เดอะ ก็อดฟาเธอร์

เดอะ ก็อดฟาเธอร์ (อังกฤษ: The Godfather) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวอาชญากรรม ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1972 กำกับโดย ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา จากบทภาพยนตร์ที่เขาเขียนร่วมกันกับ มาริโอ พูโซ สร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกันของพูโซ เมื่อปี ค.ศ. 1969 ภาพยนตร์แสดงนำโดย มาร์ลอน แบรนโด, อัล ปาชิโน, เจมส์ คาน, ริชาร์ด คาสเตลลาโน, โรเบิร์ต ดูวัล, สเตอร์ลิง เฮย์เดน, จอห์น มาร์เลย์, ริชาร์ด คอนเตและไดแอน คีตัน เดอะ ก็อดฟาเธอร์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกใน เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ไตรภาค ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในปี ค.ศ. 1945 ถึง 1955 เล่าเรื่องราวของครอบครัวคอร์เลโอเน ภายใต้การดูแลของ วิโต คอร์เลโอเน (แบรนโด) โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงของลูกชายคนสุดท้อง ไมเคิล คอร์เลโอเน จากคนนอกครอบครัวที่ไม่เต็มใจ กลายเป็นหัวหน้ามาเฟียที่โหดเหี้ยม

เดอะ ก็อดฟาเธอร์
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา
บทภาพยนตร์
สร้างจากเดอะ ก็อดฟาเธอร์
โดย มาริโอ พูโซ
อำนวยการสร้างอัลเบิร์ต เอส. รัดดี
นักแสดงนำ
กำกับภาพกอร์ดอน วิลลิส
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบนิโน โรตา
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายพาราเมาต์พิกเจอส์
วันฉาย14 มีนาคม ค.ศ. 1972 (1972-03-14)(โรงละครโลว์สเตต)
24 มีนาคม ค.ศ. 1972 (1972-03-24)(สหรัฐ)
ความยาว177 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง6–7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[N 1]
ทำเงิน246–287 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[N 2]

พาราเมาต์พิกเจอส์ ได้สิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์จากนวนิยายในราคา 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่นวนิยายจะได้รับความนิยม[15][16] ผู้บริหารสตูดิโอมีปัญหาในการหาผู้กำกับ ผู้สมัครสองสามคนแรกปฏิเสธตำแหน่ง ก่อนที่คอปโปลาจะเซ็นสัญญาเพื่อกำกับภาพยนตร์ แต่ความขัดแย้งตามมาด้วยการคัดเลือกตัวละครหลายตัว โดยเฉพาะ วิโตและไมเคิล ภาพยนตร์ถ่ายทำบริเวณรอบ ๆ นครนิวยอร์ก และใน ซิซิลี และเสร็จสิ้นก่อนกำหนด ดนตรีประกอบภาพยนตร์แต่งโดย นิโน โรตา เป็นหลัก และเพลงประกอบเพิ่มเติมโดย คาร์เมน คอปโปลา

เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ โรงละครโลว์สเตต เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1972 และฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วไปในสหรัฐเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1972 กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 1972[11] และเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลในเวลานั้น[16] โดยทำเงินระหว่าง 246 ถึง 287 ล้านดอลลาร์สหรัฐในบ็อกซ์ออฟฟิศ ภาพยนตร์ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์และผู้ชมทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงของแบรนโดและปาชิโน, การกำกับ, บทภาพยนตร์, การกำกับภาพ, การตัดต่อ, ดนตรีประกอบและภาพลักษณ์ของมาเฟีย เดอะ ก็อดฟาเธอร์ เป็นตัวเร่งให้เกิดความสำเร็จในอาชีพการงานของคอปโปลา, ปาชิโน, นักแสดงและทีมงานหน้าใหม่คนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ภาพยนตร์ยังช่วยฟื้นคืนชีพอาชีพของแบรนโด ซึ่งเสื่อมถอยลงในทศวรรษ 1960 และเขาได้แสดงในภาพยนตร์ เช่น รักลวงในปารีส, ซูเปอร์แมน และ กองทัพอำมหิต

