เทียม ไชยนันทน์

เทียม ไชยนันทน์ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2450 - 21 เมษายน พ.ศ. 2540) เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 7 สมัย เป็นบิดาของนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และ ปู่ของนาย ธนิตพล ไชยนันทน์ กรรมการบริหาร พรรคประชาธิปัตย์

เทียม ไชยนันทน์
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
ถัดไปปิยะณัฐ วัชราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตืธรรม
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปใหญ่ ศวิตชาติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2450
อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
เสียชีวิต21 เมษายน พ.ศ. 2540 (89 ปี)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสนางพร้อม ไชยนันทน์

ประวัติ แก้

เทียม ไชยนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2450 ที่ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรของหลวงคลัง (ขุนทอง ไชยนันทน์) กับ นางก้อนทอง ไชยนันทน์[2] สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับ นางพร้อม ไชยนันทน์ (สกุลเดิม: อยู่สวัสดิ์) มีบุตร-ธิดา 6 คน โดยคนที่ 4 คือ เทอดพงษ์ ไชยนันทน์

การทำงาน แก้

เทียม เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ ในหลายอำเภอของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก อำเภอแม่สอด และ อำเภออุ้มผาง รวมถึง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

งานการเมือง แก้

เทียม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2522 รวม 7 สมัย

เทียม ไชยนันทน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 13 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2518[3] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

เทียม ไชยนันทน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดตาก
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดตาก
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดตาก
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5]
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[6]
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

เทียม ถึงแก่อนิจกรรม จากโรคหัวใจเรื้อรังจนเกิดอาการแทรกซ้อน เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2540 สิริอายุรวม 89 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. "ปู่เทียม" เหง้าแท้ "ประชาธิปัตย์" ผู้ผลิตทายาท "ไชยนันทน์" สืบทอด 65 ปีการเมืองไทย
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  4. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