เทศบาลเมืองตราด

เทศบาลเมืองในจังหวัดตราด ประเทศไทย

เทศบาลเมืองตราด เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ตั้งอยู่ริมแม่น้ำตราดใกล้บริเวณปากแม่น้ำ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบางพระทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลวังกระแจะ จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลเมืองในปี พ.ศ. 2478[2] ซึ่งเดิมเคยมีสถานะเป็นสุขาภิบาลเมืองตราด

เทศบาลเมืองตราด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Trat
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองตราด
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
ทม.ตราดตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
ทม.ตราด
ทม.ตราด
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองตราด
ทม.ตราดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ตราด
ทม.ตราด
ทม.ตราด (ประเทศไทย)
พิกัด: 12°14′36″N 102°30′53″E / 12.243404°N 102.514791°E / 12.243404; 102.514791
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเมืองตราด
จัดตั้ง
  • เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2478
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชนินท์ สุทธิวารี
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.52 ตร.กม. (0.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด10,361 คน
 • ความหนาแน่น4,111.51 คน/ตร.กม. (10,648.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04230102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 7 ถนนสันติสุข ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
เว็บไซต์www.tratcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตราเทศบาลเมืองตราด เป็นรูปพระอาทิตย์เริ่มขึ้น โดยเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า เมืองตราดนั้นเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมชายทะเล และยังมีการใช้เรือเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพทางทะเล ค้าขาย รวมถึงการประมงอีกด้วย

เทศบาลเมืองตราดเป็นที่ตั้งของสโมสรฟุตบอลตราดที่เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกเป็นครั้งแรกหลังจบฤดูกาล 2561

เศรษฐกิจ แก้

ในเขตเทศบาลเมืองตราดประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย รายได้เฉลี่ยของประชากร คือ 65,407 บาทต่อคนต่อปี ถือเป็นอันดับที่ 7 ของภาคตะวันออก และอันดับที่ 27 ของประเทศ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานสถิติจังหวัดตราด)

ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีสถานพานิชกรรมหลากหลายโดยแบ่งเป็น สถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ตลาดสด 5 แห่ง โดยแบ่งเป็นตลาดสดเทศบาล 3 แห่ง และตลาดสดเอกชน 2 แห่ง ร้านค้าทั่วไป(โชห่วย)จำนวนมาก และมีสถานธนานุบาล 1 แห่ง

ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีสถานบริการมากมาย โดยแบ่งเป็น โรงแรม 4 แห่ง จำนวนห้องพักรวม 379 ห้อง ธนาคาร 6 แห่ง ร้านค้าอาหารที่ขึ้นทะเบียนพ.ร.บ.สาธารณสุข 37 แห่ง และมีสถานบริการประเภทเกซเฮาท์บริเวณถนนธนเจริญจำนวนมาก

ประชากร แก้

ตามสถิติการทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 มีประชากรทั้งสิ้น 10,517 คน แยกเป็นชาย 5,053 คน หญิง 5,518 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวม 7,975 คน จำนวนบ้านทั้งสิ้น 4,992 หลัง จำนวนครัวเรือน 4,992 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 4,195 คน ต่อตารางกิโลเมตร อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ปี 2547 – 2548 (ลดลง) ร้อยละ 3.14

ชุมชนของเทศบาลเมืองตราด มีจำนวน 6 ชุมชน คือ

  • ชุมชนบ้านล่าง มีจำนวนบ้าน 107 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 417 คน
  • ชุมชนกิจสวัสดิ์ มีจำนวนบ้าน 84 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 311 คน
  • ชุมชนโภคไพร มีจำนวนบ้าน 265 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 808 คน
  • ชุมชนวัดโบสถ์ มีจำนวนบ้าน 95 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 357 คน
  • ชุมชนรักคลองบางพระ มีจำนวนบ้าน 601 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 1,529 คน
  • ชุมชนท่าเรือจ้าง มีจำนวนบ้าน 591 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 1,764 คน

ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีประชากรนับถือศาสนา 3 ศาสนา คือ

การศึกษา แก้

ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีสถานศึกษาจำนวน 10 แห่ง มีการบริการการศึกษาอย่างทั่วถึงและเพียงพอตั้งแต่ระดับ อนุบาล ถึง ปวส.