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 45 ภาพยนตร์ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (แบรนโด) และ บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (พูโซและคอปโปลา) นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในอีกเจ็ดสาขา เช่น ปาชิโน, คานและดูวัลในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และ คอปโปลาในสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพยนตร์แนวอันธพาล[17] ภาพยนตร์ได้รับเลือกให้เก็บรักษาในหอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติของหอสมุดรัฐสภา ในปี ค.ศ. 1990 ถือว่า "มีความสำคัญทางวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์หรือสุนทรียศาสตร์" และได้รับการจัดอันดับให้เป็นภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโรงภาพยนตร์อเมริกัน (ตามหลัง ซิติเซนเคน) โดยสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน ภาพยนตร์ตามมาด้วยภาคต่อ เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ภาค 2 (1974) และ เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ภาค 3 (1990)

เนื้อเรื่อง แก้

เหตุการณ์ในภาพยนตร์เริ่มขึ้นในปี 1945 ดอน วีโต คอร์เลโอเน (มาร์ลอน แบรนโด) เจ้าพ่อมาเฟียลือชื่อ ซึ่งมีหน้าที่เสมือนที่พึ่งพิงของผู้คนภายใต้สมญานาม "ก็อดฟาเธอร์" ได้จัดงานแต่งงานของคอนนี่ คอร์เลโอเนลูกสาวที่บ้านของตน และมีทอม เฮเก้น (โรเบิร์ต ดูวัล) ลูกบุญธรรมเป็นที่ปรึกษาและทนายประจำตัว จนกระทั่งจอร์นนี่ ฟอนเทน (อัล มาร์ติโน) ลูกบุญธรรมอีกคนของวีโตซึ่งมีอาชีพเป็นนักร้องในลาสเวกัส มาขอความช่วยเหลือจากวีโตให้เขาได้แสดงภาพยนตร์ซึ่งตัวเอกมีบทบาทใกล้เคียงกับตัวเขา วีโตรับปากและส่งทอมไปพบแจ๊ค วอลซ์ผู้กำกับภาพยนตร์ที่จอร์นนี่ต้องการแสดงที่ลาสเวกัสในวันรุ่งขึ้นเพื่อให้จอร์นนี่ได้แสดงหนัง แต่กลับถูกปฏิเสธและในวันรุ่งขึ้นวอลซ์ตื่นขึ้นมาพบกับหัวม้าตัวโปรดของเขากองอยู่บนเตียง เปรียบเสมือนการขู่เตือนเอาชีวิตจากตระกูลคอร์เลโอเนและจอร์นนี่ก็ได้แสดงหนังในที่สุด

ภายหลังจากที่ทอมกลับมาจากลาสเวกัสได้มีคำเชื้อเชิญจากซอลลอสโซ่นักค้ายาเสพที่ร่วมมือกับบรูโน่ ตาตาเลียลูกชายตระกูลมาเฟียอีกตระกูลหนึ่ง วีโตเข้าพบซอลลอสโซ่ในวันถัดมาและทราบจุดประสงค์ของซอลลอสโซ่คือต้องการให้วีโตร่วมลงทุนค้ายาเสพติดร่วมกับเขาเนื่องจากวีโตมีสหายเป็นตำรวจและนักการเมืองมากและตำรวจยังสนับสนุนธุรกิจบ่อนคาสิโนของวีโตอีกด้วย ซอลลอสโซ่จึงหวังให้มีตำรวจมาหนุนหลังเพื่อจะได้ไม่ต้องหลบซ่อนเวลาค้ายา แต่วีโต้ปฏิเสธข้อตกลงเนื่องจากเห็นว่ายาเสพติดจะทำให้ความมั่นคงของครอบครัวตนย่ำแย่ลง อีกทั้งตำรวจและนักการเมืองจะไม่สนับสนุนเขาอีกเมื่อเขาค้ายาซึ่งต่างไปกับธุรกิจคาสิโนของเขา แต่วีโตยังกังวลเรื่องซอลลอสโซว่ามีเรื่องปิดบังตนอยู่ จึงให้ลูก้า บราซี่สมุนของตนไปสืบเรื่องราวโดยแสร้งทำเป็นว่าไม่พอใจที่อยู่ใต้อำนาจของวีโตจึงขอมาร่วมลงทุนค้ายากับซอลลอสโซ่ แต่ซอลลอสโซ่รู้ทันจึงจัดการฆ่าบราซี่

