เบิร์ด-เสก เป็นอัลบั้มเพลงชุดพิเศษของธงไชย แมคอินไตย์ และ เสกสรรค์ ศุขพิมาย ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2547[1] เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบ 20 ปี ของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และมียอดจำหน่ายสูงสุดแห่งปี คือ 2 ล้านชุด

เบิร์ด-เสก
ภาพปกอัลบั้ม เบิร์ด-เสก
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด21 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
บันทึกเสียงพ.ศ. 2546
แนวเพลงป็อป, ร็อก, ป็อปร็อก, ร็อกแอนด์โรล, บลูส์
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ลำดับผลงานของธงไชย แมคอินไตย์
ชุดรับแขก
(2545)
เบิร์ด-เสก
(2547)
วอลุม วัน
(2548)
ลำดับผลงานของเสกสรรค์ ศุขพิมาย
7 สิงหา
(2546)
เบิร์ด-เสก
(2547)
แบล็คแอนด์ไวต์
(2548)

จุดเริ่มต้นของอัลบั้มชุดนี้เกิดขึ้นโดย เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์ ไปชักชวน เสกสรรค์ ศุขพิมาย หรือที่รู้จักกันในนาม เสก โลโซ ให้มาออกอัลบั้มพิเศษคู่กันโดยเพลงในอัลบั้มชุดนี้ได้รวบรวมเพลงดังของทั้งคู่มาขับร้องใหม่โดยมีเพลงใหม่อีก 2 เพลงคือ อมพระมาพูด และ คุณรู้ไหมครับ โดยได้มีคอนเสิร์ตใหญ่จัดการแสดง 2 วัน ชื่อคอนเสิร์ต เบิร์ดซน เบิร์ดเสก แสดงเมื่อวันที่ 5 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

รายชื่อเพลง แก้

เพลง ผู้ขับร้อง คำร้อง/ทำนอง เรียบเรียง
อมพระมาพูด ธงไชย แมคอินไตย์
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
คุณรู้ไหมครับ ธงไชย แมคอินไตย์ เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
คอนฟิวส์ ซะ ธงไชย แมคอินไตย์
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
รับ (แฟนเธอ) ไม่ได้ เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
นานเท่าไรก็รอ ธงไชย แมคอินไตย์

เสกสรรค์ ศุขพิมาย

เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
สองเป็นหนึ่ง ธงไชย แมคอินไตย์
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
ซมซาน ขับร้องใหม่โดย
ธงไชย แมคอินไตย์
เสกสรรค์ ศุขพิมาย เพชร มาร์
สวยไม่เกรงใจใคร ธงไชย แมคอินไตย์
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย
ขอบใจจริง ๆ ขับร้องใหม่โดย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
คำร้อง
นิติพงษ์ ห่อนาค
ทำนอง
ชาตรี คงสุวรรณ
เรียบเรียง
ชาตรี คงสุวรรณ
เรียบเรียบใหม่โดย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
ใจสั่งมา ขับร้องใหม่โดย
ธงไชย แมคอินไตย์
เสกสรรค์ ศุขพิมาย เพชร มาร์
สบาย สบาย ขับร้องใหม่โดย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย
คำร้อง
เรวัต พุทธินันทน์
ทำนอง
กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
เรียบเรียง
กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
เรียบเรียบใหม่โดย
เสกสรรค์ ศุขพิมาย

สรุปผล แก้

  • ปี พ.ศ. 2547
    • "อัลบั้มขายดีแห่งปี" อัลบั้ม "เบิร์ด-เสก" จากการสรุปผลที่สุดแห่งปี โดยหนังสือพิมพ์สยามกีฬา ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547
    • "เพลงแห่งปี" เพลง "อมพระมาพูด" จากการสรุปผลโดยหนังสือพิมพ์สยามกีฬา ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547
    • "อัลบั้มที่ทำยอดขายสูงสุด" ของปี พ.ศ. 2547 อัลบั้ม "เบิร์ด-เสก" ยอดจำหน่าย 2 ล้านชุด จากสรุปผลประกอบการ GRAMMY ปี พ.ศ. 2547[2]
    • "อัลบั้มหลักล้าน" สรุปโดย GMM Superstar บริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่,33rd Year GMM GRAMMY : MILLION ALBUMS "อัลบั้มหลักล้านทั้งหมดของแกรมมี่ ตลอด 33 ปี วันที่ 9 เมษายน 2560
    • "ที่สุดของโปรเจพิเศษของแกรมมี่" อันดับ 3 จากการจัดอันดับ The BEST of SPECIAL PROJECTS ของแกรมมี่ จัดอันดับโดย GMM Superstar- Label Under GMM Trading วันที่ 14 เมษายน 2560
    • "อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาล" อันดับ 10 จาก 100 อันดับ อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่ (รวมศิลปิน ชาย หญิง กลุ่ม รวมทั้งโปรเจกต์ และอัลบั้มพิเศษ) ยอดขายเกิน 2.5 ล้านชุด สรุปโดย GMM Superstar[3]

อ้างอิง แก้

  1. สยามโซน เพลงอัลบั้ม เบิร์ด-เสก เรียกข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552
  2. ประกาศผลประกอบการGRAMMY อัลบั้มเบิร์ดเสกทำยอดขายสูงสุดปี 2547 รวม 2 ล้านชุด
  3. "100 อันดับ อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่". GMM Superstar. 2017-12-30. สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.