เนหะมีย์ 2 (อังกฤษ: Nehemiah 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือเนหะมีย์ของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หรือเป็นบทที่ 12 ของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์ในคัมภีร์ฮีบรูซึ่งถือว่าหนังสือเอสราและหนังสือเนหะมีย์เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน[2] ธรรมเนียมของศาสนายูดาห์ระบุว่าเอสราเป็นผู้เขียนของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์รวมถึงหนังสือพงศาวดาร[3] แต่นักวิชาการสมัยโดยทั่วไปเชื่อว่าผู้เรียบเรียงจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (ที่เรียกว่า "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร") เป็นผู้เขียนสุดท้ายของหนังสือเหล่านี้[4] ในบทที่ 2 ของหนังสือเนหะมีย์ นับตั้งแต่เมื่อเนหะมีย์ได้รับรายงานเกี่ยวเยรูซาเล็มในเดือนคิสเลฟ (พฤศจิกายน/ธันวาคม) เนหะมีย์รอจนกระทั่งเดือนนิสาน (มีนาคม/เมษายน) เมื่อเนหะมีย์ทูลขอกษัตริย์อารทาเซอร์ซีสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ขออนุญาตกกลับไปช่วยก่อสร้างเยรูซาเล็มขึ้นใหม่[5] กษัตริย์อารทาเซอร์ซีสทรงอนุญาตตามคำทูลขอของเนหะมีย์ และถึงแม้ว่าเนหะมีย์จะมีอำนาจเหนือบรรดาผู้ว่าราชการมณฑลฟากตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรติสน้อยกว่าเอสรา แต่เนหะมีย์ก็ได้รับตำแหน่งราชการและมีนายทหารและพลม้าคุ้มกัน[5]

เนหะมีย์ 2
เนหะมีย์ถวายถ้วยเสวยแก่กษัตริย์อารทาเซอร์ซีส จุลจิตรกรรมจากคัมภีร์ไบเบิลของ Monastery of Santa Maria de Alcobaça (ราวทศวรรษ 1220 (National Library of Portugal ALC.455, fl.147)
หนังสือหนังสือเนหะมีย์
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์16

ต้นฉบับ แก้

 
เนหะมีย์ถวายถ้วยเสวยทองคำแก่กษัตริย์อารทาเซอร์ซีส ภาพวาดของ Fol. 178v ของสำนาต้นฉบับมีภาพประกอบในภาษาละติน (ค.ศ. 1270)

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 20 วรรค

พยานต้นฉบับ แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6][a]

ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[8]

เนหะมีย์ถูกส่งไปยูดาห์ (2:1–8) แก้

การตรวจสอบกำแพงเมืองและการถูกต่อต้าน (2:9–20) แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. หนังสือเอสรา-เนหะมีย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[7]

อ้างอิง แก้

  1. Halley 1965, p. 235.
  2. Grabbe 2003, p. 313.
  3. Babylonian Talmud Baba Bathra 15a, apud Fensham 1982, p. 2
  4. Fensham 1982, pp. 2–4.
  5. 5.0 5.1 Grabbe 2003, p. 321.
  6. Würthwein 1995, pp. 36–37.
  7. P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
  8. Würthwein 1995, pp. 73–74.

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้