เต่าดาวพม่า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับ: Testudines
อันดับย่อย: Cryptodira
วงศ์: Testudinidae
สกุล: Geochelone
สปีชีส์: G.  platynota
ชื่อทวินาม
Geochelone platynota
(Blyth, 1863)
ชื่อพ้อง
  • Testudo platynota Blyth, 1863

เต่าดาวพม่า (อังกฤษ: Burmese star tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geochelone platynota) เป็นเต่าบกที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 11 นิ้ว มีลวดลายบริเวณกระดองหลังเป็นรูปดาว ความเข้มของสีกระดองจะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม มีช่วงวัยเจริญพันธุ์ 10-15 ปี ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน มักวางไข่ใต้พื้นทรายหรือทรายที่ปนดิน ระยะเวลาฟักไข่ 130-148 วัน

มีถิ่นอาศัยในป่าผลัดใบ, ป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้าทางตอนเหนือของประเทศพม่า อาหารที่เต่าดาวพม่าชอบคือ ผักชนิดต่าง ๆ อาทิ คะน้า, กะหล่ำปลี, ผักโขม, ตำลึง, หน่อไม้ และมะเขือเทศ

ปัจจุบันเต่าดาวพม่าได้ถูกขึ้นบัญชีอนุสัญญา CITES ห้ามล่า ห้ามซื้อขายในตลาดค้าสัตว์ ทำให้เต่าดาวพม่าเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นและเป็นสัตว์หายาก ในประเทศไทยสวนสัตว์นครราชสีมา หรือสวนสัตว์โคราช ที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ เต่าดาวพม่า ได้เป็นครั้งแรกในโลก [1]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Geochelone platynota ที่วิกิสปีชีส์