสพยา ติดแอลกอฮอล์ รวมถึงไปถึงมีพฤติกรรมรุนแรง นับเป็นการขับไล่เขาออกจากวง ภายหลังเพิ่งบันทึกเสียงเสร็จในวันที่ 11 เมษายน 1983[15] และได้เคิร์ก แฮมเมตต์ จากวงเอ็กโซดัส มาแทนที่เขาในวันนั้นเอง[13]

มัสเทน ได้ย้ายไปตั้งวงเองในชื่อ "เมกาเดธ" เขาเคยกล่าวในบทสัมภาษณ์ว่า เขาไม่ชอบแฮมเมตต์ ที่ทำให้เขาต้องออกจากวง โดยเขาใช้คำว่า "ขโมย" งานเขา[16] มัสเทนรู้สึก "โกรธ" เพราะเขาเชื่อว่าแฮมเมตต์ ที่ต่อมาโด่งดังในฐานะตำแหน่งมือกีตาร์หลัก แต่เพลง เป็นเพลงที่มัสเทนแต่ง[17] ในบทสัมภาษณ์ปี ค.ศ. 1985 กับนิตยสาร "เมทัลฟอร์ซเซส" (Metal Forces) มัสเทนได้กล่าวว่า "มันฟังดูแล้วตลกว่าทำไมเคิร์ก แฮมเมตต์เข้ามาชิงทุกๆอย่างที่ผมเล่นในเทป No Life 'til Leather และไปโหวตให้เขาเป็นมือกีตาร์อันดับ 1 ในนิตยสารของคุณ"[18] ในอัลบั้มเปิดตัวของเมกาเดธ Killing Is My Business... and Business Is Good! (1985) มัสเทนได้กล่าวว่าซิงเกิล "Mechanix" เมทัลลิกานำงานของเขากลับไปทำใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น "The Four Horsemen" ในอัลบั้ม คิลเอมออล มัสเทนยังได้กล่าวอีกว่าที่พูดเช่นนี้เพื่อต้องการ "เน้นย้ำเมทัลลิกา" เพราะเมทัลลิกาเห็นว่าเขาดื่มเยอะและดูท่าว่าไม่สามารถเล่นกีตาร์ได้[18] เมทัลลิกาได้แสดงสดครั้งแรกร่วมกับแฮมเมตต์ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1983 ที่ เดอะโชว์เพลส (The Showplace) ไนท์คลับในเมืองโดเวอร์ รัฐนิวเจอร์ซีย์[12] โดยมีแดน ลิลเคอร์ (Dan Lilker) และนีล เทอร์บิน (Neil Turbin) สมาชิกวงแอนแทรกซ์เข้าร่วมเล่นด้วย[19] และนี่จึงเป็นครั้งแรกที่ 2 วงได้ร่วมแสดงสดด้วยกัน[12]

เนื่องจากปัญหาเรื่องชื่อของอัลบั้ม ที่ทางค่ายปฏิเสธใช้ชื่อ Metal Up Your Ass อัลบั้มจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Kill 'Em All อัลบั้มได้เปิดตัวในนามค่ายเมกาฟอร์ซเรเคิดส์ในสหรัฐและในยุโรป และสามารถไต่ชาร์ตในอันดับที่ 155 บนบิลบอร์ด 200 เป็นผลสำเร็จในปี 1986[20][1] แม้ว่าอัลบั้มจะไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินมากก็ตาม แต่ก็สามารถสร้างฐานแฟนคลับได้จำนวนหนึ่งในบรรดาวงเมทัลใต้ดิน[21]

 
อนุสรณ์สถานของเบอร์ตันใกล้พื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุปี 1986

เมทัลลิกาได้บันทึกเสียงสตูดิโออัลบั้มที่ 2 Ride the Lightning ที่สตูดิโอสวีทไซเลน ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งได้เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 1984 และไต่ขึ้นชาร์ตด้วยอันดับที่ 100 บนบิลบอร์ด 200 โดยตอนแรก หน้าปกอัลบั้มได้พิมพ์สีผิด โดยไปพิมพ์เป็นสีเขียว จนบัดนี้ถือเป็นของสะสมสำหรับนักสะสมเพลงซึ่งหาได้ยาก อัลบั้มนี้ยังได้ใส่เครดิตมัสเทนในซิงเกิล "Ride the Lightning" และ "The Call of Ktulu" ด้วย

ไมเคิล อลาโก (Michael Alago) ผู้อำนวยการค่ายเพลงอิเล็กตรา (Elektra Records) และเอแอนด์อาร์ (A&R) และคลิฟฟ์ เบิร์นสไตน์ (Cliff Burnstein) ผู้ร่วมก่อตั้ง คิวไพรม์แมเนจเมนท์ (Q-Prime Management) ได้มารับชม เมทัลลิกาแสดงคอนเสิร์ตในเดือนกันยายน ค.ศ. 1984 ซึ่งพวกเขารู้สึกประทับใจในการแสดงสด และได้เซ็นสัญญากับค่ายอิเล็กตรา[22] ซึ่งทำให้พวกเขาเริ่มประสบผลสำเร็จในยอดขายขึ้นบ้าง วงได้แสดงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ ที่งาน "มอนสเตอร์สออฟร็อก" (Monsters of Rock) ณ สวนโดนิงตัน (Donington Park) ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1985 ได้ร่วมงานกับบอน โจวี และวงแรตต์ โดยมีผู้คนเข้าชมกว่า 70,000 คน ในเทศกาลดนตรี "เดย์ออนเดอะกรีน" (Day on the Green) ที่โอ๊คแลนด์ แคลิฟอร์เนีย[22]

มาสเตอร์ออฟพัพเพทส์ และการเสียชีวิตของเบอร์ตัน (ค.ศ. 1986-87) แก้

เมทัลลิกาได้ออกสตูดิโออัลบั้มที่ 3 ในชื่อ มาสเตอร์ออฟพัพเพทส์ (Master of Puppets) ซึ่งได้ทำการบันทึกเสียงที่สตูดิโอสวีทไซเลนซ์และเปิดตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1986 อัลบั้มสามารถไต่ขึ้นชาร์ตที่ 29 บนบิลบอร์ด 200 เป็นผลสำเร็จ และอยู่บนชาร์ตนานกว่า 72 สัปดาห์[23] อัลบั้มนี้นับว่าเป็นอัลบั้มแรกของวงที่ได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายระดับทองคำจาก สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ (RIAA) ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 และยืนยันในระดับ 6× แผ่นเสียงทองคำขาว ในปี ค.ศ. 2003[24] สตีฟ ฮิวอี (Steve Huey) จากออลมิวสิก ได้ยกย่องอัลบั้มนี้ว่า "เป็นอัลบั้มเมทัลลิกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"[25] ตามมาด้วยการทัวร์คอนเสิร์ตสหรัฐที่มีออซซี ออสบอร์นร่วมเสริม[22]

ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1986 ในระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตภายใต้ชื่อ Damage, Inc. Tour สมาชิกได้ทำการจับสลากเพื่อเลือกที่นอนในรถทัวร์ ผลปรากฏว่าเบอร์ตันชนะได้นอนในที่ของแฮมเมตต์ ตกช่วงดวงอาทิตย์กำลังขึ้นใกล้กับเมือง โดราร์ป ประเทศสวีเดน ขณะนั้นเองคนขับรถบัสได้สูญเสียการควบคุมและลื่นไถล จนทำให้ตัวรถหมุนหลายครั้ง ผลจากอุบัติเหตุครั้งนี้ อุลลิช แฮมเม็ตต์ และเฮทฟิลด์ แทบไม่ได้รับการบาดเจ็บสาหัสใดเลย แต่เบอร์ตัน กลับเสียชีวิตคาที่

การเสียชีวิตของเบอร์ตันได้ทำให้อนาคตของเมทัลลิกาเปลี่ยนไป สมาชิกทั้ง 3 ที่เหลือได้ตัดสินใจว่าจะเล่นวงต่อไป โดยเชื่อว่าเบอร์ตันคงให้พวกเขาคิดเช่นนี้ และรวมถึงคนในครอบครัวของเขาเองก็ขอให้หาคนมาแทนในตำแหน่งเขาด้วย[26] วงได้ทำการเลือกผู้สมัครกว่า 40 คน ซึ่งรวมถึงเพื่อนวัยเด็กของแฮ็มเมตต์ นามว่า เลส เคลย์พูล (Les Claypool) จากวงไพรมัส ทรอย เกรกอรี (Troy Gregory) จากวงพรอง และเจสัน นิวสเตด อดีตสมาชิกวงโฟลตซัม แอนด์ เจทซัม จนในที่สุดผลการคัดเลือกนิวสเตด มาแทนที่เบอร์ตัน ในตำแหน่งมือเบส เขาได้ร่วมคอนเสิร์ตกับเมทัลลิกาครั้งแรกที่ คันทรีคลับ ในเมืองเรเซดา รัฐแคลิฟอร์เนีย[26]

เมทัลลิกาได้เสร็จสิ้นการทัวร์ในช่วงต้นเดือนปี ค.ศ. 1987 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1987 ได้มีการออกหน้าปกอีพี The $5.98 E.P.: Garage Days Re-Revisited สู่ตลาด ด้วยจุดประสงค์ที่จะบันทึกเสียงด้วยโครงสร้างเพลงใหม่ และยังเป็นการทดสอบนิวสเตดในการบันทึกเสียงครั้งแรก รวมถึงเป็นการไว้อาลัยต่อการจากไปของเบอร์ตันอีกด้วย โดยวีดิโอ Cliff 'Em All ซึ่งเป็นการไว้อาลัย ชีวิต 3 ปีในเมทัลลิกาของเบอร์ตัน เปิดตัวในปี ค.ศ. 1987 ภายในวีดิโอ ได้รวบรวมการโซโล่กีตาร์เบส และภาพส่วนตัวต่างๆของเขา[27]

...แอนด์จัสติสฟอร์ออล และ เมทัลลิกา (ค.ศ. 1988–93) แก้

นับเป็นการออกสตูดิโออัลบั้มครั้งแรกนับตั้งแต่การเสียชีวิตของเบอร์ตัน ในชื่อ ...แอนด์จัสติสฟอร์ออล (...And Justice for All) ซึ่งได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 1988 อัลบั้มได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยการไต่ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 6 บนบิลบอร์ด 200 และยังนับเป็นอัลบั้มแรกของวงที่ติดท็อป 10 บนชาร์ตอีกด้วย[28] อัลบั้มได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายระดับแพลตตินัมถึง 9 สัปดาห์ ภายหลังเปิดตัว[29] อัลบั้มมีกลิ่นอายในเสียงเบสของนิวสเตดที่ดูเบาบางลง รวมถึงการลดไอเดียในดนตรีของเขาลงด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาก็ได้รับเครดิตส่วหนึ่งในซิงเกิล Blackened อัลบั้มนี้ยังได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายสำนักเช่น สตีฟ ฮิวอี จากออลมิวสิก ว่าเสียงกลองและกีตาร์ที่ดูเบาลงไป[30] สำหรับการโปรโมตอัลบั้ม เมทัลลิกา ได้จัดทำทัวร์ภายใต้ชื่อ "Damaged Justice"[31]