การขนส่ง แก้

เทศบาลเมืองตราดมีถนนที่สำคัญทั้งหมด 20 สาย โดยเป็นถนนแบบแอสฟอลต์คอนกรีตทั้งหมด โดยมีถนนที่ยาวที่สุด คือ ถนนสุขุมวิท (8.50 กิโลเมตร) ถนนท่าเรือจ้าง (1.25 กิโลเมตร) และถนนหลักเมือง (1.22 กิโลเมตร)

การขนส่งมวลชน รถโดยสารแบบปรับอากาศและรถตู้ที่ผ่านเทศบาลเมืองตราดมี 3 สาย สาย ตราด-กรุงเทพ(เอกมัย,หมอชิต,อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) แหลมงอบ-ฉะเชิงเทรา แหลมงอบ-นครราชสีมาและ แหลมงอบ-แม่สอด และมีบริการรถสองแถวจากเทศบาลเมืองตราดไปยังที่ต่างๆในจังหวัดตราด

ทางน้ำ ในอดีตมีการใช้การขนส่งทางน้ำที่คลองบางพระอย่างหนาแน่น แต่ปัจจุบันมีเบาบางมาก ยังคงมีการสัญจรทางน้ำที่แม่น้ำตราดซึ่งมีระยะทาง 15 กิโลเมตร แต่ก็มีเพียงเบาบางเช่นกัน

ทางอากาศ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด เปิดบริการการบินสาย ตราด-กรุงเทพ และ ตราด-สมุย โดยท่าอากาศยานตราดตั้งอยู่ในอำเภอแหลมงอบ และมีจุดบริการขายตั๋วในเขตเทศบาลเมืองตราด 1 แห่ง บริเวณถนนสุขุมวิท

การสื่อสาร แก้

ในเขตเทศบาลมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขจังหวัดตราด จำนวน 1 แห่ง สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 4 สถานี คือ

  1. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตราด ระบบ เอ.เอ็ม กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์
  2. สถานีวิทยุกระจายเสียงทหารเรือ 10 (ส.ทร.10) ระบบ เอฟ.เอ็ม
  3. สถานีวิทยุอสมทจังหวัดตราด (อ.ส.ม.ท.) ระบบ เอฟ.เอ็ม
  4. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตราด ระบบ เอฟ.เอ็ม

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มี 3 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์ประชามติ หนังสือพิมพ์ตราดเดลี่ หนังสือพิมพ์ไทบูรพา ทั้ง 3 ฉบับ ออกรายปักษ์ เผยแพร่ข่าวของจังหวัดตราด โดยทั่วไประบบเสียงตามสายของเทศบาลให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 90 โทรศัพท์ส่วนบุคคลในเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 6,534 เลขหมาย แยกเป็นบ้านพักอาศัย 5,363 เลขหมาย ส่วนราชการ 371 เลขหมาย ธุรกิจ 699 เลขหมาย กิจการขององค์การโทรศัพท์ 101 เลขหมาย และมีโทรศัพท์สาธารณะในเขตเทศบาล ฯ จำนวน 276 เลขหมาย ข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่มี 3 แห่ง คือ จังหวัดตราด ตำรวจภูธรอำเภอเมืองตราด และเทศบาลเมืองตราด

ประเพณี แก้

  • งานวันตราดรำลึก กำหนดจัดในวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี มีการจัดขบวนแห่รถ ขายสินค้าที่ระลึก จัดขึ้นบริเวณสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดตราด
  • งานประเพณีวันสงกรานต์ กำหนดจัดงานในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี มีพิธีสรงน้ำพระพุทธ พระภิกษุสงฆ์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ จัดขบวนแห่นางสงกรานต์ จัดงานมหกรรมอาหารเมือง-ตราด ขายอาหารและของที่ระลึก จัดขึ้นบริเวณสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดตราด
  • งานประเพณีลอยกระทง กำหนดจัดงานในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีมีการจัดการประกวดนางนพมาศและประกวดกระทง มหรสพ จัดขึ้นบริเวณสวนรุกขชาติ
  • งานเทศกาลอาหารพื้นบ้านเมืองตราด กำหนดยจัดงานในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคมของทุกปี กิจกรรม จัดการประกวดอาหารพื้นบ้านเมืองตราด จัดร้านจำหน่ายอาหารพื้นบ้านเมืองตราด งานเทศกาลอาหารพื้นบ้านเมืองตราด จัดขึ้นบริเวณเขื่อนริมน้ำบ้านท่าเรือจ้าง
  • งานเล่าขานตำนานคลองบางพระ กำหนดจัดงานในเดือนมีนาคม ของทุกปี กิจกรรมการย้อนยุควิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตราดริมคลองบางพระ จัดขึ้นบริเวณถนนธนเจริญ

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาลส่วนมากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น

  • วัดไผ่ล้อม
  • วัดโบสถ์หรือวัดโยธานิมิตร
  • จวนเรสิดังส์กัมปอร์ต
  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด

อ้างอิง แก้

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองตราด". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตราด จังหวัดตราด พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1162–1165. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้