ในวันเดียวกันคนขับรถประจำของวีโตอ้างว่าป่วย วีโตจึงให้เฟรโด้ลูกชายคนกลางซึ่งมีความคิดเชื่องช้ากว่าใครในบรรดาพี่น้องขับรถไปส่งเขาแทน ในขณะที่วีโตซื้อผลไม้อยู่ซอลลอสโซ่และบรูโน่ ตาตาเลียลอบยิงวีโตจนบาดเจ็บสาหัส เฟรโด้ที่อยู่แถวนั้นก็ไม่สามารถปกป้องพ่อได้เนื่องจากทำปืนของตนหล่นและวีโตได้รับบาดเจ็บสาหัส ซอลลอสโซ่ได้นำตัวทอมไปที่รังของตนเพื่อเจรจาให้ซันนี่ (เจมส์ คาน) ลูกชายคนโตของวีโตทำข้อตกลงด้วยกันเนื่องจากซอลลอสโซ่เข้าใจว่าวีโตตายแล้ว ไมเคิล คอร์เลโอเน (อัล ปาชิโน) ลูกชายคนเล็กของวีโตรู้เรื่องว่าพ่อตนถูกลอบยิงจึงรีบกลับมาที่บ้านและพบว่าวีโตยังมีชีวิตอยู่ ไมเคิลจึงขับรถไปเยี่ยมพ่อที่โรงพยาบาลแต่มาถึงกลับพบว่าไม่มีใครเฝ้าพ่อของตนอยู่เลย และทราบว่ามีคำสั่งจากตำรวจให้สมุนของวีโตออกจากห้องพัก ไมเคิลกลัวว่าพวกตาตาเลียจะร่วมมือกับตำรวจเพื่อมาลอบฆ่าพ่อตน ไมเคิลจึงย้ายวีโตไปไว้ในห้องอีกห้องนึงและโทรบอกซันนี่ให้นำกำลังสมุนมาเฝ้าวีโต ซึ่งไม่นานหลังจากนั้นตำรวจนายหนึ่งชื่อแม็คคูสกี้เข้ามาลอบทำร้ายไมเคิลที่ยืนเฝ้าพ่ออยู่หน้าประตูโรงพยาบาลและกำลังจะบุกขึ้นไปแต่ก็ทันจังหวะที่สมุนของวีโตเข้ามาพอดี แม็คคูสกี้จึงไม่สามารถลอบฆ่าวีโต้ได้

เมื่อซันนี่รู้เรื่องจึงโกรธมากและสั่งให้ลูกน้องตนไปฆ่าบรูโน่ ตาตาเลีย พี่น้องคอร์เลโอเนเข้าประชุมปรึกษากันและคาดเดาว่าแม็คคูสกี้ได้เงินจากตาตาเลียและร่วมมือค้ายากับซอลลอสโซ่ อีกทั้งซอลลอสโซ่และแม็คคูสกี้ยังขอเจรจากับไมเคิลตามลำพัง ไมเคิลจึงเสนอตัวให้ตนลอบฆ่าทั้งสองคนซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยเนื่องจากหากปล่อยซอลลอสโซ่และแม็คคูสกี้ไว้อาจไม่เป็นผลดี ซันนี่จึงให้ลูกน้องไปสืบว่าทั้งสองจะเจรจากับไมเคิลที่ใดจนได้ความมาว่าเป็นร้านอาหารอิตาเลียนแห่งหนึ่ง ซึ่งครีแมนซ่าลูกน้องตัวเอ้ของวีโตออกความเห็นให้ซ่อนปืนไว้ด้านหลังชักโครกโบราณของร้านอาหาร ซอลลอสโซ่และแม็คคูสกี้มานำตัวไมเคิลไปที่ร้านอาหารอิตาเลียนตามที่ลูกน้องซันนี่สืบทราบมา ทั้งสามเจรจากันได้ซักพักไมเคิลก้ขอตัวไปเข้าห้องน้ำและหยิบปืนออกมาจาชักโครกโบราณและออกไปยิงเข้าที่หัวของซอลลอสโซ่และแม็คคูสกี้ หลังจากนั้นข่าวเรื่องการลอบฆ่าของไมเคิลแพร่ออกไป ครีแมนซ่าจึงใช้แหล่งข่าวที่ตนมีรวมถึงหลักฐานและอำนาจอิทธิพลนำเสนอข่าวว่าแม็คคูสกี้ลอบค้ายากับซอลลอสโซ่ทำให้ไมเคิลหลุดพ้นข้อกล่าวหา แต่ไมเคิลเองก็ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัยของตนเองตามคำแนะนำของพี่ ๆ