 
เมทัลลิกาขณะกำลังแสดงสดในทัวร์ Damaged Justice ปี ค.ศ. 1988

ในปี ค.ศ. 1989 เมทัลลิกา ได้รับการเสนอชื่อรางวัลแกรมมีครั้งแรก ในอัลบั้ม ...And Justice for All หัวข้อ "เสียงร้องและเครื่องดนตรีแนวฮาร์ดร็อก/เมทัล ดีที่สุด" แต่ก็พลาด ในส่วนของรางวัลตกไปอยู่กับวงเจโทร ทรัล ในอัลบั้ม Crest of a Knave[32] ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนคลับของเมทัลลิกาพอสมควร จนรางวัลครั้งนี้ในโผ "10 รางวัลแกรมมีที่น่าผิดหวังที่สุด" จากนิตยสาร เอนเตอร์เทนเมนต์วีคลี[33]

ภายหลังการเปิดตัว ...And Justice for All เมทัลลิกายังได้เปิดตัวมิวสิกวิดีโอ ในซิงเกิล "One" ซึ่งแสดงให้เห็นภาพการแสดงสดในโกดังร้างแห่งหนึ่ง รวมกับฉากในภาพยนตร์แนวสงคราม Johnny Got His Gun มิวสิกวิดีโอนี้ยังได้รับการโหวตในอันดับที่ 38 บนหัวข้อ "สุดยอด 100 มิวสิกวีดิโอตลอดกาล" จากเอ็มทีวี ปี ค.ศ. 1999 อีกด้วย[34][35] และได้คัดเลือกให้อยู่ ADD Video ในโอกาสเฉลิมฉลอง 25 ปี ซึ่งรวบรวมวีดิโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอ็มทีวีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา[36]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 เมทัลลิกา ได้เริ่มเข้าบันทึกเสียงอัลบั้มถัดไปที่สตูดิโอ 17 เฮิร์ตซ์ ย่านฮอลลีวูดเหนือ โดยทางวงได้จ้างบ็อบ ร็อก ผู้ซึ่งเคยทำงานกับ แอโรสมิธ เดอะคัลท์ บอน โจวี และมอตลีย์ครูว์ ทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ ในอัลบั้มใหม่นี้มีชื่อว่า เมทัลลิกา หรือ อัลบั้มดำ (The Black Album) (ที่มาของชื่อคือสีของหน้าปกที่ดำเกือบสนิท) ซึ่งเป็นอัลบั้มที่มีการรีมิกซ์ถึง 3 ครั้ง และใช้งบประมาณเกือบ 1 ล้านดอลลาร์[37] แม้ว่าการเปิดตัวจะล่าช้าไปบ้าง แต่อัลบั้มก็สามารถเปิดตัวด้วยการขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศ โดยทำยอดจำหน่ายได้สูงกว่า 650,000 ชุดในสหรัฐอเมริกาเพียงแค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น[38] อัลบั้มนี้ยังผลักดันให้เกิดกระแสแฟนคลับที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ด้วยการยืนยอดจำหน่ายระดับ 16× แผ่นเสียงทองคำขาวในสหรัฐ ทำให้กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาลในสหรัฐ ในอันดับที่ 25[39] วงได้ทำการทัวร์ครั้งที่ 5 ในชื่อ Wherever We May Roam Tour จนเมื่อจบทัวร์ได้ 14 เดือนเมทัลลิกาได้ออกสารคดีในชื่อ A Year and a Half in the Life of Metallica[37] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1992 เมทัลลิกายังได้ร่วมคอนเสิร์ตรำลึกเฟรดดี้ เมอร์คิวรีในชื่อ "The Freddie Mercury Tribute Concert" เฮตฟีลด์ได้ร่วมเล่นเพลง "Stone Cold Crazy" กับสมาชิกวงที่เหลือของวงควีน และโทนี อิออมมีอีกด้วย[40]

ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1992 ในระหว่างร่วมคอนเสิร์ตกับวงกันส์แอนด์โรสเซส ในชื่อ "Guns N' Roses/Metallica Stadium Tour" เฮตฟีลต์ ได้รับบาดเจ็บจากไฟประกอบเอ็ฟเฟกต์ ทั้ง บริเวณแขน หน้า มือ และขา ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดตอนตั้งค่าไฟเอ็ฟเฟกต์ ทำให้เฮตฟีลต์เดินเข้าไปในจุดที่จุดไฟ สูงกว่า 12 ฟุต (3.7 เมตร) ระหว่างกำลังเล่น "Fade to Black" นิวสเตดได้บรรยายภาพว่า ผิวหนังของเขา "เดือดๆพองๆ แบบในภาพยนตร์ The Toxic Avenger"[41] จอห์น มาร์แชลล์ (John Marshall) มือกีตาร์เทคนิค ซึ่งก่อนหน้าทำหน้าที่เป็นมือริทึมกีตาร์และได้ไปอยู่กับวงเมทัลเชิร์ช (Metal Church) ได้รับหน้าที่แทนเฮตฟีลต์ตลอดทัวร์ สำหรับอาการของเฮตฟีลต์ ทำให้ไม่สามารถเล่นกีตาร์ได้ แม้ว่าเขาจะสามารถร้องได้ปกติก็ตาม ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 เมทัลลิกา ได้ทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ "Nowhere Else to Roam" ซึ่งเล่นในเม็กซิโกซิตี ถึง 5 ครั้ง วงได้ออกบ็อกเซตครั้งแรกในชื่อ Live Shit: Binge & Purge ซึ่งเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1993 ประกอบด้วย 3 ซีดีแสดงสด 3 โฮมวีดิโอ และหนังสือ[41]

โหลด, รีโหลด, การาจอิงค์. และ เอสแอนด์เอ็ม (ค.ศ. 1994–99) แก้

ภายหลังการทัวร์คอนเสิร์ตเพื่อโปรโมตอัลบั้ม เมทัลลิกา แล้ว เมทัลลิกาได้มุ่งหน้าสู่การแต่งเพลงและอัดเสียงในสตูดิโอในอัลบั้มถัดไป โดยในระหว่างอัดสตูดิโอในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1995 วงได้จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้งสั้นๆ ที่สนามแข่งรถดอนิงตันพาร์ก ร่วมกับวง สเลเยอร์, สคิดโรว์, สแลชสเนคพิต, เทอราพี? และ คอร์รอสชันออฟคอนฟอร์มิที วงใช้เวลากับการบันทึกเสียงใหม่นานหนึ่งปี และได้เปิดตัวอัลบั้มที่ 6 ในชื่อ โหลด (Load) ในปี ค.ศ. 1996 อัลบั้มยังคงความสำเร็จด้วยการขึ้นชาร์ตอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 และชาร์ตออสเตรเลีย (ARIA) ซึ่งยังนับเป็นอัลบั้มที่ 2 ของวงที่สามารถไต่ชาร์ตในอันดับที่ 1 เป็นผลสำเร็จ ในส่วนของหน้าปกอัลบั้ม มีชื่อว่า "Blood and Semen III" สร้างสรรค์ขึ้นโดยแอนเดรส เซอร์ราโน (Andres Serrano) เป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับ การผสมปนเลือดและน้ำอสุจิระหว่างกระจก 2 บาน[42] การปล่อยอัลบั้มครั้งนี้ยังนับเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์วงใหม่ ทั้งดนตรีที่ลดความเบาและทิ้งห่างจากแทรชเมทัลลง รวมถึงการไว้ยาวของสมาชิกที่ได้เปลี่ยนไปตัดผมสั้นแทน

ในช่วงการออกอัลบั้มถัดต่อจากนี้ ก่อนหน้านี้วงได้มีการบันทึกเสียงบางส่วนเพิ่มเติมในอัลบั้ม Load มาบ้างแล้ว ทำให้ในปีต่อมาก็ได้ออกอัลบั้มภาคต่อในชื่อ รีโหลด (Reload) พร้อมกับหน้าปกที่มีความคล้ายคลึงกับก่อนหน้านี้มาก ซึ่งออกแบบโดยศิลปินคนเดิม แต่หน้าปกได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเป็นในเรื่องของการผสมระหว่างปัสสาวะและเลือด รีโหลด สามารถไต่ขึ้นชาร์ตด้วยอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 และขึ้นอันดับ 2 ในชาร์ตแคนาดา สำหรับการโปรโมตอัลบั้ม เมทัลลิกาได้มีการเล่นซิงเกิลจาก Reload 2 เพลงคือ "Fuel" และ "The Memory Remains" ร่วมกับแมริแอนน์ เฟธฟูลล์ (Marianne Faithfull) ในรายการ Saturday Night Live ช่องเอ็นบีซี ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997[43]

ในปี ค.ศ. 1998 เมทัลลิกาได้ทำอัลบั้มรวมเพลง ในชื่อ การาจอิงค์ (Garage Inc.) ซึ่งประกอบด้วยเพลงคัฟเวอร์จากหลายศิลปินเช่น ไดมอนเฮด, คิลลิงโจ๊ก, มิสฟิตส์, ทินลิซซี, เมอร์ซีฟูลเฟต, แบล็กซับบาธ เป็นต้น และส่วนของ The $5.98 E.P.: Garage Days Re-Revisited เวอร์ชันเดิมในรูปแบบอีพีมาใส่ในอัลบั้มนี้ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นของสะสมที่หาได้ยากในปัจจุบัน อัลบั้มนี้สามารถไต่บนบิลบอร์ดชาร์ต 200 ด้วยอันดับที่ 2[43][44]

ในวันที่ 21 และ 22 เมษายน ค.ศ. 1999 เมทัลลิกาได้บันทึกการแสดงสดร่วมกับ "ซานฟรานซิสโกซิมโฟนี" นำโดยวาทยกรไมเคิล คาเมน (Michael Kamen) ผู้ซึ่งเคยทำงานร่วมกับร็อกมาก่อนใน ซิงเกิล "Nothing Else Matters" คาเมน ได้รับการทาบทามเข้าร่วมกับเมทัลลิกา ใน ค.ศ. 1991 กับไอเดียในการดนตรีของวงมาร่วมกับซิมโฟนีออร์เคสตรา คาเมน และทีมงานของเขาได้เรียบเรียงเครื่องดนตรีเพิ่มกว่า 100 เครื่อง เมทัลลิกาแต่งเพลงใหม่ 2 เพลง คือ "No Leaf Clover" และ "-Human" การบันทึกและจัดคอนเสิร์ตได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1999 ในอัลบั้มสดและภาพยนตร์คอนเสิร์ต S&M ซึ่งสมารถไต่ขึ้นบิลบอร์ด 200 ด้วยอันดับที่ 2 และออสเตรเลียนชาร์ต (ARIA) และท็อปอินเทอร์เน็ตชาร์ต ด้วยอันดับ 1[28]

