เทศบาลเมืองพิชัย

เทศบาลเมืองในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ประเทศไทย

พิชัย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองที่ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 3–4, 9, 12, 14–15 รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 5, 8, 13 ของตำบลพิชัย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครลำปาง[2][3]และองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย) ในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลพิชัยที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[4] ปี พ.ศ. 2534 ได้แยกบ้านต้า บ้านหน้าค่าย ของสภาตำบลพิชัย ไปรวมกับท้องที่ของเทศบาลเมืองลำปาง[3]

เทศบาลเมืองพิชัย
แม่น้ำวังที่ตำบลพิชัย
แม่น้ำวังที่ตำบลพิชัย
ทม.พิชัยตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง
ทม.พิชัย
ทม.พิชัย
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองพิชัย
พิกัด: 18°19′57″N 99°32′18″E / 18.33250°N 99.53833°E / 18.33250; 99.53833
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
อำเภอเมืองลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.50 ตร.กม. (6.37 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด13,221 คน
 • ความหนาแน่น801.27 คน/ตร.กม. (2,075.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04520106
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 999 หมู่ 14 ถนนพหลโยธิน ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
เว็บไซต์www.pichaicity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2535 ได้แยกท้องที่หมู่ 1–4, 8–9 (ในขณะนั้น) ของสภาตำบลพิชัย ซึ่งมีเขตชุมชนตามแนวถนนพหลโยธิน แนวเขตตะวันตกเลียบแม่น้ำวัง เขตตะวันออกเลียบคลองส่งน้ำชลประทานแม่วังฝั่งซ้าย เขตทิศใต้เลียบแนวเขตทหารค่ายสุรศักดิ์มนตรีกับเขตของเทศบาลเมืองลำปาง รวมพื้นที่ 16.50 ตารางกิโลเมตร ตั้งขึ้นเป็น สุขาภิบาลพิชัย[5] และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลด้วยผลทางกฎหมายในปี พ.ศ. 2542[6]

ปี พ.ศ. 2555 เทศบาลตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง รายงานขอเปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล มีจำนวน 11 หมู่บ้าน ประชากร 12,822 คน รายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2555 จำนวน 3.02 ล้านบาท รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 จำนวน 14.20 ล้านบาท เงินสะสม 56.51 ล้านบาท และขอเปลี่ยนชื่อเนื่องจากชื่อซ้ำกับองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัยที่มีพื้นที่ติดต่อกัน ขอใช้ชื่อ "พิชัยลำปาง" โดยคงชื่อ "พิชัย" เดิมไว้ และเพิ่มคำว่า "ลำปาง" เพื่อให้เจาะจงว่าเป็นเทศบาลเมืองพิชัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง ไม่ใช่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีอำเภอพิชัยที่ชื่อเหมือนกัน

สภาเทศบาลตำบลพิชัย ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผ่านความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เขตเทศบาล ผ่านความเห็นชอบจากนายอำเภอเมืองลำปาง และผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ในฐานะผู้กำกับดูแลแล้ว ทั้งนี้ได้จัดทำแผนที่และคำบรรยายแนวเขตโดยยืดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2535[5]

อนึ่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเสนอเรื่องการขอเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน หรือสถานที่ราชการอื่นแล้ว แต่คณะกรรมการไม่เห็นชอบให้เปลี่ยนชือเทศบาลตำบลพิชัย เป็นเทศบาลตำบลพิชัยลำปาง[7] ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เนื่องจากใกล้กำหนดให้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองตามมติสภาเทศบาลตำบลพิชัยแล้ว (ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป) และในวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 เทศบาลตำบลพิชัยได้ยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองพิชัย[8] เป็นเทศบาลเมืองลำดับที่ 3 ของจังหวัดลำปาง

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลตำบลพิชัยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย และเทศบาลนครลำปาง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลต้นธงชัย และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย

เขตการปกครอง แก้

เทศบาลตำบลพิชัยมีหมู่บ้านและชุมชนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพิชัยจำนวน 11 หมู่บ้าน โดยชุมชนที่มีพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลพิชัยทั้งหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านม่อนเขาแก้ว, ชุมชนบ้านทุ่งกู่
  • หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านต้นยาง
  • หมู่ที่ 9 บ้านฝายน้อย
  • หมู่ที่ 12 บ้านท่าเดื่อ
  • หมู่ที่ 14 ชุมชนบ้านต้นมื่น
  • หมู่ที่ 15 ชุมชนบ้านสันติสุข (แยกออกมาจาก หมู่ที่ 2 ชุมชนสามัคคี)

หมู่บ้านและชุมชนที่มีพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลพิชัยบางส่วนจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านพิชัย
  • หมู่ที่ 2 ชุมชนสามัคคี
  • หมู่ที่ 5 บ้านต้นต้อง
  • หมู่ที่ 8 บ้านทรายใต้
  • หมู่ที่ 13 บ้านใหม่-บ้านเด่น

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 2114–2118. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (186 ก): 979–987. วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 9–11. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  7. "ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลพิชัยลำปาง และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองพิชัยลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129: 1. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลเมืองพิชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (ตอนพิเศษ 85 ง): 11. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แหล่งข้อมูลอื่น แก้