ไมเคิลลี้ภัยไปยังอิตาลี เมืองคอร์เลโอเนบ้านเกิดของวีโต และได้พบรักกับหญิงที่ชื่ออะพอลโลเนียจนทั้งคู่ตัดสินใจแต่งงานกัน ทางด้านอเมริกา วีโตออกจากโรงพยาบาลมารักษาตัวที่บ้านพร้อมเข้าพบลูก ๆ และทราบเรื่องว่าไมเคิลเป็นคนฆ่าซอลลอสโซ่และแม็กคูสกี้ หลังจากนั้นเฟรโด้ได้ไปดูแลคาสิโนที่ลาสเวกัส วันหนึ่งซันนี่ได้ไปเยี่ยมคอร์นี่ที่บ้านและพบว่าคอนนี่ถูกคาร์โลสามีของเธอทำร้าย ซันนี่แค้นใจจึงไปทำร้ายคาร์โลและขู่ว่าหากทำร้ายน้องสาวเขาอีกเขาจะฆ่าคาร์โล ไม่นานหลังจากนั้นคอนนี่และคาร์โลทะเลาะกัน คอนนี่ถูกสามีเธอทำร้ายด้วยเข็มขัดเธอจึงโทรไปบอกซันนี่ เมื่อซันนี่รู่เรื่องก็โกรธมากและขับรถออกไปเพื่อไปฆ่าคาร์โล จนกระทั่งซันนี่ขับรถมาถึงทางด่วนก็ถูกกลุ่มคนปริศนารุมยิงจนตาย ทางไมเคิลเองเมื่อรู้ข่าวซันนี่จากอเมริกาก็รู้สึกเสียใจแต่ก็ไม่สามารถกลับประเทศได้ในตอนนี้ ไมเคิลได้รับคำแนะนำให้ย้ายออกจากเมืองคอร์ลิโอเนเพื่อความปลอดภัยและในวันที่ขนย้ายข้าวของอยู่นั่นเอง อะพอลโลเนียถูกระเบิดตายขณะเธอขับรถเพื่อเอาใจไมเคิล ซึ่งคนวางระเบิดก็คือสหายคนสนิทของไมเคิลที่หักหลังเขา ทำให้หลังจากนั้นไมเคิลแทบไม่เคยไว้ใจใครอีก

เมื่อวีโตรู้ว่าซันนี่ถูกฆ่าก็รู้สึกเสียใจมากแต่ก็ไม่อยากให้มีการแก้แค้นและจัดการประชุมร่วมกับหัวหน้าตระกูลมาเฟียอีก 5 ก๊ก ในที่ประชุมวีโตสามารถจับผิดดอน ตาตาเลียได้ว่าเป็นแค่หุ่นเชิดของดอน บราซินี่หัวหน้าตระกูลบราซินี่ ภายหลังจากการประชุมวีโตได้บอกแก่ทอมว่าบราซินี่คือผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังและเป็นคนฆ่าซันนี่ ในที่สุดไมเคิลก็กลับอเมริกาและพบว่าหลังจากที่เขาฆ่าซอลลอสโซ่เกิดศึกระหว่างคอร์เลโอเนและตาตาเลียหลายครั้ง หนึ่งปีให้หลังไมเคิลไปหาเคย์ อดัม อดีตแฟนสาวของเขาและขอเคย์แต่งงาน วีโตแต่งตั้งให้ไมเคิลเป็นดอนคนใหม่มีอำนาจเทียบเท่าวีโตและมีวีโตเป็นที่ปรึกษา มีคาร์โลเป็นมือขวา และให้ทอมเป็นทนายส่วนตัว เนื่องจากตอนนี่คอร์เลโอเนถูกบราซินี่และตาตาเลียบีบให้พ้นจากอำนาจให้ไปอาศัยอยู่ที่รัฐเนวาดาจึงต้องรีบระงับศึกและแก้ปัญหาโดยเร็ว