ข้อพิพาทกับแนปสเตอร์, การออกจากวงของนิวสเตดและ เซนต์แอนเจอร์ (ค.ศ. 2000–05) แก้

 
เมทัลลิกาขณะกำลังแสดงสดในระหว่างการทัวร์ Madly in Anger with the World Tour ในปี ค.ศ. 2004

ในปี ค.ศ. 2000 เมทัลลิกาพบว่าเดโมของซิงเกิล "I Disappear" ซึ่งจะเปิดตัวพร้อมกับซาวด์แทร็กในภาพยนตร์ ฝ่าปฏิบัติการสะท้านโลก 2 ได้ถูกนำมาอากาศทางวิทยุก่อน ทำให้วงได้ติดตามการรั่วไหลของซิงเกิลนี้ จนพบว่าไฟล์ต้นฉบับมาจากเว็บไซด์แชร์ดนตรี แนปสเตอร์ (Napster) และยังได้พบว่าไฟล์ในหมวดหมู่ของเมทัลลิกายังปล่อยให้โหลดอย่างอิสระ[45] จึงเกิดการฟ้องร้องขึ้นกับแนปสเตอร์ ผ่านทางศาลกลางแห่งแคลิฟอร์เนีย ทางโจทก์ได้กล่าวหาว่าแนปสเตอร์ได้ล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ การออกอากาศผ่านระบบดิจิทัลอย่างผิดกฎหมาย และการใช้อิทธิพล หลอกลวงทางสื่อมีเดีย[46]

ข้อยุติระหว่างแนปสเตอร์และเมทัลลิกาได้สิ้นสุดลงเมื่อ บริษัทเบอร์เทลสมันน์ (Bertelsmann) จากเยอรมัน ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับแนสเตอร์เป็นจำนวน 94 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ข้อยุติ แนปสเตอร์ได้ยินยอมบล็อกผู้ใช้ที่ทำการแชร์ข้อมูลดนตรีของศิลปินที่ไม่ต้องการให้แชร์ดนตรีของพวกเขา[47] ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2002 แนปสเตอร์ได้ทำการยื่นข้อกฎหมายบทที่ 11 ภายใต้กฎหมายล้มละลายสหรัฐฯ จนในที่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2012 ผู้พิพากษาแห่งศาลล้มละลายได้ทำการบล็อกการค้าขายระหว่าง แนปสเตอร์และเบอร์เทลสมันน์ และแนปสเตอร์ต้อง จ่ายหนี้สินทั้งหมดจากข้อกฎหมายบทที่ 7 ภายใต้กฎหมายล้มละลายสหรัฐฯ[48] ทำให้ปัจจุบันแนปสเตอร์กลายเป็นเว็บไซด์ที่บริการเสียเงิน จากเดิมที่ปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรี

นิวสเตด ได้ออกจากวงในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2001 ด้วยเหตุผลส่วนตัว และรู้สึกเพียงพอแล้วกับงานดนตรีกว่าหลายปี[49] ในบทสัมภาษณ์ของนิตยสารเพลย์บอยกับเมทัลลิกา นิวสเตดได้กล่าวว่า เขาต้องการที่จะไปทำอัลบั้มข้างนอก (Side Project) เองในชื่อ เอคโคเบรน (Echobrain) ทำให้ในเวลาต่อมาเฮตฟีลด์ ก็ได้ออกมากล่าวว่า "การที่ใครจะทำไซด์โปรเจกต์เท่ากับต้องการออกจากเมทัลลิกาไปแล้ว" และเปรียบเทียบการทำไซด์โปรเจกต์ว่าเหมือนเป็นการ "ขโมยภรรยา"[50]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2001 ได้มีการจัดทำสารคดีเกี่ยวกับการจัดทำอัลบั้มต่อไป โดยมี โจ เบอร์ลินเจอร์ (Joe Berlinger) และบรูซ ซินอฟสกี (Bruce Sinofsky) ร่วมอำนวยการสร้าง ซึ่งเป็นการบันทึกเรื่องราวของการบันทึกเสียงใหม่ของเมทัลลิกา ในช่วง 2 ปี กว่า 1,000 ชั่วโมง ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ก่อนการเตรียมการบันทึกเสียง เฮตฟีลด์ได้ทำการบำบัดแอลกอฮอล์ในช่วงหนึ่ง จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการบันทึกเสียงจะสำเร็จหรือไม่[51] เฮทฟิวด์ได้กลับจากการพักฟื้นในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2001[51] และกลับสู่การบันทึกเสียงในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2002 โดยมีการจำกัดการทำงานต่อวันเพียง 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะใช้ชีวิตส่วนหนึ่งกับครอบครัว[52] จนในที่สุดสารคดีก็ได้เรียบเรียงภายใต้ชื่อ Some Kind of Monster ซึ่งได้ไปเปิดตัวในเทศกาลดนตรีซันแดนซ์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004

ในระหว่างการบันทึกเสียง ได้บ็อบ ร็อก โปรดิวเซอร์ของวง ทำหน้าที่มือเบสแทนนิวสเตด รวมถึงในหลายๆคอนเสิร์ตร่วมกับเมทัลลิกาด้วย[52] อัลบั้มได้เรียบเรียงเสร็จในปี ค.ศ. 2003 วงได้ทำการออดิชันเพื่อหาคนมาแทนที่นิวสเตด ทั้ง เพพเพอร์ คีแนน (Pepper Keenan), จีออร์ดี ไวท์ (Jeordie White), สกอตต์ รีเดอร์ (Scott Reeder), อีริก อเวอรี (Eric Avery), แดนนี โลห์เนอร์ (Danny Lohner) และคริส วิซ (Chris Wyse) ซึ่งทุกคนต่างเป็นมือเบสในวงเมทัลที่มีชื่อเสียง ภายหลังจากการออดิชันได้ 3 เดือน ก็ได้ โรเบิร์ต ทรูฮีโย จากวงซูอิไซดัลเทนเดนซีส์ (Suicidal Tendencies) และอดีตมือเบสร่วมกับออซซี ออสบอร์น เป็นมือเบสใหม่[52] ทางด้านของนิวสเตดได้ย้ายไปอยู่กับวงแทรชเมทัล วอยวอด (Voivod) ในปี ค.ศ. 2002 และยังรวมถึงการแทนที่ทรูฮีโยอีกที ในทัวร์ Ozzfest tour ของออสเบิร์น ปี ค.ศ. 2003[53]

ในที่สุดในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2003 เมทัลลิกาก็ได้ออกสตูดิโออัลบั้มที่ 8 ในชื่อ เซนต์แองเกอร์ (St. Anger) ด้วยการเปิดตัวอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 และได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย เช่น การโซโล่ของกีตาร์ที่ขาดหายไปและการบรรเลงกลองที่ไม่เข้าถึงความเข้มข้นเท่าที่ควร[54][55] แต่ถึงอย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 2004 อัลบั้มก็ได้รับรางวัลแกรมมีในซิงเกิล St. Anger ของหัวข้อ "รางวัลแสดงเมทัลดีที่สุด" และยังได้เป็นเพลงประจำขององค์กรมวยปล้ำดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในรายการ "ซัมเมอร์สแลม (2003)" อีกด้วย[56]

ก่อนที่วงจะได้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีดาวน์โหลด (Download Festival) ปี ค.ศ. 2004 อุลริกได้เข้าโรงพยาบาลอย่างฉุกเฉินที่สวิตเซอร์แลนด์และไม่สามารถเล่นคอนเสิร์ตต่อได้ เฮทฟิวด์จึงได้หาตัวเลือกเพื่อแทนเขา ในที่สุดก็ได้ เดฟ ลอมบาร์โด มือกลองแห่งสเลเยอร์ และมือกลองโจเอิล จอร์ดิสัน จากสลิปน็อต อาสามาร่วมเล่น โดยลอมบาร์โด ได้แสดงในซิงเกิล "Battery" และ "The Four Horsemen" ส่วนจอร์ดิสันเล่นในเพลงที่เหลือ[57] การทัวร์คอนเสิร์ตยาวนานกว่า 2 ปี จนในปี ค.ศ. 2005 สมาชิกเมทัลลิกาได้พักผ่อนไปอยู่กับเพื่อนและครอบครัว วงได้กลับมาเล่นอีกครั้งด้วยการเป็นวงเปิดให้กับเดอะโรลลิงสโตนส์ ในคอนเสิร์ตที่สนามเบสบอลเอแอนด์ทีพาร์ค ซานฟรานซิสโก วันที่ 13 และ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005[58]

เดธแม็กเนติก, ลูลา และ บียอนด์แม็กเนติก (ค.ศ. 2006–11) แก้

ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2006 เมทัลลิกา ได้เปิดตัว ดีวีดีอัลบั้ม ในชื่อ The Videos 1989–2004 ซึ่งเปิดตัวด้วยอันดับ 3 บนบิลบอร์ดท็อปวีดิโอ สามารถจำหน่ายได้กว่า 28,000 ชุด[59] เมทัลลิกา ได้ประกาศผ่านเว็บไซด์อย่างเป็นทางการว่า บ็อบ ร็อก โปรดิวเซอร์ที่ร่วมงานมานานกว่า 15 ปี จะไม่มาร่วมในการออกอัลบั้มอีกต่อไป ในที่สุดวงได้ทำการเลือก ริค รูบิน มาแทน[60] และประกาศว่าจะเปิดตัวอัลบั้มในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2008 พร้อมกับมิวสิกวีดิโอในซิงเกิลแรกของอัลบั้ม คือ "The Day That Never Comes"

ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2008 ร้านขายแผ่นเสียงในฝรั่งเศสได้ทำการปล่อยอัลบั้ม Death Magnetic ก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการถึง 2 สัปดาห์[61] ทำให้ทางค่ายเวอร์ทิโกจากอังกฤษ ต้องเปิดตัวเร็วขึ้นในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2008 และยังมีข่าวลือถึงการฟ้องร้องต่อผู้ค้าแผ่นเสียงในฝรั่งเศสจากทางฝั่งของเมทัลลิกาหรือจากค่ายวอร์เนอร์แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการยืนยัน

 
เคิร์ก แฮมเมตต์และเฮตฟีลด์ ขณะกำลังแสดงสดร่วมกับวงในกรุงลอนดอน ปี ค.ศ. 2008

เดธแม็กเนติก (Death Magnetic) ได้รับการเปิดตัวด้วยอันดับ 1 ในชาร์ตสหรัฐ สามารถจำหน่ายได้กว่า 490,000 ชุด และได้กลายเป็นวงดนตรีวงแรกที่สามารถเปิดตัวอัลบั้มด้วยอันดับ 1 เรียงติดต่อกันถึง 5 อัลบั้มในประวัติศาสตร์ของบิลบอร์ด 200[62] ภายหลังสัปดาห์ของการเปิดตัว Death Magnetic ก็ยังคงครองอันดับ 1 บนชาร์ตและรวมถึงชาร์ตอัลบั้มยุโรปอีกด้วย นอกจากนี้อัลบั้มยังได้กลายเป็นอัลบั้มที่ขายได้เร็วที่สุดในปี ค.ศ. 2008 ของประเทศออสเตรเลียอีกด้วย[63]

