เทศบาลตำบลสิ

เทศบาลตำบลในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

เทศบาลตำบลสิ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนล่างของจังหวัดศรีสะเกษใกล้ชายแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 62 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวอำเภอขุนหาญไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร

เทศบาลตำบลสิ
สำนักงานเทศบาลตำบลสิ
สำนักงานเทศบาลตำบลสิ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลสิ
ตรา
ทต.สิตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ
ทต.สิ
ทต.สิ
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลสิ
พิกัด: 14°37′27″N 104°27′23″E / 14.624217°N 104.456412°E / 14.624217; 104.456412
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอขุนหาญ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสุพรรณ นามวัน
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.00 ตร.กม. (6.18 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)[1]
 • ทั้งหมด2,622 คน
 • ความหนาแน่น165.00 คน/ตร.กม. (427.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05330803
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลสิ บ้านห้วย หมู่ที่ 7 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 33150
โทรศัพท์0 4563 7171
เว็บไซต์www.tessabansi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อาณาเขต แก้

ครอบคลุมพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลสิ อำเภอขุนหาญ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่นๆ ของอำเภอขุนหาญ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพราน อำเภอขุนหาญ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ

ประวัติ แก้

เทศบาลตำบลสิ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลสิ แล้วได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสิ ใน พ.ศ. 2539 ต่อมาได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล ในปี พ.ศ. 2551 [2]

โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติราชการ แก้

  • ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (นายสุพรรณ นามวัน), รองนายกเทศมนตรี 2 คน, ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
  • ฝ่ายนิติบัญญัติ (ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน (ปัจจุบันคือนายสมยศ สินศิริ), รองประธานสภา 1 คน (ปัจจุบันคือนายคำทูน สัญญา)
  • การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักงานปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง และกองช่าง

นอกจากนั้น ปลัดเทศบาลยังปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการสภาเทศบาลตำบลด้วย

ตราสัญลักษณ์ แก้

ภายในรูปวงกลมดวงตรามีภาพท้องฟ้า ดอกบัวและหนองน้ำ

ท้องฟ้า หมายถึง แสงสว่างสดใสในการดำรงชีวิตของชาวตำบลสิ

ดอกบัว หมายถึง ความสุข ความสำเร็จในการพัฒนาท้องถิ่น

หนองน้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

ข้อมูลทั่วไป แก้

สภาพภูมิประเทศ แก้

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลสิ เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเหมาะกับการเพาะปลูกโดยมีการทำนาปี นาปรัง แต่ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ลำห้วย หนอง คลองธรรมชาติที่มีอยู่เดิมจะแห้งในหน้าแล้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ

ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์ แก้

ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 2,622 คน จำแนกเป็นเพศชาย 1,340 คน เพศหญิง 1,282 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 678 ครัวเรือน [3] กลุ่มชาติพันธุ์หลักในเขตเทศบาลได้แก่ชาวเขมรซึ่งพูดภาษาเขมรสูงหรือขแมร์เลอ ถือเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนมากที่สุด รองลงไปคือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย) ซึ่งพูดภาษากูย และชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว ทั้งนี้ชาวลาวส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่มีบรรพบุรุษมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว แล้วได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ตำบลสิตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 2369-พ.ศ. 2371 ตรงกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[4]

เขตการปกครอง แก้

ภายในพื้นที่เทศบาลจำแนกเป็น 5 ชุมชน ได้แก่

  • หมู่ที่ 2 บ้านกระทิง
  • หมู่ที่ 4 บ้านโนนสว่าง
  • หมู่ที่ 7 บ้านห้วย
  • หมู่ที่ 10 บ้านใหม่พัฒนา
  • หมู่ที่ 11 บ้านโนนศรีทอง

โครงสร้างสังคม แก้

การศึกษา แก้

  • โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
  • โรงเรียนอาชีวศึกษา 1 แห่ง (วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ)
  • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 5 แห่ง
  • หอกระจายข่าว 6 แห่ง
     
    โบสถ์ทรงจัตุรมุข วัดบ้านกระทิง

สถาบันและองค์การทางศาสนา แก้

  • วัด / สำนักสงฆ์ 2 แห่ง

การสาธารณสุข แก้

อัตราการมีและใช้สุขาราดน้ำ ร้อยละ 100

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ แก้

อาชีพ แก้

ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เขตตำบลสิ ทำนาเป็นอาชีพหลัก นอกฤดูกาลทำนามีการปลูกพืชสวนครัวชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักชีฝรั่ง ผักคื่นฉ่าย ผักชี พริก และอื่นๆ สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นไก่พื้นเมือง วัว ควาย และสุกร เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและจำหน่าย เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว นอกจากนี้ มีการย้ายถิ่นฐานเข้าไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัด การรับจ้างทั่วไปและรับราชการ

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล แก้

  • สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 1 แห่ง
  • โรงสีข้าว 5 แห่ง
  • ร้านขายของชำ 29 แห่ง
  • โรงแรม 1 แห่ง
  • อู่ซ่อมรถ 5 แห่ง

โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค แก้

การคมนาคมและขนส่ง แก้

เส้นทางหลัก คือการคมนาคมทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 (พยุห์-ไพรบึง-ขุนหาญ) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษกับเขตเทศบาลตำบลสิ โดยจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 (ศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร) ถึงอำเภอพยุห์ เป็นระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาที่สี่แยกพยุห์ เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 เพื่อมายังอำเภอขุนหาญ และเทศบาลตำบลสิ โดยจากสี่แยกดังกล่าวผ่านอำเภอไพรบึงและเขตเทศบาลตำบลไพรบึงจนถึงเขตเทศบาลตำบลสิ เป็นระยะทางประมาณ 41 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงเทศบาลตำบลสิประมาณ 62 กิโลเมตร

ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร แก้

  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 แห่ง
  • ตู้ไปรษณีย์ 2 ตู้

พลังงานไฟฟ้า แก้

ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอขุนหาญ ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่มีการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างและหุงต้ม ประมาณร้อยละ 99 และบางส่วนยังต้องการขยายไฟฟ้าให้ทั่วถึง

แหล่งน้ำธรรมชาติ แก้

  • ลำห้วยขนาดเล็ก ไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่ ลำห้วยทาและลำห้วยจันทร์
  • บึง , หนอง 8 แห่ง ได้แก่
  1. หนองตาปึ้ด
  2. หนองแสงใต้
  3. หนองไผ่
  4. หนองตาจันทร์
  5. หนองแสงเหนือ
  6. หนองกุดแคน
  7. หนองบก
  8. หนองผำ

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น แก้

  • ฝาย 9 แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น (บ่อดิน) 7 แห่ง
  • บ่อโยก 3 แห่ง
  • บ่อบาดาล 6 แห่ง
  • ประปา 4 แห่ง

สถานที่น่าสนใจ แก้

  • พระอุโบสถ ทรงจัตุรมุข วัดบ้านกระทิง

อ้างอิง แก้

  1. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
  2. ประวัติเทศบาลตำบลสิ จากเว็บไซต์เทศบาลตำบลสิ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.tessabansi.go.th
  3. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
  • เทศบาลตำบลสิ.รายงานสรุป ประจำปีงบประมาณ 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลสิ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้