เนตเจราเพเรฟ เป็นพระนามของเจ้าชายและเป็นมหาปุโรหิตแห่งอียิปต์โบราณ พระองค์มีพระชนม์ชีพและทรงงานอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงระหว่างราชวงศ์ที่สามถึงราชวงศ์ที่สี่ ในช่วงระยะเวลาของยุคอาณาจักรเก่า[1]

เนตเจราเพเรฟ ใน อักษรอียิปต์โบราณ
พระนาม :
R8Aa20a
p
r
f
เนตเจอร์-อาเพเรฟ

nṯr-ʳpr-f

ผู้ที่ทำงานรับใช้พระเจ้า

ลำดับตำแหน่ง :
M23
X1
G39
ซา-เนซุต

s3-nsw.t

พระราชโอรสชองกษัตริย์

ประวัติ แก้

ด้านครอบครัว แก้

เจ้าชายเนตเจราเพเรฟเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนเฟรู (สันนิษฐานเป็นไปได้มากที่สุด) อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานเหล่านี้ถูกโต้แย้งเนื่องจากพระนาม "โอรสของกษัตริย์" เป็นพระนามที่ได้รับการยกย่องในสมัยยุคราชอาณาจักรเก่าให้แก่เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจโดยชอบธรรม[2]

ตำแหน่ง แก้

พระองค์มีตำแหน่งเป็นพะรราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรู และยังเป็นพระมหาปุโรหิต (นักบวชชั้นสูง)

สุสาน แก้

พระองค์ได้ถูกฝังอยู่ใน มาสตาบา หมายเลข 1 ที่ดาห์ชูร์ ซึ่งถูกขุดค้นพบขึ้นมาโดยชาวเยอรมันโบราณคดี[3] หลุมฝังพระศพทำมาจากดินโคลนและมีความยาวด้านละ 35 เมตร x 18 เมตร โครงสร้างภายในประกอบไปด้วยบันไดที่มีบันไดไม่กี่ก้าวที่ทอดเข้าสู่ทางเดินตรง ทางเดินหันไปทางเดินเลี้ยวซ้ายและขวาสร้างห้องรูปตัวที มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะพูดถึงว่าภูมิประเทศของเมืองดาห์ชูร์ ที่ให้พื้นดินค่อนข้างไม่คงทน อาคารห้องใต้ดินลึกและทำให้บังคับผู้สร้างหลุมฝังศพที่จะสร้างห้องภายในมาสตาบาและอาจจะต่ำกว่าระดับพื้นดิน กรณีคล้าย ๆ กันนี้เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างพีระมิดหักงอ เมื่อผนังและเพดานของห้องใต้พื้นดินเริ่มก่อให้เกิดรอยร้าว ที่ห้องส่วนกลางของสุสานของพระองค์มีแท่นบูชาถูกวางไว้ในห้องสวดมนต์ รอบข้างทั้งสองด้านของแท่นบูชาจะมีแผ่นแกะสลัก ซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างสมบูรณ์ และบรรยาเกี่ยวกับวิหารที่ปิรามิดของฟาโรห์สเนฟรูที่ไมดุมและดาห์ชูร์ แผ่นแกะสลักทั้งสองเคยมีพระนามของพระองค์ หนึ่งในทั้งสองแผ่นแกะสลักนั้นได้ถูกขโมยในระหว่างการบูรณะในช่วงของราชอาณาจักรกลางและใช้เป็นกรอบประตูสำหรับวิหารในหุบเขาของฟาโรห์สเนฟรูที่ไมดุม[4]

อ้างอิง แก้

  1. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, London 2004, ISBN 0-500-05128-3, p. 52 & 61.
  2. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, London 2004, ISBN 0-500-05128-3, p. 52 & 61.
  3. Nicole Alexanian: Dahschur. Bd. II: Das Grab des Prinzen Netjer-aperef: die Mastaba II/1 in Dahschur (= Archäologische Veröffentlichungen, Deutsches Archäologisches Institut, Abteilung Kairo. Bd. 56). von Zabern, Mainz 1999, ISBN 978-3805325578.
  4. Miroslav Verner: The Pyramids: The Mystery, Culture, and Science of Egypt's Great Monuments. Grove Press, New York (US) 2007, ISBN 0802198635, p. 181.