เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

เทศกาลพื้นเมืองจีน

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง, เทศกาลตฺวานอู่ หรือ เทศกาลตฺว่านหงอ (จีนตัวย่อ: 端午节; จีนตัวเต็ม: 端午節; พินอิน: duānwǔ jié) ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ "โหงวเหว่ยโจ่ว" เป็นการระลึกถึงวันที่คุดก้วนหรือชฺวี ยฺเหวียน (จีน: 屈原; พินอิน: Qū Yuán; 340–278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต

เทศกาลแข่งเรือมังกร
เทศกาลแข่งเรือมังกร (ศตวรรษที่ 18)
จัดขึ้นโดยชาวจีน
ประเภทวัฒนธรรม
การถือปฏิบัติแข่งเรือมังกร, การบริโภคเหล้าสงหวง และบ๊ะจ่าง
วันที่ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ
วันที่ในปี 256622 มิถุนายน
วันที่ในปี 256710 มิถุนายน
วันที่ในปี 256831 พฤษภาคม
วันที่ในปี 256919 มิถุนายน
ความถี่ทุกปี
เทศกาลแข่งเรือมังกร *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
การแข่งเรือมังกรที่มาเก๊า
ประเทศ จีน
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00225
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2009/2552 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

นอกจากนี้ ในจีนบริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวันยังมี เทศกาลแข่งเรือมังกร (龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันกวีจีนอีกด้วย เนื่องจากชฺวี ยฺเหวียน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน

ประวัติ แก้

ในสมัยเลียดก๊ก มีบุคคลหนึ่งนามว่า ชฺวี ยฺเหวียน เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และความสามารถรอบด้าน เป็นนักปราชญ์ราชกวีคนหนึ่ง รวมทั้งรู้จักหลักการบริหารปกครองเป็นอย่างดี ชฺวี ยฺเหวียน เป็นเชื้อสายของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฉู่ เขาได้รับราชการเป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋อ เป็นที่ปรึกษา และดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชฺวี ยฺเหวียน เป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถอันสูงยิ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอันมาก

เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นเรื่องธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชฺวี ยฺเหวียน ด้วยความที่เขาเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชฺวี ยฺเหวียน เป็นไปเพื่อการขัดขวางการโกงกินบ้านเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ร้ายเขาต่าง ๆ นานาจนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มที่จะเชื่ออยู่บ้าง ชฺวี ยฺเหวียน รู้สึกทุกข์ใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า "หลีเซา" หมายถึงความเศร้าโศก หลังจากที่พระเจ้าฉู่หวายอ๋องได้สินใจไปก็มีการเเต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงหลงเชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางกังฉินพวกนั้น ในที่สุดจึงได้มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศชฺวี ยฺเหวียน ออกจากแคว้นฉู่ไป

ชฺวี ยฺเหวียน เศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากเดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) เขาจึงตัดสินใจกระโดดน้ำตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั้นเอง

พวกชาวบ้านที่รู้เรื่องการตายของชฺวี ยฺเหวียน พวกเขาต่างก็รักและอาลัยถึงชฺวี ยฺเหวียน จึงได้ออกเรือเพื่อตามหาศพขอเขา ในขณะที่ค้นหาศพ พวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำด้วย เพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชฺวี ยฺเหวียน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชฺวี ยฺเหวียน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำหลังจากนั้นก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชฺวี ยฺเหวียน ที่มาในชุดอันสวยงามกล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้าน แต่เขาบอกว่าอาหารโดนสัตว์น้ำกินไปเสียเกือบหมด เเละเขาได้บอกไว้ว่าให้ใช้ใบใผ่ห่อบ๊ะจ่างไว้

หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชฺวี ยฺเหวียน แนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่เขา หลังจากวันนั้นชฺวี ยฺเหวียน ก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชฺวี ยฺเหวียน ได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชฺวี ยฺเหวียน ว่าควรทำเช่นไรดี ชฺวี ยฺเหวียน จึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน

ความเชื่อ แก้

 
บ๊ะจ่าง
 
ใช้เฮียเฮียะและว่านน้ำแขวนที่ประตูในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเพื่อปัดเป่าวิญญาณร้าย

นอกจากการไหว้บ๊ะจ่างแล้ว ปัจจุบันในฮ่องกงและเกาลูนก็ยังคงมีผู้จัดประเพณีแข่งเรือมังกรอยู่ รวมทั้งในเทศกาลตวงโหงวนี้ คนจีนโบราณยังเชื่อว่าการทำความสะอาดบ้านให้ดูมีความสดชื่นภูตผีปิศาจจะได้ไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย ในวันนี้สัตว์มีพิษทั้ง 4 ชนิด อันได้แก่ แมงป่องแมงมุมตะขาบและงูจะพากันหลบซ่อนตัว จึงเป็นโอกาสที่เจ้าบ้านจะต้องอบบ้านด้วยการจุดกำมะถัน เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษเหล่านี้กลับเข้ามาอาศัยได้อีก นอกจากนี้ยังมีการดื่มเหล้ายาที่ผสมด้วยผงกำมะถันด้วย โดยเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลอื่น แก้