Death Magnetic ยังคงที่บนบิลบอร์ด 200 อัลบั้มชาร์ต ด้วยอันดับ 1 เรียงต่อกันยาวถึง 3 สัปดาห์ เมทัลลิกาได้กลายเป็นหนึ่งใน 2 ศิลปิน เช่นเดียวกับอัลบั้ม Sleep Through the Static ของแจ็ค จอห์นสัน ที่สามารถครองชาร์ตได้นานถึง 3 สัปดาห์ ประจำปี ค.ศ. 2008 นอกจากนี้ Death Magnetic ยังครองอันดับ 1 ต่อเนื่องกันบนชาร์ตฮาร์ดร็อก, โมเดิร์นร็อก/อัลเทอร์เนทีฟ และร็อกอัลบั้ม ถึง 5 สัปดาห์ด้วยกัน อัลบั้มขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตประเทศอื่นอีก 32 ประเทศ หนึ่งในคือ สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย[64][65] ในเดือนพฤษภาคม 2008 เมทัลลิกาได้ยุติสัญญากับค่ายวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิร์ดสลง และวงได้มีแนวคิดที่จะเปิดตัวอัลบั้มต่อไปผ่านอินเทอร์เน็ต[66][67]

ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2009 ได้มีการประกาศให้เมทัลลิกาบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2009[68] และอดีตมือเบส เจสัน นิวสเตด จะมาร่วมเฉลิมฉลองในการประกาศผลครั้งนี้ด้วย[69] แต่มือเบสปัจจุบัน โรเบิร์ต ทรูฮีโย ตัดสินใจจะไม่มาร่วมเล่นโดยกล่าวว่าจะเป็นผู้รับชม[70] ถึงอย่างไรก็ดีในช่วงที่วงจะบรรเลงซิงเกิล "Master of Puppets" และ "Enter Sandman" ทั้งทรูฮีโย และนิวสเตด ต่างร่วมกันบรรเลงพร้อมกัน[71] ในขณะที่คลิฟฟ์ เบอร์ตันที่เสียชีวิตไป บิดาของเขาเรย์ เบอร์ตัน รับเกียรติยศแทนเขา นอกจากนี้วงยังได้เชิญให้เดฟ มัสเทน อดีตมือกีตาร์มาร่วมในพิธีอีกด้วย แต่เขาปฏิเสธเพราะติดทัวร์คอนเสิร์ตในยุโรป[72]

เมทัลลิกา สเลเยอร์ เมกาเดธ และแอนแทรกซ์ ได้ร่วมกันบรรเลงครั้งแรกในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ที่สนามบินวอร์ซอว์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลดนตรีโซนิสเฟียร์ ในวันที่ 28 มิถุนายนปีเดียวกันนี้ อัลบั้ม Death Magnetic ได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายระดับ 2X แพลตตินัม จากอาร์ไอเอเอ

รายการทัวร์คอนเสิร์ต World Magnetic Tour ของเมทัลลิกาได้สิ้นสุดลงที่นครเมลเบิร์น ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 ภายหลังทัวร์มามากกว่า 2 ปี ในการโปรโมตอัลบั้ม Death Magnetic นี้ วงได้ออกอีพีรุ่นจำกัดจำนวน ซึ่งเป็นภาพการแสดงสดที่ออสเตรเลียในชื่อ Six Feet Down Under[73] และตามมาด้วยอีพี Six Feet Down Under (Part II) ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010[74]

ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เมทัลลิกาได้เปิดตัว อีพีแสดงสด ในชื่อ Live at Grimey's ซึ่งได้บันทึกไว้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 ที่กริมีย์เรเคิร์ดสตูดิโอ ภายหลังวงเข้าร่วมงานที่ เทศกาลดนตรีบอนนารู (Bonnaroo Music Festival) ในปีเดียวกันนั้น[75][76]

ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2010 วงได้ประกาศร่วมบรรเลงกับเครือ "บิ๊กโฟว์" อีกครั้ง ในช่วงเทศกาลดนตรีโซนิสเฟียร์ ที่เนปเวิร์ธเฮาส์ (Knebworth House), ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 นับเป็นครั้งแรกที่สมาชิกวงทุกคนในเครือบิ๊กโฟว์ ร่วมบรรเลงเพลงในเวทีเดียว ณ ประเทศอังกฤษ[77] วันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ได้ประกาศไปเล่นต่อที่ประเทศฝรั่งเศส[78] ในวันที่ 9 กรกฎาคม วงได้ร่วมบรรเลงที่เอ็มไพร์โปโลคลับ ในอินดิโอ แคลิฟอร์เนีย[79] ในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2011 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ได้ร่วมร่วมบรรเลงเพลงในเวทีเดียว ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ได้จัดโชว์ที่เกลเซนเคียร์เชิน ประเทศเยอรมนี[80] ในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ได้จัดโชว์ที่มิลาน ประเทศอิตาลี[81] ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ได้จัดโชว์ที่กอเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน[82] จนทัวร์สุดท้ายของ "บิ๊กโฟว์" ได้ยุติลงที่นครนิวยอร์ก ณ สนามกีฬายานคี ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2011[83]

ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2011 เมทัลลิกาได้ประกาศการออกอัลบั้มใหม่ในชื่อ Lulu ร่วมกับศิลปินลู รีด แห่งเดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์[84] ซึ่งใช้เวลาเรียบเรียงนานหลายเดือน ซึ่งประกอบด้วยซิงเกิลทั้งหมด 10 ซิงเกิล ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ก็ได้รับการเปิดตัว นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่อัลบั้มก่อนหน้านี้ 5 อัลบั้ม ที่อัลบั้มนี้ไม่ได้ขึ้นอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 รวมถึงอัลบั้มในชาร์ตประเทศอื่นๆ

เมทัลลิกาได้เข้าร่วมเทศกาลดนตรี "อินเดียร็อก" เป็นครั้งแรก ณ สนามแข่งรถอินเดียน (Indian Grand Prix) ปี ค.ศ. 2011[85] แต่ถึงอย่างไรก็ดีคอนเสิร์ตได้ยกเลิกลง เนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยในสถานที่[86] ซึ่งแฟนเพลงปีนขึ้นไปบนเวทีในระหว่างงาน รวมถึงผู้จัดงานที่ต่อมาก็ถูกจับในข้อหาฉ้อโกงด้วย[87] เมทัลลิกาได้กลับมาเปิดตัวที่อินเดียอีกครั้งในเมืองบังกาลอร์ วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2011[88][89] ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ได้มีการประกาศว่าเมทัลลิกาจะไปเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ที่เทศกาลดนตรีดาวน์โหลด (Download Festival) ณ สนามแข่งรถดอนิงตันพาร์ก ประเทศอังกฤษ และจะเล่นเฉพาะ อัลบั้มดำ ตลอดเวที[90] เมทัลลิกาได้ฉลอง 30 ปี ด้วยการจัดคอนเสิร์ต 4 ครั้งที่ ฟิลล์มอร์ ในซาน ฟรานซิสโก ในเดือนธันวาคม 2011 ในคอนเสิร์ตวงได้บรรเลงเพลงต่างนับตั้งแต่อัลบั้มแรก รวมถึงแขกรับเชิญต่างๆที่มีส่วนช่วยเหลือให้วงมีชื่อเสียงทั้ง ลอยต์ แกรนต์, เดฟ มัสเทน, เจสัน นิวสเตด, ออซซี ออสบอร์น, เจอร์รี แคนเทรลล์ แห่งอลิซอินเชนส์ เกรนน์ แดนซิกแห่งมิสฟิตส์ วงอะโพคาลิปติกา สมาชิกวงไดมอนด์เฮด และยังรวมถึงศิลปินแบล็กเมทัล คิง ไดมอนด์ จากเมอร์ซีฟูลเฟตอีกด้วย[91][92] ในวันที่ 13 ธันวาคม 2011 วงได้เปิดตัวอีพี Beyond Magnetic ซึ่งวางจำหน่ายในไอจูนส์[93] และจำหน่ายในซีดีในเดือนมกราคม 2012[94]

เมทัลลิกา: ทรูเดอะเนเวอร์ และอัลบั้มที่สิบ (ค.ศ. 2012-ปัจจุบัน) แก้

 
เมทัลลิกาขณะกำลังแสดงสดในเทศกาลดนตรีที่โซนิสเฟียร์ในปี ค.ศ. 2014

ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เมทัลลิกาได้ประกาศทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ "Orion Music + More" ในวันที่ 23 กรกฎาคม และ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ในแอนแลนติกซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยพวกเขายืนยันว่าจะเล่นทั้ง 2 วันและเล่นในซิงเกิลฮิตจากอัลบั้ม 2 อัลบั้ม คือ Metallica ในคืนแรกและ Ride the Lightning ในอีกคืน[95] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 จากบทสัมภาษณ์กับสถานีวิทยุแคนาดา 99.3 เดอะฟ็อกซ์ อุลริกกล่าวว่าเมทัลลิกา จะยังไม่ออกอัลบั้มใหม่ โดยคาดว่าเร็วสุดคือช่วงต้น ค.ศ. 2014[96] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เมทัลลิกาได้ออกจากสัญญากับวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิร์ดส และย้ายตัวไปทำค่ายเพลงเอง ในชื่อ "แบล็คเคนด์เรเคิร์ดดิงส" (Blackened Recordings) ซึ่งจะเป็นค่ายเพลงให้กับวงต่อไปในอนาคต[97][98] วงได้รับลิขสิทธิ์ในทุกสตูดิโออัลบั้ม ผ่านการจำหน่ายในค่ายใหม่นี้ รวมถึงผ่านค่ายลูกของวอร์เนอร์ ในชื่อบริษัทริโนเอนเตอร์เทนเมนต์ สำหรับจำหน่ายในสหรัฐ และที่อื่นผ่านทาง ยูนิเวอร์ซัลมิวสิก[99][100] ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2012 เมทัลลิกาได้ประกาศเปิดตัวดีวิดีในรูปแบบอัลบั้มแสดงสดในเกแบ็ก ประเทศแคนาดา ปี ค.ศ. 2009 ผ่านทางเว็บไซด์หลัก[101] ต่อมาก็ได้จำหน่ายในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ที่สหรัฐอเมริกา[102]

