เพชรในเพลง 2552 กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดงานมอบรางวัล ในวันที่วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ซึ่งตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมอบรางวัลสำหรับนักร้อง เพลงไทยสากล ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เพื่อยกย่องบุคลลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และนักร้องที่ร้องเพลงออกเสียงชัดเจน และถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย โดยมอบรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผลรางวัล ดังนี้ [1]

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต แก้

  • ประเภทเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงค่าน้ำนม ผู้ประพันธ์ นายไพบูลย์ บุตรขัน
  • ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงยอยศพระลอ ผู้ประพันธ์ นายพยงค์ มุกดา
  • ประเภทเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก ได้แก่ เพลงเจ้าผีเสื้อเอย ผู้ประพันธ์ นายกิตติพงษ์ ขันธกาญจน์ และนายวีระศักดิ์ ขุขันธิน

รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย แก้

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงสุขที่ใจ ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ วัฒนจัง
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงไผ่ลู่ลม ผู้ประพันธ์ นายแสนคม สมคิด
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงทั้งชีวิต ผู้ประพันธ์ นายศรัณย์ วงศ์น้อย และนายจิระวัฒน์ ตันตรานนท์ (am:pm)

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงไหมแท้ที่แม่ทอ ผู้ประพันธ์ นายไพวรินทร์ ขาวงาม
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงดอกดู่บาน ผู้ประพันธ์ นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรักแท้คือแม่เรา ผู้ประพันธ์ นายวิเชียร คำเจริญ (ลพ บุรีรัตน์)

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงโลกอยู่ทนคนอยู่นาน ผู้ประพันธ์ นายสมเกียรติ เมธาพฤทธิ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงล้างมือ ผู้ประพันธ์ นายแพทย์วิโรจน์ คงสุวรรณ

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย แก้

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงไปเที่ยวกัน ผู้ขับร้อง นายธงไชย แมคอินไตย์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเจ็ดวันที่ฉันเหงา ผู้ขับร้อง นายสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้ เดอะสตาร์)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรักของเราอย่าให้เขาทำลาย ผู้ขับร้อง นางสาวธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงแสงและเงา ผู้ขับร้อง นางสาววิชญาณี เปียกลิ่น (แก้ม เดอะสตาร์)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเจ้าหญิงของเรา ผู้ขับร้อง นางสาวธิติมา ประทุมทิพย์ (แอน ธิติมา)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงหนึ่งในดวงใจ ผู้ขับร้อง นายสุทธิราช อุสุภะ (กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงแสงเดือนถามข่าวแสงดาวนำทาง ผู้ขับร้อง นายพงศธร ศรีจันทร์ (ไผ่ พงศธร)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรอเป็นคนใช่ของเธอ ผู้ขับร้อง นายพิชิตชัย ศรีเครือ (ตุ้ม จ่านกร้อง)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรักแท้คือแม่เรา ขับร้อง นางสาวเตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนทร)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงไหมแท้ที่แม่ทอ ผู้ขับร้อง นางสาวอรทัย ดาบคำ (ต่าย อรทัย)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงจ้างมันเต๊อะ ผู้ขับร้อง นางสาวนิภาพร แปงอ้วน (กระแต)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็กชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงฝนตกเป็นค้างคาว ผู้ขับร้อง เด็กชายพีระณัฐ มณีรัตนะชัย (น้องนิว)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเด็ก ม. ผู้ขับร้อง เด็กชายปริญญา เพชรสุวรรณ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงยายจ๋าหนูลาบวช ผู้ขับร้อง นายธนพล รัศมี

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็กหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงสายไหมใยรัก ผู้ขับร้อง เด็กหญิงถิรพร ทรงดอน
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงอัญชลีวันทาอภิวาท ผู้ขับร้อง เด็กหญิงธันยพร คงแจ่ม
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเด็กไทย ผู้ขับร้อง เด็กหญิงพิมพ์อุบล ศุภนิมิตกุล

อ้างอิง แก้