เทียนนกแก้ว

สปีชีส์ของพืช
เทียนนกแก้ว
ดอกเทียนนกแก้ว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Balsaminaceae
สกุล: Impatiens
สปีชีส์: I.  psittacina
ชื่อทวินาม
Impatiens psittacina
Hook.f.

เทียนนกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Impatiens psittacina; อังกฤษ: parrot flower) อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae อันดับ Ericales เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นพบได้ในรัฐมณีปุระของอินเดีย, พม่า และภาคเหนือของไทย แถบจังหวัดเชียงใหม่[1] จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวงศ์เทียน มีรูปทรงของดอกที่สวยงามเหมือนนกแก้วที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า “ดอกเทียนนกแก้ว”[2] จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกและเป็นพรรณไม้เมืองหนาว[3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ลำต้น แก้

  • ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 30-150 ซม. ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่[4]

ใบ แก้

  • ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ

ดอก แก้

  • ออกดอก[5]เดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประสีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติดกับก้านดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ออกดอกในราวเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม

ผล แก้

  • เป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก

แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย แก้

  • เป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาหรือบริเวณโขดหินปูนที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร และพบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว ดอกจะบานราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน คนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเพราะอยู่บนภูเขาสูง และดอกเทียนนกแก้วมักขึ้นในพื้นที่ที่เป็นโขดหิน ใกล้ ๆกับต้นหานช้างร้องที่เป็นพิษ[6]

การเพาะปลูก แก้

  • เทียนนกแก้ว เป็นพืชหายาก สวยงาม ค่อนข้างหายากสำหรับบ้านเราพบได้ทางเหนือ อาทิ ดอยเชียงดาว ไม่ควรนำมาเพาะปลูกเอง เนื่องจากเป็นดอกไม้ป่าที่จะหาเมล็ดปลูกได้ยากมาก

ความงาม แก้

  • การพบเจอนั้นค่อนข้างลำบาก พบเทียนนกแก้วได้ที่ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลักษณะเป็นเทือกเขา ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยยอดเขาสูงหลายยอด ยอดเขาที่สูงที่สุดเรียกว่าดอยหลวงเชียงดาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,220 เมตรครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาวและตำบลแม่นะ จังหวัดเชียงใหม่
  • การเดินทางไปดูดอกเทียนนกแก้วนั้นจะต้องเดินไปตามป่า ขึ้นไปยังยอดดอย ซึ่งเป็นเป็นเทือกเขาหินปูน มีแนวทอดยาวรวมทั้งพืชพันธ์ดอกไม้ประเภทกึ่งอัลไพน์ เป็นพืชเฉพาะถิ่น หายากมีอยู่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคมดอกไม้ชนิดแรกที่จะเจอคือเทียนนกแก้วที่มีให้เห็นเฉพาะช่วงที่มีฝนหรือมีความชื้นสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบ ชมพูพิมพ์ใจ นางจอย หรีดเชียงดาว ฟองหินเหลือง ฟ้าคราม เหยื่อจง ขาวปั้น เป็นต้น
 
ดอกเทียนนกแก้วกำลังเริงระบำท่ามกลางแสงแดด

ดอกไม้แห่งเมืองหนาว แก้

  • เทียนนกแก้วยังเป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็นอีกด้วย[7] ซึ่งไม่ค่อยได้พบต้นพืชนี้ทางภาคอื่นนัก เพราะด้วยอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม อากาศร้อนจัดในเวลากลางวัน และเป็นดอกไม้เมืองหนาวที่มีเฉพาะประเทศไทยอย่างเดียว

อ้างอิง แก้

  1. Morgan, P. Raymond (2007). Impatiens: the vibrant world of Busy Lizzies, Balsams, and Touch-me-nots. Timber Press. p. 205. ISBN 0881928526.
  2. "Plant Latin Dictionary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08.
  3. ดอกไม้เมืองหนาว
  4. ลักษณะของลำต้นเทียนนกแก้ว
  5. ลักษณะดอกเทียนนกแก้ว
  6. [1][ลิงก์เสีย] จากเว็บ http://www.archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_joomgallery&func=detail&id=8108&Itemid=55[ลิงก์เสีย]
  7. [2][ลิงก์เสีย] จากเว็บ http://www.thaigoodview.com/node/101678 เก็บถาวร 2012-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้