ในปี 2013 สมาชิกวงได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์คอนเสิร์ต 3 มิติ ในชื่อ Metallica: Through the Never กำกับโดย แอนทัล นิมรอด (Antal Nimród) และเปิดฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ในวันที่ 27 กันยายนปีเดียวกัน[103] ในบทสัมภาษณ์วันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 อุลริชได้กล่าวกับนิตยสารอัลติเมตกีตาร์ (Ultimate Guitar) ว่า "ในปี ค.ศ. 2014 จะร่วมบันทึกเสียงอัลบั้มใหม่เมทัลลิกา" และเขาพูดว่าอัลบั้มมีแนวโน้มจะเปิดตัวในช่วงปี 2015[104] เคิร์ก แฮมเมตต์ และโรเบิร์ต ทรูฮีโย ต่อมาก็ได้ยืนยันถึงการเข้าสตูดิโอ[105] สำหรับทัวร์ "Orion Music + More" ในครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นในดีทรอยต์ วงได้เล่นภายใต้ชื่อ "Dehaan" ซึ่งอ้างมาจากชื่อของ เดน ดีฮานน์ (Dane DeHaan) ที่รับบทบาทในภาพยนตร์ Metallica: Through the Never[106] วงได้แสดงสดเฉพาะในอัลบั้ม Kill 'Em All ตลอดทั้งเวที ซึ่งยังถือเป็นการเฉลิมฉลอง 30 ปี ของอัลบั้มอีกด้วย[107] ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2013 วงได้เล่นสดในชื่อ "Freeze 'Em All" ในดินแดนแอนตาร์กติกา ทำให้กลายเป็นวงดนตรีวงแรกที่เล่นคอนเสิร์ตครบทั้ง 7 ทวีป[108] ภายหลังวงได้ออกอัลบั้มและเปิดตัวอัลบั้มสดในเดือนเดียวกัน[109]

ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 56 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 เมทัลลิกาได้เล่นซิงเกิล "One" ร่วมกับนักเปียโนชาวจีน หลาง หล่าง[110] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 เมทัลลิกาได้จัดคอนเสิร์ตในชื่อ "Metallica By Request" ซึ่งเล่นเพลงตามเสียงเรียกร้องของแฟนเพลง[111] โดยมีซิงเกิล "Lords of Summer" ที่ได้แต่งเพื่อคอนเสิร์ตนี้ รวมถึงเปิดตัวเดโม "first take"[112] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 วงได้ทัวร์ต่อยังเทศกาลแกลสตันบูรี ในความพยายามที่จะหาแฟนเพลงใหม่[113] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 เมทัลลิกา ได้บรรเลงปิดงานเฉลิมฉลองกิจกรรมบลิซซ์คอน 2014[114] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 เมทัลลิกาได้เข้าร่วมงาน "Metallica Night" ร่วมกับสมาชิกทีมฮอกกี้น้ำแข็ง แซน จอซ ชาร์คส์ เกี่ยวกับงานประมูลการกุศล แต่ไม่ได้แสดงสด[115] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 วงได้กลับไปเล่นที่เทศกาลดนตรีลอลลาพาลูซา (Lollapalooza) ประเทศบราซิล อีกครั้งในรอบ 20 ปี[116] ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 เมทัลลิกาได้แสดงสดที่ เอทีแอนด์ทีปาร์ค[117] นอกจากนี้วงยังได้ไปเล่นให้กับ เอ็กซ์เกม เป็นครั้งแรกในงาน "เอ็กซ์เกมอัสติน 2015" ที่เมืองอัสติน รัฐเท็กซัส[118] ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 เมทัลลิกาได้เข้าร่วมบรรเลงที่ "The Night Before" ที่เอทีแอนด์ทีปาร์ค[119] ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2016 เมทัลลิกาได้ร่วมเปิดสนามกีฬา ยู.เอส.แบงค์ (U.S. Bank) ร่วมกับวงอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์และวงวอลบีตจากเดนมาร์ก

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 อุลริก ได้สัมภาษณ์กับนิตยสารบิลบอร์ดถึงการออกอัลบั้มที่ 10 โดยกล่าวโดยสรุปว่า "มันคงยากที่จะเชื่อว่ามันจะไม่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2016"[120]

จนต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2016 วงก็ได้ประกาศออกสตูดิโออัลบั้มใหม่ผ่านเว็บไซต์หลักของเมทัลลิกา ในชื่อ Hardwired... to Self-Destruct ซึ่งได้เปิดตัวในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ผ่านทางค่ายอิสระของวง แบล็กเคนด์เรเคิร์ดดิงส วงยังได้เปิดตัวเพลง "Hardwired" พร้อมมิวสิกวีดิโอในซิงเกิลแรกอีกด้วย[121] อัลบั้มได้เปิดตัวตามกำหนดการ[122] และไต่ขึ้นอันดับบิลบอร์ด 200 ด้วยอันดับที่หนึ่ง[123]

เมทัลลิกายังได้วางแผนทัวร์สหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2017 ในชื่อ WorldWired Tour ซึ่งมีวงอย่าง อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ วอลบีต และกอจิรา เข้าร่วมสมทบด้วย[124]

สไตล์และแนวเพลง แก้

เมทัลลิกา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปินวงเฮฟวีเมทัลและฮาร์ดร็อกก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น แบล็กแซ็บบาธ, ดีปเพอร์เพิล, คิส, เลด เซพพลิน, ควีน, เทด นูเจนท์, เอซี/ดีซี, รัช, แอโรสมิธ, จูดาสพรีสต์ และสกอร์เปียนส์[125] ศิลปินในกลุ่มคลื่นเฮฟวีเมทัลลูกใหม่จากอังกฤษเช่น เวนอม, มอเตอร์เฮด, ซาซอน, ไดมอนด์เฮด, บลิทซ์ครีก และไอเอิร์นเมเดน กลุ่มศิลปินพังก์ยุคแรก เช่น ราโมนส์, เซ็กซ์พิสทอลส์ และมิสฟิตส์ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งในอิทธิพลในสไตล์ของเมทัลลิกา รวมไปถึงวงโพสต์-พังก์ อย่างคิลลิ่งโจ๊ก ด้วย[126] ในช่วงแรกเริ่มวงได้นำเสนอการบรรเลงดนตรีด้วยจังหวะรวดเร็ว ความกลมกลืนทางดนตรี และบรรเลงเฉพาะเครื่องดนตรี สตีฟ ฮิวอี แห่งออลมิวสิก ได้กล่าวว่า Ride the Lightning นำเสนอ "การขยายออก, ความก้าวหน้าในเนื้อหา ที่หนักแน่น กระชับ"[127] ฮิวอียังได้เสริมต่อว่า เมทัลลิกาได้ขยายตัวตนด้วยการเรียบเรียงเทคนิคและการแสดงออก ที่มีความก้าวร้าวแฝงอยู่ในเนื้อเพลงที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องส่วนบุคคล ประเด็นทางสังคม[127] ศาสนา ทหาร อารมณ์โกรธ ความวิกลจริต สัตว์ประหลาด และสารเสพติด ซึ่งเป็นธีมที่ถูกนำเสนอผ่าน Master of Puppets[128]

ในปี ค.ศ. 1991 ฮิวอี ได้กล่าวถึงเมทัลลิกากับโปรดิวเซอร์คนใหม่ บ็อบ ร็อก ที่ช่วยปรับดนตรีให้เรียบง่ายและคล่องตัวขึ้น ทำให้เพิ่มความนิยมในตลาดมากขึ้น จนในเวลาต่อมาเมทัลลิกาก็สามารถเข้าสู่กระแสหลักในหมู่ผู้ฟังดนตรีได้สำเร็จ[129] โรเบิร์ต พาลเมอร์ (Robert Palmer) แห่งนิตยสารโรลลิงสโตน ได้กล่าวว่า วงได้ละทิ้งความก้าวร้าว จังหวะรวดเร็วและช่วงแสดงทางดนตรีที่ฟุ่มเฟือยลง[130] สิ่งเหล่านี้เองในเปลี่ยนเส้นทางให้วงเข้าสู่ตลาดดนตรีจนประสบความสำเร็จในอัลบั้ม Metallica ที่ถือเป็นอัลบั้มแรกของวงที่ไต่ชาร์ตอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 เมทัลลิกาได้เปลี่ยนแนวไปเล่นแนวกลุ่มร็อกที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มกรันจ์ ช่วงต้นยุค 1990 ในอัลบั้ม Load อัลบั้มได้รับการกล่าวว่า "แทบจะเป็นอัลบั้มอัลเทอร์เนทีฟ" ซึ่งนับเป็นการหลีกห่างจากคำว่า "เมทัล" มากขึ้น[131] รวมถึงเนื้อหาเพลงที่ได้ละทิ้งเนื้อหาเชิงลบ อย่าง สารเสพติดและสัตว์ประหลาด แล้วไปเน้นที่เนื้อหาอย่าง อารมณ์โกรธ ความสูญเสีย และวิบากกรรม ที่เบาลง ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนเนื้อหาแล้ว ยังมีในเรื่องของการตัดผมยาวของสมาชิกวง หน้าปกอัลบั้ม Load การไปเล่นคอนเสิร์ตที่โลลลาพาลูซา ซึ่งเป็นงานคอนเสิร์ตของพวกวงอัลเทอร์เนทัฟ[132] ทำให้แฟนเพลงและนักวิจารณ์ส่วนใหญ่ไม่ประทับใจกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จนขนาดเดวิด ฟริคค์ (David Fricke) แห่งโรลลิงสโตน ถึงกับออกมากล่าวว่า "ลาก่อนแทรช" และถึงกับเสียดสีอัลบั้มนี้ว่า "เป็นอัลบั้มที่หนักที่สุดแห่งปี ค.ศ. 1996"[132] ในอัลบั้ม ReLoad ปี 1997 ที่วงนำเสนอแนวบลูส์และฮาร์ดร็อกช่วงต้น ซึ่งผสมผสานจังหวะและความกลมกลืนที่มากขึ้นในโครงสร้างเพลง[131]

ในอัลบั้ม St. Anger ได้มีการปรับเปลี่ยนทางดนตรีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของวง ทั้งการโซโล่กีตาร์ที่ตัดทิ้งไปจากอัลบั้ม ละทิ้ง "ความดิบและเสียงที่ไม่ขัดเกลาออก" เนื้อหาอัลบั้มยังเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูอาการติดยาของเฮทฟิลด์และการอ้างอิงถึงปีศาจ การต่อต้านสารเสพติด ความกลัวขั้นรุนแรง การลงโทษในวาระสุดท้าย และการเสแสร้งทางศาสนา[133][134] จากคำแนะนำของโปรดิวเซอร์ ริค รูบิน ในอัลบั้มที่ 9 Death Magnetic ทำให้วงได้กลับสู่แนวทางดั้งเดิมทั้งเรื่องของเสียงและการโซโล่กีตาร์[135] รวมไปถึงความเป็นแทรชเมทัลแท้ๆของเมทัลลิกา ซึ่งเน้นที่จังหวะริฟฟ์แบบแทรช การบรรเลงโซโล่ที่หนักแน่น เข้มข้น แต่มีเนื้อหาอ่อนๆ เกี่ยวข้องกับ อัตวินิบาตกรรม การไถ่ถอนจากภูตผี[136]

