เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันในฤดูน้ำหลาก เป็นเพลงปฏิพากย์ชนิดเดียวที่ร้องเล่นกลางลำน้ำโดยพ่อเพลงและแม่เพลงอยู่คนละลำ จังหวัดที่เล่นเพลงเรือ ได้แก่ จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำในภาคกลาง เช่น อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และ พิษณุโลก เพลงเรือส่วนใหญ่จะถนัดร้องบทชิงชู้ ฉันทลักษณ์เหมือนเพลงปรบไก่[1]

ตัวอย่าง แก้

การร้องเพลงเรือจะมีบทลูกคู่รับว่า ฮ้าไฮ้ และมีบทกระทุ้งว่า ชะชะ ดังตัวอย่าง[2]

ฝ่าชาย

  1. เอ่อเอ้อเอิงเอยวันี้ประจวบปานบวบประจบบุญพาได้มาพบ (ห้า ให้) น้องยา
  2. ให้แม่เอ่ยกันเถิดน้องขอให้แม่ร้องขึ้นรำพี่อยากจะขอฟังคำ (ห้า ให้) น้องว่า
  3. ให้แม่ร่ายขึ้นร้องให้แม่น้องเอื้อนเอ่ยอย่าทำท่าวางเฉย (ห้า ให้) ให้มันช้า
  4. น้องอย่านิ่งจับบทไปเลยแม่รจนา เงาะน้อยหอยสังข์คู่สร้างมาหา ให้เผยพักตร์ขึ้นมาพาทีเอยเอิง

ฝ่ายหญิง

  1. เสียงใครที่ไหนแน่เสียงใครมาเรียกหาแม่(ห้า ให้) ที่ไหนล่า
  2. แต่พอเรียกก็ขานแต่พอวานก็เอ่ยน้องไม่นิ่งอยู่เฉย(ห้า ให้) ชักช้า
  3. ถามพ่อเจ้าประคุณทูลกระหม่อมเต่าทองพี่มาเรียกหาน้อง(ห้า ให้) ทำไมขา
  4. ฉันร้องทักชมโฉมไปด้วยลมวาจา ฉันได้รองน้ำข้าวไว้ซักเก้ากะลาให้คุณพี่ที่มาหาน้องเอย

ลักษณะบังคับ แก้

  1. บาทละ 2 วรรค
  2. วรรคละ 7 - 9 คำ
  3. จำนวนคำวรรคแรกมักมากกว่าวรรคหลัง
  4. ไม่จำกัดความยาวในหนึ่งบทมีตั้งแต่ 3 คำกลอนขึ้นไป
  5. จบบทด้วยคำว่า เอย
  6. บังคับสัมผัสแบบกานต์ดั้น

บทร้องพิเศษ แก้

บทจากเพลงเรือนอกจากจะร้องแบบธรรมดาแล้วยังมีบทร้องพิเศษที่เรียกว่า ออกช่อ ต่อท้าย ดังตัวอย่าง

ญ.

  • ช่อเจ้าเอ้ยมะกอกหอมดอกมะปลิง
  • พอของใหม่มาเข้าเอาของเก่าขว้างทิ้ง
  • ดิฉันไม่ใช่แสร้งรำพันเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • จะดักลอบเอาปลาเขาถอดงาขว้างทิ้ง
  • อีกหน่อยก็แบนแปดแป๋เเหมือนตะแกรกล้วยปิ้ง
  • คงจะมีอยู่เหลือก็ไอ้มะขือนมลิง
  • ช่อฉันเอ้ยมะปลิงหอมไม่หายเลยเอย


ช.

  • เหลืองเอ๋ยใบยอหอมช่อผักบุ้ง
  • จะแปลงเป็นยุงก้นปล่องไปกัดน้องในมุ้ง
  • กัดตรงไหนไม่ปวดยกเว้นตรงหนวดยุ่งๆ
  • เจ้าช่อฉันเอ้ยผักยุ้งหอมเมื่อยามเย็นเอยหอมเมื่อเย็นวานเอยหอมเมื่อวานซืนเอยหอมเมื่อคืนวานเอย

อ้างอิง แก้

  1. สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2535.
  2. ประเทือง คล้ายสุบรรณ์. ร้อยกรองชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : สุทธิสารการพิมพ์, 2528.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม : เพลงเรือ (pdf)[ลิงก์เสีย]
  2. ปลูกปัญญา : การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงเรือ[ลิงก์เสีย]