เทวนิยม[1] (อังกฤษ: Theism) ในความหมายอย่างกว้างหมายถึงความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้า[2] ความหมายอย่างแคบคือเชื่อแบบเอกเทวนิยมว่ามีพระเจ้าองค์เดียวและทรงสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของเอกภพ[3][4][5] เทวนิยมยังเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นบุคคล และมีอำนาจปกครองและจัดการโลกและเอกภพ แนวคิดตามแบบแผนนี้อธิบายพระเจ้าในเชิงเอกเทวนิยมซึ่งปรากฏในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูในบางสำนัก คำว่า Theism ตามแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อให้ต่างจากคำว่าเทวัสนิยม ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นอุตตรภาวะสูงสุด แต่พระเจ้ามิได้ทรงแทรกแซงโลกตามธรรมชาติ และมนุษย์รู้จักพระองค์ได้ด้วยการใช้เหตุผล ไม่ใช่โดยการวิวรณ์ ส่วนสรรพเทวนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งคือพระเจ้า และพหุเทวนิยมเชื่อว่ามีเทวดาหลายองค์ แต่ละองค์มีอำนาจต่าง ๆ กันไป

เหล่าทวยเทพในภาพ The Triumph of Civilization (ชัยชนะแห่งความศิวิไลซ์)

คำว่า Theism มาจาก theos ในภาษากรีกที่แปลว่า เทพ นักปรัชญาชื่อ Ralph Cudworth ใช้คำนี้เป็นคนแรก[6] ส่วนอเทวนิยมเป็นการปฏิเสธความเชื่อแบบเทวนิยมในความหมายกว้าง คือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว[7] ถ้าปฏิเสธพระเจ้าในความหมายแคบ จะเรียกว่า เทวัสนิยม สรรพเทวนิยม พหุเทวนิยม ตามแต่ลักษณะของความเชื่อ ถ้าเห็นว่าพระเจ้าหรือเทวดาจะมีอยู่หรือไม่เราก็รู้ไม่ได้เรียกว่าอไญยนิยม[8] ถ้าเชื่อว่ารู้ได้ (ว่ามีหรือไม่มี) ก็ถือว่าเป็นเทวนิยมหรืออเทวนิยม (ตามแต่ลักษณะความเชื่อ) เทวนิยมและอเทวนิยมจึงเป็นยืนยันหรือปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระเจ้า แต่อไญยนิยมปฏิเสธการรับรู้ ผู้ที่ไม่มีศาสนาจะไม่เชื่อในเรื่องการมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เลย ศาสนาพุทธอาจจัดว่าเป็นทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม นิกายเถรวาทและนิกายเซน เชื่อในกฎธรรมชาติ สร้างสรรพสิ่ง จัดเป็นอเทวนิยม นิกายสุขาวดีและวัชรยาน เชื่อว่ามีพระอาทิพุทธะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งเฉกเช่นพระเจ้า จึงอาจจัดนิกายเหล่านี้เป็นเทวนิยมได้มันเป็นเก

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548
  2. "Merriam-Webster Online Dictionary". สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  3. The Oxford Dictionary of the Christian Church, Second Edition, OUP
  4. The Oxford Dictionary of World Religions (1997).
  5. Encyclopædia Britannica.
  6. Halsey, William (1969). Louis Shores (บ.ก.). Collier's Encyclopedia. Vol. 22 (20 ed.). Crowell-Collier Educational Corporation. pp. 266–7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. Nielsen, Kai (2010). "Atheism". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26. Atheism, in general, the critique and denial of metaphysical beliefs in God or spiritual beings.... Instead of saying that an atheist is someone who believes that it is false or probably false that there is a God, a more adequate characterization of atheism consists in the more complex claim that to be an atheist is to be someone who rejects belief in God for the following reasons (which reason is stressed depends on how God is being conceived)...
  8. Hepburn, Ronald W. (2005) [1967]. "Agnosticism". ใน Donald M. Borchert (บ.ก.). The Encyclopedia of Philosophy. Vol. 1 (2nd ed.). MacMillan Reference USA (Gale). p. 92. ISBN 0028657802. In the most general use of the term, agnosticism is the view that we do not know whether there is a God or not. {{cite encyclopedia}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |isbn13= ถูกละเว้น (help) (page 56 in 1967 edition)