อิทธิพลของวง แก้

เมทัลลิกาได้กลายเป็นหนึ่งในวงทรงอิทธิพลที่สุดวงหนึ่งในวงการเฮฟวีเมทัลตลอดกาล และได้รับเครดิตให้เป็นหนึ่งใน 4 กลุ่มดนตรีแทรชเมทัลรุ่นบุกเบิกในสหรัฐที่เรียกว่า "บิ๊กโฟว์" เช่นเดียวกับ สเลเยอร์ แอนแทรกซ์ และเมกาเดธ[137] วงสามารถจำหน่ายแผ่นเสียงได้มากกว่า 110 ล้านชุดทั่วโลก[138] รวมถึงยอดยืนยันจำหน่ายจากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ (RIAA) กว่า 66 ล้านชุดและในระบบนีลเซน ซาวด์สแกน ที่ได้ยืนยันตัวเลขกว่า 53,642,000 ชุด ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว ทำให้เมทัลลิกาได้กลายเป็นหนึ่งในวงที่ประสบความสำเร็จด้านยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ตลอดกาล[139][140] นักเขียนสารานุกรม The Rolling Stone Encyclopedia of Rock & Roll จากนิตยสารโรลลิงสโตน ได้กล่าวว่า เมทัลลิกาให้ความหมายของดนตรีเฮฟวีเมทัลว่า "เป็นแบบแผนที่สำคัญที่สุด"[141] สตีเฟน โทมัส เอิร์ลวิน (Thomas Erlewine) และเกร็ก พลาโต (Greg Prato) จากออลมิวสิกได้กล่าวว่าเมทัลลิกา "ขยายจุดจำกัดของแทรช โดยการใช้ความเร็วและความเข้มข้นของเสียงที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ของวงเท่านั้น แต่พวกเขายังเพิ่มความปราณีตให้กับโครงสร้างทางดนตรีอีกด้วย" และได้ยกย่องวงว่า "เรียบง่ายที่ดีที่สุด เป็นวงเฮฟวีเมทัลที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งยุค 80 ที่ได้ภาระนำดนตรีกลับสู่โลกมนุษย์"[142]

โจนาธาน เดวิส แห่งวงคอร์น ได้กล่าวว่าเขายกย่องเมทัลลิกาในฐานะวงดนตรีโปรดของเขา เขายังได้กล่าวว่า "ฉันรักในสิ่งที่พวกเขาทำทุกอย่างในทางของพวกเขาและรักษามันไว้หลายปี ซึ่งในปัจจุบันพวกเขาก็ยังทำอยู่ ฉันคิดว่าพวกเขาคือวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[143] แชนนอน ลาร์คิน แห่งกอดส์แมก ได้กล่าวว่าเมทัลลิกาคือวงที่ทรงอิทธิพลต่อวงดนตรีมากที่สุด โดยได้ขยายความต่อว่า "พวกเขาเปลี่ยนชีวิตฉันอย่างมาก เมื่อฉันอายุ 16 ปี ฉันไม่เคยฟังเฮฟวีเมทัลอะไรที่หนักอย่างนี้มาก่อน"[144] ร็อบบ์ ฟลินน์ (Robb Flynn) แห่งวงแม็กชีนเฮด ได้กล่าวตอนทำอัลบั้มวงในปี ค.ศ. 2007 The Blackening ว่า "สิ่งที่พวกเราต้องการสื่อในอัลบั้มนี้ก็คือพลัง อิทธิพล และมหากาพย์ความยิ่งใหญ่ต่อจากอัลบั้ม มาสเตอร์ออฟพัพเพทส์ ที่ยืนยงกับพลังไม่มีวันตาย เช่นนั้นบ้าง"[145] โคเรย์ บิวลิวอู และแมตต์ ฮีฟีย์ 2 มือกีตาร์แห่งวงทริเวียม ได้กล่าวว่าเมื่อเขาได้ยินเมทัลลิกาเมื่อไหร่ เขาต้องการที่จะจับกีตาร์เล่นตามทันที[146][147] เอ็ม. แชโดวส์ แห่งอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ ได้กล่าวขณะกำลังทัวร์ร่วมกับเมทัลลิกาว่า "การจำหน่ายเพียงบันทึกเสียงเป็นตันๆ และการเล่นโชว์ที่มีคนฟังมากๆ จะมีไม่มีทางเทียบได้เลย กับการพบสมาชิกเมทัลลิกาตัวจริงๆ"[148] ดอกและดัลลาส คอยล์ จากวงก็อดฟอร์บิด ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมทัลลิกาที่ทำให้พวกเขาได้เติบโตขึ้น และมือเบสจอห์น เอาต์คาลต์ ได้ชื่นชมเบอร์ตัน ในฐานะ "ร็อกเกอร์"[149] เดฟ ชาวาร์รี จากวงอิลนิโน ได้กล่าวชื่นชมอัลบั้มช่วงต้นของเมทัลลิกาว่า "มีความหนัก ดิบ กระด้างกระเดื่อง ที่ต้องพูดว่า 'fuck you'"[150] และคริส โคฮ์ลส มือกลองจากวงอดีมา ได้กล่าวว่า วงของพวกเขาต่างได้รับอิทธิพลจากเมทัลลิกา[151]

นิตยสารเคอร์แรง! ได้เปิดตัวอัลบั้มลูก (tribute album) ในชื่อ Master of Puppets: Remastered ฉบับวันที 8 เมษายน 2006 ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลอง 20 ปี ให้กับอัลบั้ม Master of Puppets ภายในอัลบั้มประกอบด้วยเพลงคัฟเวอร์ของเมทัลลิกา จากศิลปินต่าง ๆ เช่น แมชชีนเฮด, บุลเลตฟอร์มายวาเลนไทน์, ไคไมอารา, มาสโทดอน, เมนดีด และทริเวียม ซึ่งวงเหล่านี้ต่างได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากเมทัลลิกาทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีอัลบั้มลูกเมทัลลิกาอื่นอีกกว่า 15 อัลบั้มที่ได้รับการเปิดตัว ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2006 เมทัลลิกาได้เป็นแขกรับเชิญนำแสดงในเดอะซิมป์สันส์ ซีซันส์ที่ 18 ในฉากที่สมาชิกวงกำลังแสดงคอนเสิร์ตบนรถกระบะของแฮนส์ โมลแมน (Hans Moleman)[152] เฮมเมตต์และเฮทฟิวด์ยังได้ร่วมพากย์เสียงใน 3 ตอนบนรายการโทรทัศน์ เมทัลโลคาลิปส์ (Metalocalypse)[153] วงดนตรีเชลโลจากฟินแลนด์นาม อะโพคาลิปติกา ได้ปล่อยอัลบั้มลูกในชื่อ Plays Metallica by Four Cellos ซึ่งนำเสนอซิงเกิลของเมทัลลิกาจำนวน 8 ซิงเกิลผ่านเครื่องสายเชลโลทั้ง 4 วงล้อเลียนชื่อบีทัลลิกา (Beatallica) ที่ใช้ชื่อผสมระหว่างวงเดอะบีเทิลส์และเมทัลลิกา ได้เผชิญหน้ากับข้อกฎหมายเมื่อโซนี่ ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าวงบีเทิลส์ ได้สั่งยุติการสั่งซื้อของจากวง โดยกล่าวว่า "อาการหนัก เกินเยียวยา" และได้ทำการฟ้องร้องให้วงจ่ายค่าเสียหายอีกด้วย จนอุลริก ซึ่งเขาก็เป็นแฟนเพลงของบีทัลลิกาด้วย ได้ช่วยเหลือผ่านนักกฎหมายประจำวง ปีเตอร์ พาเทอร์โน เพื่อช่วยในข้อกฎหมาย[154]

เอ็มทีวี (MTV) ได้จัดอันดับที่ 3 ให้กับเมทัลลิกาในหัวข้อ "วงเฮฟวีเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์"[143] ได้อันดับที่ 5 ในหัวข้อ "100 ศิลปินฮาร์ดร็อก" จากวีเอชวัน (VH1)[155] และวงยังได้อันดับ 1 บนหัวข้อ "20 รายชื่อวงดนตรีเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" จากวีเอชวันอีกด้วย[156] โรลลิงสโตน ได้จัดอันดับที่ 61 แก่วง บนหัวข้อ "100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[157] นอกจากนี้ในอัลบั้ม Master of Puppets และ Metallica ก็ได้จัดอันดับที่ 167 และ 252 บนหัวข้อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" จากนิตยสารเดียวกันนี้[158] อัลบั้ม Master of Puppets ก็ได้ถูกจัดหนึ่งในรายชื่อ "50 อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" จากนิตยสารคิว[159] ได้รับอันดับที่ 1 ในหัวข้อ "ท็อป 25 อัลบั้มเมทัล" จากไอจีเอ็น[160] และอันดับ 1 ในหัวข้อ "ท็อป 100 อัลบั้มเอฟวีเมทัล" จาก เมทัล-รูส์.คอม (Metal-rules.com)[161] ซิงเกิล "Enter Sandman" ก็ได้รับอันดับที่ 399 จากนิตยสารโรลลิงสโตนบนหัวข้อ "500 เพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ด้วย[162]

ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1999 เมทัลลิกาได้รับการยกเข้าสู่หอเกียรติยศซานฟรานซิสโกวอร์คออฟเฟม (San Francisco Walk of Fame) โดยวิลลีย์ บราวน์ (Willie Brown) ผู้ว่าการรัฐซานฟรานซิสโก ถึงกับประกาศให้วันนี้เป็นวัน "วันเมทัลลิกาอย่างเป็นทางการ"[163] ในปี ค.ศ. 2003 วงได้รับรางวัลเอ็มทีวีไอคอน (MTV Icon award) เมทัลลิกาได้มีการแสดงคอนเสิร์ตลูก (Tribute) จากศิลปินต่างๆ ทั้ง ซัม 41 ที่ได้เล่น "For Whom the Bell Tolls", "Enter Sandman" และ "Master of Puppets" วงสเตนด์ ได้คัฟเวอร์ "Nothing Else Matters" แอวริล ลาวีน ได้เล่น "Fuel" สนูป ด็อกก์ ได้เล่น "Sad but True" คอร์น เล่น "One" และลิมป์บิซกิต เล่นเพลง "Welcome Home (Sanitarium)"[164]