ไมเคิลไปหาเฟรโด้ที่ลาส เวกัสเพื่อไปปรึกษาขอซื้อโรงแรมและบ่อนคาสิโนจากโมกรีน นักธุรกิจรายใหญ่ของลาสเวกัสที่ร่วมลงทุนธุรกิจกับเฟรโด้ แต่โมกรีนปฏิเสธที่จะขายโรงแรมและคาสิโนให้ไมเคิล และด่าทอไมเคิลทันทีหลังจากไมเคิลกล่าวว่าตนจะทำธุรกิจนี้ได้ดีกว่าโมกรีน ข้อเจรจาเป็นอันจบลงวันต่อมาไมเคิลจึงกลับนิวยอร์กและไปขอคำปรึกษาจากวีโต วีโตแนะนำให้ไมเคิลว่าบราซินี่จะจัดการประชุมขึ้นและจะมีการลอบสังหารไมเคิลในที่ประชุมจากฝีมือคนของคอร์เลโอเนเอง วีโตแนะนำเพิ่มว่าให้ไมเคิลระวังคนของคอร์เลโอเนที่มาติดต่อให้ไมเคิลประชุมสงบศึกกับบราซินี่คือคนทรยศ

และไม่นานหลังจากนั้นวีโตหัวใจวายตายขณะที่กำลังเล่นกับแอนโทนีลูกชายของไมเคิล ในงานศพของวีโตหัวหน้าตระกูลมาเฟียต่างมาร่วมงานศพและไมเคิลก็รู้ว่าแซล เทสซิโอสมุนของวีโตมาติดต่อและแนะนำไมเคิลให้ประชุมกับบราซินี่ เมื่อไมเคิลรู้ตัวคนทรยศก็วางแผนฆ่าล้างเพื่อให้เรื่องราวจบลงโดยเร็ว ไมเคิลมีแผนให้ลูกสมุนตัวเองไปฆ่าบราซินี่ ตาตาเลีย และหัวหน้ามาเฟียรายใหญ่คนอื่น ๆ ของนิวยอร์กในวันที่เขารับศีลลูกบุณธรรมที่คาร์โลและคอนนี่ยกให้เขาดูแล ลูกสมุนของไมเคิลจัดการฆ่าบราซินี่ ตาตาเลีย และหัวหน้ามาเฟียรายใหญ่ รวมถึงโมกรีนที่อยู่ทางลาสเวกัส ในตอนนี้อคร์เลโอเนกลายเป็นตระกูลมาเฟียที่มีอำนาจมากที่สุดในทันควัน

หลังพิธีรับศีลจบ สมุนของไมเคิลมาบอกข่าวทั้งหมดไมเคิลจึงสั่งให้คาร์โลไปรอที่บ้าน และให้คนส่วนหนึ่งไปจัดการเทสซิโอ เทสซิโอเมื่อเห็นว่าจนมุมก็ยอมรับสารภาพและให้สมุนไมเคิลพาเขาขึ้นรถเพื่อนำไปฆ่า ไมเคิลมาถึงบ้านพบว่าคาร์โลกำลังโทรศัพท์หาใครบางคนตามคาดและสั่งให้คาร์โลสารภาพเพราะเขารู้ว่าคาร์โลร่วมมือกับใครบางคนและแสร้งว่าทะเลาะกับคอนนี่ให้เธอโทรไปหาซันนี่เพื่อที่ซันนี่จะได้ถูกฆ่า คาร์โลกลัวจะถูกฆ่าจึงสารภาพว่าทำงานให้บราซินี่ ไมเคิลเมื่อรู้ดังนั้นก็บอกให้คาร์โลย้ายไปลาสเวกัสและไม่ต้องกลับมาให้เขาเห็นอีก ลูกสมุมไมเคิลพาคาร์โลขึ้นรถไปส่งที่สนามบิน แต่ครีแมนซ่าก็รัดคอคาร์โลจนตายบนรถ สำเร็จตามแผนของไมเคิลทุกประการ

