เทศกาลแห่ลึงค์

เทศกาลประจำปีในคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

35°32′04.35″N 139°43′28.67″E / 35.5345417°N 139.7246306°E / 35.5345417; 139.7246306

เทศกาลแห่ลึงค์
(คานามาระ มัตสึริ)
ฝูงชนแห่ลึงค์เมื่อ ค.ศ. 2007
จัดขึ้นโดยอารามคานายามะ นครคาวาซากิ
จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
ประเภทศาสนพิธี
วันที่first Sunday in April

เทศกาลแห่ลึงค์ (ญี่ปุ่น: かなまら祭りโรมาจิKanamara Matsuriทับศัพท์: คานามาระ มัตสึริ) เป็นศาสนพิธีในศาสนาชินโต จัดขึ้นทุก ๆ วันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน ณ อารามคานายามะ (Kanayama) นครคาวาซากิ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น

ในเทศกาลนี้ ผู้คนจะแห่ปลัดขิก โดยตั้งปลัดขิกไว้บนเสลี่ยงแห่ไปเป็นขบวนใหญ่โตอึกทึก ทั้งนี้ เพราะอารามคานายามะนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกราบไหว้ของเหล่าโสเภณีให้คุ้มครองป้องกันตนจากโรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ อนึ่ง ยังเชื่อกันว่า อารามคานายามะเป็นที่สถิตของเทพพิทักษ์ความรุ่งเรืองทางธุรกิจการค้าและการสืบพันธุ์สร้างครอบครัว โดยเฉพาะช่วยให้คลอดบุตรง่าย และบันดาลให้ชีวิตรักใคร่ของคู่ผัวตัวเมียสงบร่มเย็น ทั้งยังมีเรื่องร่ำลือกันว่า ปิศาจโยนิทันตะ หรือฟันของโยนี (vagina dentata) สิงอยู่ในช่องคลอดหญิงสาววัยรุ่นในตำบลนี้ เมื่อหญิงนั้นสมรส ปิศาจจะออกมากัดกินองคชาตชายผู้ผัวจนสิ้นพันธุ์ หญิงสาวจึงพากันร้องขอให้นายช่างช่วยเหลือ นายช่างก็ทำปลัดขิกโลหะให้ ครั้นปิศาจเห็นปลัดขิกก็สำคัญว่าเป็นองคชาต จึงโผล่ออกมาขบกัดโดยไม่ชักช้า ฟันทั้งนั้นก็หักหมดสิ้น ปลัดขิกจึงเป็นที่นิยมบูชา

มีความเชื่อกันว่า ผู้หญิงที่ผ่านพิธีสมรสแล้วภายในเวลาไม่เกิน 12 เดือน หากได้สวมใส่ชุดเจ้าสาวขึ้นไปขี่คร่อมปลัดขิกขนาดใหญ่ที่ใช้แห่ในเทศกาล จะทำให้ชีวิตสมรสมีความสุข[1]

ปัจจุบัน เทศกาลแห่ลึงค์จัดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยวและเรี่ยไรเงินสมทบการวิจัยไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในคนมากกว่าเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนา

อ้างอิง แก้

  1. หน้า 2, เทศกาล"แห้เจ้าโลก"ในญี่ปุ่น. เปิดม่าน JOKE OPERA โดย "ดอย ดอกฝิ่น". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21603: วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 แรม 3 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้