วีดิโอซีรีส์เกม กีตาร์ฮีโร (Guitar Hero) ได้บรรจุเพลงของเมทัลลิกาหลายเพลง เช่น "One" ใน กีตาร์ฮีโร III ในอัลบั้ม Death Magnetic ซึ่งต่อมาได้เปิดจำหน่ายผ่านการดาวน์โหลด ในซิงเกิล "Trapped Under Ice" ได้เปิดเผยในภาคต่อ กีตาร์ฮีโรเวิรลด์ทัวร์ (Guitar Hero World Tour) ในปี ค.ศ. 2009 เมทัลลิกาได้ร่วมมือกับเกมในการพัฒนาในชื่อว่า กีตาร์ฮีโร:เมทัลลิกา (Guitar Hero: Metallica) ซึ่งเน้นรวมเพลงเฉพาะเมทัลลิกา วีดิโอเกมซีรีส์แนวร็อก ชื่อ ฮาร์โมนิกซ์ (Harmonix) ซึ่งได้ทำการปล่อยซิงเกิล "Enter Sandman"; "Ride the Lightning", "Blackened" และ "...And Justice for All" สามารถดาวน์โหลดได้ในเกม แต่ในปี ค.ศ. 2013 เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ที่ยุติลง ทำให้ซิงเกิล "Ride the Lightning", "Blackened" และ "...And Justice for All" จึงไม่สามารถดาวน์โหลดได้อีก[165]

สมาชิกวง แก้

ลำดับเวลา แก้

สตูดิโออัลบั้ม แก้

  • Kill 'Em All (1983)
  • Ride the Lightning (1984)
  • Master of Puppets (1986)
  • ...And Justice for All (1988)
  • Metallica (1991)
  • Load (1996)
  • Reload (1997)
  • St. Anger (2003)
  • Death Magnetic (2008)
  • Hardwired... to Self-Destruct (2016)
  • 72 Seasons (2023)

รางวัล แก้

รางวัลแกรมมี[166]

  • 1990: รางวัลการแสดงเมทัลดีที่สุด (Best Metal Performance)  – ซิงเกิล "One"
  • 1991: รางวัลการแสดงเมทัลดีที่สุด (Best Metal Performance)  – "Stone Cold Crazy"
  • 1992: รางวัลการแสดงเมทัลดีที่สุด (Best Metal Performance)  – อัลบั้ม Metallica
  • 1999: รางวัลการแสดงเมทัลดีที่สุด (Best Metal Performance)  – ซิงเกิล "Better than You"
  • 2000: รางวัลการแสดงฮาร์ดร็อกดีที่สุด (Best Hard Rock Performance)  – ซิงเกิล "Whiskey in the Jar"
  • 2001: รางวัลการแสดงเครื่องดนตรีดีที่สุด (Best Rock Instrumental Performance)  – ซิงเกิล "The Call of Ktulu"
  • 2004: รางวัลการแสดงเมทัลดีที่สุด (Best Metal Performance)  – ซิงเกิล "St. Anger"
  • 2009: รางวัลการแสดงเมทัลดีที่สุด (Best Metal Performance)  – ซิงเกิล "My Apocalypse"
  • 2009: รางวัลบันทึกเสียงดีที่สุด  – อัลบั้ม Death Magnetic[167]

