เพลงชาติอัฟกานิสถาน

ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ประเทศอัฟกานิสถานมีเพลงชาติหลายเพลง

ประวัติ แก้

สดุดีพระมหากษัตริย์ (ค.ศ. 1926–1943) แก้

นี่เป็นเพลงชาติแรกของประเทศ ซึ่งแต่งในช่วงที่ยังมีพระมหากษัตริย์ โดยมีแต่เสียงดนตรีและไม่มีเนื้อร้อง[1]

การสดุดีครั้งใหญ่ (กษัตริย์ผู้กล้าหาญและสูงส่งของเรา) (ค.ศ. 1943–1973) แก้

นี่คือเพลงชาติที่สองของประเทศ ซึ่งแต่งในช่วงที่ยังมีพระมหากษัตริย์[2]

เพลงชาติสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1973–1978) แก้

จงร้อน จงร้อนกว่า (ค.ศ. 1978–1992) แก้

มีการใช้เพลงชาตินี้หลังก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 1978 เพลงชาตินี้ประพันธ์โดยสุลัยมาน ลาเยกในนามของรัฐบาลพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA) ที่นำโดยนูร์ มูฮัมหมัด ตะรากี ผู้ตัดสินใจเปลี่ยนสัญลักษณ์แห่งชาติหลังรัฐประหารลัทธิมากซ์ใน ค.ศ. 1978[3][4][5] ประพันธ์โดยจะลีล ฆาฮ์ลานด์และเรียบเรียงโดยอุสตาดซาลิม ซัรมัด (Ustad Salim Sarmad)[6][7] เพลงนี้รู้จักกันในอีกชื่อว่า "การัมชาฮ์ลาการัมชาฮ์" (แปลว่า "จงร้อน จงร้อนกว่า") ซึ่งเป็นส่วนเริ่มต้นของเพลง

ป้อมปราการอิสลาม หัวใจแห่งเอเชีย (ค.ศ. 1992–1996, 2002–2006) แก้

จาก ค.ศ. 1992 ถึง 2006 อัฟกานิสถานใช้เพลงสงครามของมุญาฮิดีนที่แต่งใน ค.ศ. 1919 โดยอุสตาดกอซิมเป็นเพลงชาติ[8][9] ซึ่งมีอีกชื่อว่า "ป้อมปราการอิสลาม หัวใจแห่งเอเชีย" (เปอร์เซีย: قلعه اسلام قلب اسیا) ซึ่งเป็นบทเปิดของเพลง[10][11][12]

ต่อมามีการนำเพลงนี้มาใช้ใหม่ในรัฐบาลช่วงเปลี่ยนผ่านอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2002[13] ซึ่งยังคงเป็นเพลงชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2004 จนถึง ค.ศ. 2006[14][15]

ดะเดอะบาโตะราโนะโกร์ (ค.ศ. 1996–2001, 2021-) แก้

ในช่วงปลายคริสตทศวรรษ 1990 เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของตอลิบานยึดครองอัฟกานิสถานส่วนใหญ่และปกครองจนถึงปลาย ค.ศ. 2001 พวกเขาไม่มีร่างกฎหมายที่เจาะจงสัญลักษณ์ ซึ่งรวมไปถึงเพลงชาติและธง แต่มีนะชีดที่ไม่มีดนตรีชื่อดะเดอะบาโตะราโนะโกร์ (แปลว่า นี่คือบ้านของผู้กล้า) ถูกใช้ในสื่อและพิธีทางการ ทำหน้าที่เป็นเพลงชาติ โดยพฤตินัย

เพลงชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2006–2021) แก้

เพลงชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (เปอร์เซีย: سرود ملی - ซูรูเดมิลลี, ปาทาน: ملی سرود - Millī Surūd; แปลว่า เพลงชาติ) ถูกนำมาใช้โดยโลยาจีร์กาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006

ตามมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน "เพลงชาติอัฟกานิสถานมีเนื้อหาเป็นภาษาปาทานโดยเอ่ยถึงวลี "อัลลอฮ์ทรงยิ่งใหญ่" และชื่อบรรดาชนชาติต่าง ๆ ของอัฟกานิสถาน"[16] เนื้อเพลงนี้ประพันธ์โดยอับดุลบารี จะฮานี และทำนองโดยชาวเยอรมันเชื้อสายอัฟกัน บาบรัก วัซซา [de].[17]

อ้างอิง แก้

  1. "Afghanistan (1926-1943)". 6 May 2012.
  2. "Afghanistan (1943-1973)". 6 May 2012.
  3. "State Funeral for Afghan Leader Slain in '78 Coup". The New York Times. 18 March 2009.
  4. "An Afghan Secret Revealed Brings End of an Era". The New York Times. 1 February 2009.
  5. The Journal (ภาษาอังกฤษ). Rabetat al-Alam al-Islami. 1979. p. 62.
  6. Visser, Derkwillem (1991). Flaggen, Wappen, Hymnen: Bevölkerung, Religion, Geographie, Geschichte, Verwaltung, Währung (ภาษาเยอรมัน). Battenberg. p. 258. ISBN 9783894410445.
  7. "Afghanistan (1978-1992)". 9 May 2012.
  8. Bristow, Michael; Lim, Josh; Popp, Reinhard (11 May 2012). "Afghanistan (1992-1999, 2002-2006)". NationalAnthems.info. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.
  9. "National anthems - Islamic State of Afghanistan (1992-2006)". 21 August 2016 – โดยทาง YouTube.
  10. "Fortress of Islam, heart of Asia…" – โดยทาง Amazon.
  11. "Afghanistan: "Fortress of Islam, Heart of Asia…"" – โดยทาง Amazon.
  12. Pigott, Peter (28 February 2007). Canada in Afghanistan: The War So Far. Dundurn. p. 17 – โดยทาง Internet Archive. Fortress of Islam, Heart of Asia.
  13. "Sououd-e-Melli". 15 December 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2005.[การอ้างอิงวกเวียน]
  14. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-02. สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  15. "National Anthem Downloads, Lyrics, & Information: NationalAnthems.us - Afghanistan: New recording by the composer". www.nationalanthems.us.
  16. "The Constitution of Afghanistan". afghan-web.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-28. สืบค้นเมื่อ 2013-04-09.
  17. "National Anthem". afghan-web.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-11. สืบค้นเมื่อ 2013-04-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:เพลงชาติในทวีปเอเชีย