เตารังสีแสงอาทิตย์

เตารังสีแสงอาทิตย์ (อังกฤษ: solar furnace) คือสิ่งก่อสร้างสำหรับจับแสงอาทิตย์เพื่อใช้สร้างอุณหภูมิสูงๆ โดยมากใช้ในงานอุตสาหกรรม วิธีการทำโดยใช้กระจกโค้ง (หรือแถบกระจกจำนวนมาก) ทำหน้าที่เป็นจานสะท้อนแบบพาราโบลา เพื่อรวมแสงให้อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง อุณหภูมิที่จุดโฟกัสอาจสูงถึง 3,500 °C (6,330 °F) ได้ ความร้อนนี้จะนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า หลอมเหล็ก ผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือวัสดุนาโน (nanomaterials)

เตารังสีแสงอาทิตย์ที่เมือง Odeillo ในจังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล ประเทศฝรั่งเศส สามารถทำอุณหภูมิได้สูงถึง 3,500 °C (6,330 °F)

คำว่า "เตารังสีแสงอาทิตย์" อาจหมายถึงงานที่พัฒนาขึ้นไป คือระบบความร้อนจากการรวมแสงอาทิตย์ โดยอาศัยกระจกพาราโบลาหรือ heliostat ซึ่งปัจจุบันสามารถทำอุณหภูมิได้ถึง 538 °C (1,000 °F) เตารังสีแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดคือที่เมือง Odeillo จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล ประเทศฝรั่งเศส เปิดใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 1970 มีแผงกระจกเรียบสำหรับใช้รวมแสงอาทิตย์เพื่อสะท้อนไปยังกระจกโค้งขนาดใหญ่ จากนั้นจึงจัดโฟกัสรังสีแสงอาทิตย์ไปยังพื้นที่ที่มีขนาดเท่าหม้อต้ม สามารถทำอุณหภูมิได้ถึง 3,500 °C (6,330 °F) ขึ้นกับกระบวนการที่ติดตั้ง ตัวอย่างเช่น

  • ประมาณ 1,000 °C (1,830 °F) สำหรับตัวรับโลหะที่ผลิตอากาศร้อนสำหรับหอแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีการทดสอบที่โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เทมิส (Themis) ในโครงการ Pegase[1]
  • ประมาณ 1,400 °C (2,550 °F) ในการผลิตไฮโดรเจนโดยแตกโมเลกุลมีเทน[2]
  • สูงถึง 2,500 °C (4,530 °F) ในการทดสอบวัสดุสำหรับสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพรุนแรง เช่นสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือยานอวกาศที่จะย้อนกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
  • สูงถึง 3,500 °C (6,330 °F) ในการผลิต nanomaterials ด้วยแสงอาทิตย์ โดยกระตุ้น sublimation และควบคุมการหล่อเย็น เช่น carbon nanotube[3] หรือ zinc nanoparticles[4]

อ้างอิง แก้

  1. "PEGASE project home page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2011-04-16.
  2. SOLHYCARB, EU funded project, ETHZ official page
  3. Flamant G., Luxembourg D., Robert J.F., Laplaze D., Optimizing fullerene synthesis in a 50 kW solar reactor, (2004) Solar Energy, 77 (1), pp. 73-80.
  4. T. Ait Ahcene, C. Monty, J. Kouam, A. Thorel, G. Petot-Ervas, A. Djemel, Preparation by solar physical vapor deposition (SPVD) and nanostructural study of pure and Bi doped ZnO nanopowders, Journal of the European Ceramic Society, Volume 27, Issue 12, 2007, Pages 3413-342

แหล่งข้อมูลอื่น แก้