อ้างอิง แก้

  1. Lee, Cosmo (May 7, 2007). "Get Thrashed: The Story of Thrash Metal". Stylus Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ January 3, 2008.
  2. Bunbury, Stephanie (October 11, 2014). "Metallica's story of ego and indulgence: Metallica Through the Never". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ May 13, 2015.
  3. Metallica - 100 Greatest Artists เก็บถาวร 2018-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Rolling Stone
  4. "Eminem Marks Sales, Hot 100 Milestones". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
  5. "METALLICA Is Now Third-Best-Selling Artist Of SoundScan Era". Blabbermouth. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
  6. "La promesse a été tenue" (ภาษาฝรั่งเศส). Le Journal de Québec. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Metallica Timeline Early 1981 – Early 1982". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ May 28, 2009.
  8. "1981:Events". Metallica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-23. สืบค้นเมื่อ December 26, 2009.
  9. Saulnier, Jason (January 4, 2012). "Lloyd Grant Interview". Music Legends. สืบค้นเมื่อ May 6, 2013.
  10. "Metallica Timeline March 14, 1982 – July 6, 1982". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ May 28, 2009.
  11. Dome, Malcolm (February 23, 1984). "Anthrax: Fistful Of Metal". Kerrang!. London, UK: Spotlight Publications Ltd. 62: 8.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "Metallica Timeline Fall 1982 – April 16, 1983". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-31. สืบค้นเมื่อ May 31, 2009.
  13. 13.0 13.1 Pillsbury 2006, p. 2
  14. Christe 2003, p. 86
  15. Cecolini, Vinny (November 1998). "Foreclosure of a Team". Metal Hammer.
  16. "Dave Mustaine: James Hetfield Is Jealous of Me". Blabbermouth.net. September 21, 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-31. สืบค้นเมื่อ May 31, 2009.
  17. AskMen.com Editors. "Interview: Dave Mustaine news". AskMen.com. IGN Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-31. สืบค้นเมื่อ May 31, 2009. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  18. 18.0 18.1 Doe, Bernard. "Megadeth — Love it to Death". Metal Forces. สืบค้นเมื่อ June 16, 2012.
  19. "Anthrax;". Metallipromo.com. December 24, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ March 18, 2013.
  20. Whitburn, Joel. Top Pop Albums (2001): 578
  21. Lepage, Mark (October 31, 2009). "Metal metamorphosis". Ottawa Citizen. สืบค้นเมื่อ June 12, 2013.
  22. 22.0 22.1 22.2 "Metallica Timeline Fall, 1984 – March 27, 1986". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  23. "Discography – Metallica". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2009. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  24. "Gold & Platinum". RIAA. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.[ลิงก์เสีย]
  25. Huey, Steve. "Metallica: Master of Puppets". Allmusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2009. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  26. 26.0 26.1 "Metallica timeline October 1986 – March 1987". MTV. สืบค้นเมื่อ November 30, 2007.
  27. "Metallica timeline August 21, 1987 – December 4, 1987". MTV. สืบค้นเมื่อ December 1, 2007.
  28. 28.0 28.1 "Metallica Chart Positions". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 3, 2007.
  29. Christe 2003, p. 196
  30. Huey, Steve. "Metallica: ...And Justice for All". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 23, 2006.
  31. "Damaged Justice World Tour". Metallica.com. สืบค้นเมื่อ December 9, 2007.
  32. "Rockin' on an Island". Kerrang! 258. September 30, 1989.
  33. Endelman, Michael. "Grammy's 10 Biggest Upsets". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ December 3, 2007.
  34. "MTV: 100 Greatest Music Videos Ever Made". Rockonthenet.com. สืบค้นเมื่อ December 8, 2007.
  35. "A.D.D. Videos: 25 Years of MTV". MTV. สืบค้นเมื่อ March 12, 2006.
  36. "A.D.D. Videos: 25 Years of MTV". MTV. สืบค้นเมื่อ March 12, 2006.
  37. 37.0 37.1 "Metallica timeline February 1990 – August 13, 1991". MTV. สืบค้นเมื่อ December 2, 2007.
  38. Garcia, Guy (October 14, 1991). "Heavy Metal Goes Platinum". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ December 12, 2007.
  39. "Top 100 Albums". RIAA.com. สืบค้นเมื่อ December 2, 2007.
  40. Georg Purvis (2007). "Queen: Complete Works". p. 390. Reynolds & Hearn
  41. 41.0 41.1 "Metallica timeline August 9, 1992 – November 23, 1993". MTV. สืบค้นเมื่อ December 1, 2007.
  42. "Metallica timeline December 1995 – June 27, 1996". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  43. 43.0 43.1 "Metallica timeline November 18, 1997 – December 8, 1998". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  44. "Metallica timeline February 24, 1999 – February 23, 2000". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  45. "Testimony of Mr. Lars Ulrich". United States Senate Committee on the Judiciary. July 11, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2007. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  46. Jones, Christopher (April 13, 2000). "Metallica Rips Napster". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  47. "Napster settles suits". CNN. July 21, 2001. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  48. Evangelista, Benny (September 4, 2002). "Napster runs out of lives – judge rules against sale". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ January 2, 2008.
  49. Basham, David (January 17, 2001). "Bassist Jason Newsted Leaves Metallica". MTV. สืบค้นเมื่อ December 3, 2007.
  50. "The Playboy Interview – Metallica". Playboy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-04. สืบค้นเมื่อ December 3, 2007.
  51. 51.0 51.1 "Metallica timeline April 2001 – December 4, 2001". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  52. 52.0 52.1 52.2 Some Kind of Monster feature film, Metallica, January 2004, Paramount Pictures.
  53. "Metallica timeline January 3, 2002 – March 19, 2003". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  54. "St. Anger by Metallica". Metacritic. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  55. Moreau, Kevin (June 23, 2003). "Rattle and Ho-Hum". Shakingthrough.net. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  56. "Grammy Award winners – Metallica". Grammy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2007. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  57. "Metallica's Lars Ulrich Hospitalized in Switzerland, Misses Show". Yahoo Music. June 7, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ December 9, 2006.
  58. Kaufman, Gil (April 3, 2005). "Metallica Opening for Rolling Stones in San Francisco". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  59. "Metallica's 'Videos' beats Slipknot's Voliminal' on Music Video Chart". Blabbermouth.net. December 15, 2006. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  60. "If You Want a Successful Album – Work with Rick Rubin". Tixsearcher.com. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
  61. "Metallica's 'Death Magnetic' Sold Two Weeks Early at French Record Store?". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-04. สืบค้นเมื่อ November 7, 2010.
  62. "Metallica's Death Magnetic Reigns on European Album Chart". Blabbermouth.net. September 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ September 29, 2008.
  63. "Metallica's Death Magnetic Is Fastest-Selling Album of the Year in Australia". Blabbermouth.net. September 21, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ September 29, 2008.
  64. "Metallica's Death Magnetic Tops Album Chart for Third Week in a Row". EuroInvester. October 1, 2008.
  65. "Metallica nominated in the EMA's and playing live at the VMA's in Latin America". Alternativeware. October 8, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2009. สืบค้นเมื่อ October 8, 2008.
  66. "Metallica Consider Releasing Next Album Online". Ultimate-guitar.com. สืบค้นเมื่อ October 1, 2009.
  67. "Jimmy Page, Jimi Hendrix, Eddie Van Halen, Steve Vai Among 'Chop ShopS Top Guitarists". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-15. สืบค้นเมื่อ October 1, 2009.
  68. Cohen, Jonathan. "Metallica, Run D.M.C. Lead Rock Hall Inductees". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 14, 2009.
  69. "Jason Newsted to rejoin Metallica". idiomag. March 30, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-02. สืบค้นเมื่อ March 30, 2009.
  70. "Jason Newsted: Trujillo won't play with Metallica during Rock Hall induction". idiomag. April 1, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-06. สืบค้นเมื่อ April 1, 2009.
  71. "Metallica rocks Hall of Fame with other new members". Reuters. April 5, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ April 5, 2009.
  72. "Dave Mustaine to Metallica: 'I Am So Very Proud of All You Have Accomplished'". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. February 27, 2009. สืบค้นเมื่อ October 1, 2009.
  73. "Heading Down Under". Metallica. September 16, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-19. สืบค้นเมื่อ October 12, 2010.
  74. "Final Release for 2010". Metallica. October 25, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-04. สืบค้นเมื่อ November 15, 2010.
  75. "Metallica: 'Live at Grimey's' EP Due in November". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. October 6, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ October 12, 2010.
  76. "One More for 2010!". Metallica.com. October 6, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-10. สืบค้นเมื่อ October 12, 2010.
  77. "'Tallica at Sonisphere U.K." Metallica.com. December 13, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ December 13, 2010.
  78. "More Big 4!". Metallica.com. December 17, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-05. สืบค้นเมื่อ June 8, 2011.
  79. "The Big Four Coming to the States". Metallica.com. January 25, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-10. สืบค้นเมื่อ June 8, 2011.
  80. "The Big 4...European Edition Continued". Metallica.com. February 17, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-04. สืบค้นเมื่อ June 8, 2011.
  81. "Big 4 Again!". Metallica.com. February 22, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ June 8, 2011.
  82. "Big 4 to Sweden!". Metallica.com. March 2, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-04. สืบค้นเมื่อ June 8, 2011.
  83. "'Big Four' at Yankee Stadium: Metallica, Slayer, Megadeth and Anthrax thrash for the masses". September 15, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ January 13, 2016.
  84. "Secret Recording Project?". Metallica.com. June 15, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ June 16, 2011.
  85. "Metallica in India". Withjim.Com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ February 15, 2012.
  86. "Delhi Show Update". Metallica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-30. สืบค้นเมื่อ October 30, 2011.
  87. "Metallica: India gig organisers arrested". BBC. October 30, 2011. สืบค้นเมื่อ November 4, 2011.
  88. "Delhi Show Update". IBN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-06-22.
  89. "Heavy metal heaven as heads bang in Bangalore". DNA. October 31, 2011.
  90. "Metallica to headline Download Festival at Donington". BBC. Retrieved November 15, 2011.
  91. Metallica (March 22, 2012). "Metallica Celebrate 30-Year Anniversary at the Fillmore in San Francisco with Special Guests, New Beyond Magnetic EP". The Audio Perv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ March 26, 2012.
  92. "News | Thirty Years... A Week Long Celebration in San Francisco". Metallica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ March 26, 2012.
  93. "''Beyond Magnetic'' on iTunes". Itunes.apple.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ July 15, 2013.
  94. "Beyond Magnetic EP". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ October 29, 2012.
  95. Stacey Anderson (February 7, 2012). "Metallica Announce Orion Music Festival | Music News". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ March 26, 2012.
  96. "No New METALLICA Album Before 2014 at the Earliest, Says LARS ULRICH". Blabbermouth.net. July 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-20. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
  97. "Metallica Launch New Record Label". Rolling Stone. November 30, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-04. สืบค้นเมื่อ April 6, 2014.
  98. "Metallica forms Blackened Recordings". 3 News NZ. December 3, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2016-06-22.
  99. Roberts, Randall (November 30, 2012). "Metallica leaves Warner Music with its masters, forms Blackened Records". latimes.com. สืบค้นเมื่อ December 17, 2012.
  100. Hogan, Marc (November 30, 2012). "Metallica Name Their New Label: Blackened Recordings | SPIN | Newswire". SPIN. สืบค้นเมื่อ December 17, 2012.
  101. "News | More Magnetic... on DVD!". Metallica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ November 18, 2012.
  102. "Metallica: 'Quebec Magnetic' DVD, Blu-Ray Artwork Unveiled". Blabbermouth.net. October 22, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ November 22, 2012.
  103. RJ Cubarrubia (2013-04-24). "Metallica's 3D Movie Headed to IMAX". Rollingstone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-20. สืบค้นเมื่อ July 15, 2013.
  104. "Metallica to Hit the Studio in 2014: 'We'll Run Out of Excuses for Not Doing It by Then'". Ultimate-Guitar.
  105. Dekel, Jon (September 9, 2013). "Metallica to record new album in 2014". Postmedia News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-29. สืบค้นเมื่อ December 26, 2013.
  106. Noisecreep Staff (June 9, 2013). "Metallica Surprise by Playing 'Kill 'Em All' Set Under Fake Name Dehaan". Noisecreep. สืบค้นเมื่อ December 21, 2013.
  107. Graff, Gary (June 8, 2013). "Who Is Dehaan? It's Metallica, Playing 'Kill 'Em All' at Orion Music Festival". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 21, 2013.
  108. Coleman, Miriam (December 9, 2013). "Metallica Play a Dome in Antarctica". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-08. สืบค้นเมื่อ December 11, 2013.
  109. Adams, Gregory (December 19, 2013). "Metallica Release 'Freeze 'Em All' Live Album". Exclaim!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-03. สืบค้นเมื่อ December 21, 2013.
  110. Ng, David (January 27, 2014). "Grammys 2014: Lang Lang performs 'One' with Metallica". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ March 18, 2014.
  111. Metallica announce By Request dates
  112. Metallica Says new song is Going Well
  113. Savage, Mark (June 29, 2014). "Metallica: Glastonbury experience was 'sensational'". BBC News. สืบค้นเมื่อ June 29, 2014.
  114. "Metallica Performing Live at BlizzCon® 2014". Blizzard. October 21, 2014. สืบค้นเมื่อ July 19, 2015.
  115. "Metallica Night with the San Jose Sharks". Metallica. December 15, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-29. สืบค้นเมื่อ June 15, 2015.
  116. "Return To Lolla!". Metallica. March 25, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-19. สืบค้นเมื่อ June 15, 2015.
  117. "Metallica Day At AT&T". Metallica. May 1, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ June 15, 2015.
  118. "Off to Austin". Metallica. May 11, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-07. สืบค้นเมื่อ June 15, 2015.
  119. "The Night Before".
  120. Bienstock, Richard (April 11, 2016). "Lars Ulrich Takes Us Inside Metallica's Record Store Day Vault, Teases New Album". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 30, 2016.
  121. "Hardwired - Metallica". Metallica. August 18, 2016. สืบค้นเมื่อ August 18, 2016.
  122. "METALLICA'S HARDWIRED…TO SELF-DESTRUCT OUT TODAY ON BLACKENED RECORDINGS". www.aussieosbourne.com. สืบค้นเมื่อ May 27, 2017.
  123. Caulfield, Keith (November 28, 2016). "Metallica Rocks With Sixth No. 1 Album on Billboard 200 Chart". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  124. "Metallica 2017 Tour With Avenged Sevenfold, Volbeat + Gojira". Loudwire. สืบค้นเมื่อ May 27, 2017.
  125. "30 on 30: The Greatest Guitarists Picked by the Greatest Guitarists". guitarworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2010. สืบค้นเมื่อ April 28, 2010.
  126. "James Hetfield's official ballot for the 100 Greatest singers". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 25 February 2009.
  127. 127.0 127.1 Huey, Steve. "Ride the Lightning – Metallica". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 8, 2007.
  128. Huey, Steve. "Master of Puppets – Metallica". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 8, 2007.
  129. Huey, Steve. "Metallica Allmusic review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  130. Palmer, Robert (January 21, 1997). "Metallica Rolling Stone review". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2007. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  131. 131.0 131.1 Ali, Lorraine (November 20, 1997). "ReLoad Rolling Stone review". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2008. สืบค้นเมื่อ December 8, 2007.
  132. 132.0 132.1 Fricke, David (December 4, 1996). "Load Rolling Stone review". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2007. สืบค้นเมื่อ December 7, 2007.
  133. Sinclair, Tom (June 9, 2003). "Music Review St. Anger". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-20. สืบค้นเมื่อ December 8, 2007.
  134. Loftus, Johnny. "Allmusic – St. Anger". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 8, 2007.
  135. "Metallica Drummer on Producer Rick Rubin: 'He's Forced Us to Rethink Big-Picture Stuff'". Blabbermouth.net. February 13, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ December 9, 2007.
  136. Edmondson, Jacqueline (2013). Music in American Life: An Encyclopedia of the Songs, Styles, Stars, and Stories That Shaped Our Culture. ABC-CLIO. p. 708. ISBN 0-313-39348-6.
  137. Lee, Cosmo (May 7, 2007). "Get Thrashed: The Story of Thrash Metal". Stylus Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ January 3, 2008.
  138. Reporter, Hürriyet Daily News (June 28, 2010). "Metallica rocks Istanbul". Hürriyet Daily News. สืบค้นเมื่อ May 17, 2014.
  139. "Top Selling Artists". RIAA. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  140. "The Nielsen Company & Billboard's 2012 Music Industry Report". Business Wire. January 4, 2013. สืบค้นเมื่อ July 1, 2013.
  141. "Metallica Biography". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2007. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  142. Thomas Erlewine, Stephen & Prato, Greg. "Metallica Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  143. 143.0 143.1 "Why they Rule? Metallica". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-14. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  144. Wright, James. "Godsmack". Blistering. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  145. Porter, Chad. "Machine Head Exclusive Interview with lead singer/guitarist Robb Flynn". Connect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2008. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  146. "Trivium Interview". Metal Theater. November 2, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-23. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  147. "Interview with Matt from Trivium at RoadRage '04". Metal Underground. August 9, 2004. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  148. Bowar, Chad. "Avenged Sevenfold Interview". About.com. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  149. "God Forbid – The new wave of American metal has arrived". f-p-e-.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  150. Soghomonian, Talia. "Interview with Dave Chavarri of Ill Niño". nyrock.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-22. สืบค้นเมื่อ December 6, 2007.
  151. "Adema Drummer: We Are Influenced by Metallica and Pantera". Blabbermouth.net. August 11, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-01. สืบค้นเมื่อ December 9, 2007.
  152. "Metallica Rocks 'The Simpsons'". Spin. July 7, 2007. สืบค้นเมื่อ December 6, 2007.
  153. "Metalocalypse". Metallica.com. September 5, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-22. สืบค้นเมื่อ June 9, 2011.
  154. Kaufman, Gil (May 16, 2005). "Metallica Mash-Up Band Gets By with a Little Help from Its Friend ... Lars". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  155. "100 Greatest Artists of Hard Rock". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09. สืบค้นเมื่อ December 23, 2006.
  156. "VH1 Classic Top 20 Metal Bands". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  157. "100 Greatest Artists: Metallica". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ September 5, 2013.
  158. "The RS 500 greatest albums of all time". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ June 5, 2011.
  159. "Q 50 Heaviest Albums of All Time". Rocklistmusic.co.uk. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  160. "Top 25 Metal Albums". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  161. "The Top 100 Heavy Metal Albums". Metal-rules.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  162. "The RS 500 Greatest Songs of All Time". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2007. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  163. "Metallica Timeline". Metallica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ June 9, 2011.
  164. "Icon Performance Highlights". MTV. สืบค้นเมื่อ December 5, 2007.
  165. Gaston, Martin (2013-04-09). "Metallica songs yanked from Rock Band DLC as licensing agreements expire". Gamespot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 2014-08-26.
  166. "Grammy Award winners – Metallica". Grammy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 14, 2015.
  167. "Grammy Award winners – Death Magnetic". Grammy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2015. สืบค้นเมื่อ April 14, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้