วันต่อมาไมเคิลและคนในครอบครัวเตรียมขนของย้ายไปเนวาดา คอนนี่เมื่อรู้ข่าวว่าไมเคิลสั่งฆ่าคนก็เข้ามาด่าทอไมเคิล แต่ไมเคิลก็ทำเป็นไม่รู้เรื่อง พอเคย์ถามไมเคิลเรื่องที่ไมเคิลฆ่าคน ไมเคิลก็อาละวาดใส่เคย์และปฏิเสธอย่างแนบเนียน ในฉากจบของภาพยนตร์เคย์ที่อยู่นอกห้องกำลังเทเหล้าให้ไมเคิลและยืนมองไมเคิลที่ตอนนี้ลูกสมุนต่างเข้ามาสรรเสริญดอน คอร์เลโอเนคนใหม่ ก่อนที่ประตูห้องทำงานไมเคิลจะปิดลง

รางวัล แก้

ต่อมา ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ได้สร้างภาพยนตร์ภาคต่อ คือ เดอะก็อดฟาเธอร์ ภาค 2 (1974) และเป็นภาพยนตร์ฉายทางโทรทัศน์ เดอะก็อดฟาเธอร์ซากา โดยนำภาพยนตร์ภาคแรก และภาคสองมาตัดต่อรวมกัน ฉายทางช่อง NBC เมื่อ ค.ศ. 1977 และ ในปี 1990 ได้สร้างภาพยนตร์ภาคจบ ใช้ชื่อว่า เดอะก็อดฟาเธอร์ ภาค 3

หมายเหตุ แก้

  1. Sources disagree on both the amount of the original budget and the final budget. The starting budget has been recorded as $1 million,[2] $2 million,[3][4][5][6] and $2.5 million,[7][8] while Coppola later demanded—and received—a $5 million budget.[9] The final budget has been named at $6 million,[9][7][10][11] $6.5 million,[4][12] $7 million,[13] and $7.2 million.[14]
  2. Sources disagree on the amount grossed by the film.
    • 1974: Newsweek. Vol. 84. 1974. p. 74. The original Godfather has grossed a mind-boggling $285 million...
    • 1991: Von Gunden, Kenneth (1991). Postmodern auteurs: Coppola, Lucas, De Palma, Spielberg, and Scorsese. McFarland & Company. p. 36. ISBN 978-0-89950-618-0. Since The Godfather had earned over $85 million in U.S.-Canada rentals (the worldwide box-office gross was $285 million), a sequel, according to the usual formula, could be expected to earn approximately two-thirds of the original's box-office take (ultimately Godfather II had rentals of $30 million).
    • Releases: "The Godfather (1972)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 22, 2020. Original release: $243,862,778; 1997 re-release: $1,267,490; 2009 re-release: $121,323; 2011 re-release: $818,333; 2014 re-release: $29,349; 2018 re-release: $21,701; Budget: $6,000,000

อ้างอิง แก้

  1. "THE GODFATHER (18)". British Board of Film Classification. May 31, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2016. สืบค้นเมื่อ April 15, 2016.
  2. Phillips 2004, p. 92.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TDG
  4. 4.0 4.1 "Backstage Story of 'The Godfather'". Lodi News-Sentinel. United Press International. March 14, 1972. p. 9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2018. สืบค้นเมื่อ July 15, 2014.
  5. Cowie 1997, p. 9.
  6. Lebo 2005, p. 6.
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ VF
  8. "Francis Ford Coppola's The Godfather opens". History (U.S. TV network). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2014. สืบค้นเมื่อ July 16, 2014.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ T-OV
  10. Jones 2007, p. 19.
  11. 11.0 11.1 "The Godfather, Box Office Information". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2012. สืบค้นเมื่อ January 21, 2012. Worldwide Gross: $245,066,411
  12. Phillips 2004, p. 93.
  13. "The Godfather (1972) – Financial Information". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2019. สืบค้นเมื่อ January 22, 2020.
  14. Block & Wilson 2010, p. 527
  15. Allan, John H. (April 17, 1972). "'Godfather' gives boost to G&W profit picture". Milwaukee Journal. (New York Times). p. 16, part 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2018. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
  16. 16.0 16.1 Allan, John H. (April 16, 1972). "Profits of 'The Godfather'". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2018. สืบค้นเมื่อ September 10, 2018.
  17. Gambino, Megan (January 31, 2012). "What is The Godfather Effect?". Smithsonian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2018. สืบค้นเมื่อ September 10, 2018.

บรรณานุกรม แก้