เกาะเดจิมะ (ญี่ปุ่น: 出島โรมาจิDejimaทับศัพท์: เกาะทางออก)[1] เป็นเกาะเทียมเล็ก ๆ ถูกสร้างขึ้นในอ่าวนางาซากิ เมื่อปี 1634 ด้วยการขุดคลองผ่านคาบสมุทรเล็ก ๆ เพื่อให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จนเมื่อถึงปี 1638 ชาวโปรตุเกสก็ถูกขับไล่ออกไป และชาวดัตช์ก็เข้ามาแทนที่ โดยเกาะแห่งนี้เป็นสถานที่เดียวที่ญี่ปุ่นจะสามารถรับวิทยาการและวัฒนธรรมแบบตะวันตก ในช่วงก่อนปี 1854

ประวัติ แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อกลุ่มพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางมาค้าขายที่ทาเนงาชิมะในปี 1543 หกปีต่อมามิชชันนารีนิกายเยสุอิตฟรานซิสซาเวียร์ก็เดินทางได้มาที่เมืองคาเงชิมะ ในตอนแรกชาวโปรตุเกสได้ตั้งหลักอยู่ที่เมืองฮิราโดะ แต่พวกเขาต้องการท่าเรือที่ดีกว่า ทำให้ในปี 1570 ไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะ ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้ทำข้อตกลงให้ชาวโปรตุเกสช่วยพัฒนาเมืองนางาซากิ ทำให้ท่าเรือสามารถเปิดทำการค้าขายได้ ต่อมาในปี 1580 ไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะ ได้มอบอำนาจศาลของนางาซากิให้กับนิกายเยสุอิต และชาวโปรตุเกสได้รับเอกสิทธิ์ที่จะทำการค้าไหมกับจีนผ่านมาเก๊า

ในปี 1634 โชกุนโทกูงาวะ อิเอมิตสึมีคำสั่งให้สร้างเกาะเทียมขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในนางาซากิ และขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของพวกเขา แต่หลังจากการจลาจลของประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาคริสต์ในชิมาบาระและอามากูซะ โชกุนตัดสินใจที่จะขับไล่ชาติตะวันตกทุกชาติออกไป ยกเว้นชาวดัตช์ที่ทำงานในบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์

ตั้งแต่ปี 1609 ชาวดัตช์ก็ได้ทำการค้าในฮิราโดะ พวกเขาได้รับอนุญาตให้ทำการค้าขายอย่างอิสระ อย่างเต็มที่ ร้านค้าในฮิราโดะกินพื้นที่ไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล จนเมื่อปี 1637 และ 1639 ก็ได้มีการสร้างคลังสินค้าหินขึ้นมาในร้านค้านี้อีก และการที่พวกเขาใช้หินในการก่อสร้างคลังสินค้านี้ ก็ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการทำลายสิ่งก่อสร้างในฮิราโดะและย้ายร้านค้าไปยังเมืองนางาซากิ

ในปี 1639 ชาวโปรตุเกสกลุ่มสุดท้ายก็ถูกขับไล่ออกจากญี่ปุ่นไป แต่นั้นก็ทำให้เดจิมะเริ่มที่จะล้มเหลวในการลงทุน และเมื่อไม่มีเรือโปรตุเกสที่ทำการค้าจากมาเก๊า เศรษฐกิจของนางาซากิได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ถึงพวกเขาก็ยังสามารถอดทนได้ แต่ด้วยนโยบายอีกมากมายและยังเป็นศัตรูกับสเปนและโปรตุเกส ซึ่งทั้งสองประเทศก็ที่มีทั้งศาสนาและพื้นฐานทางการเมืองที่ต่างจากญี่ปุ่นมาก ชาวดัตช์เป็นคนกลุ่มเดียวที่ได้รับการยกเว้นจากการถูกขับไล่ แต่พวกเขาก็ถูกรัฐบาลญี่ปุ่นย้ายให้ไปอยู่ที่เดจิมะ

ตั้งแต่ปี 1641 มีเพียงเรือจีนและเรือดัตช์เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในญี่ปุ่นและมีทางเข้าเพียงทางเดียวคือท่าเรือนางาซากิ

Opperhoofd แก้

 
Janus Henricus Donker Curtius 1862

Opperhoofd เป็นภาษาดัตช์ความหมายว่าผู้ใหญ่บ้านสูงสุด เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้เรียกผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าดูแลร้านค้าในเกาะแห่งนี้ ซึ่งมักจะเป็นชาวโปรตุเกสที่สืบเชื้อสายกันต่อๆมา เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเหมือนกับผู้ว่าการรัฐ

Opperhoofd ที่โดดเด่น

ชื่อ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
François Caron 3 กุมพาพันธ์ 1639 – 13 กุมพาพันธ์ 1641
Zacharias Wagenaer 1 พฤศจิกายน 1656 – 27 ตุลาคม 1657
Zacharias Wagenaer 22 ตุลาคม 1658 – 4 พฤศจิกายน 1659
Andreas Cleyer 20 ตุลาคม 1682 – 8 พฤศจิกายน 1683
Andreas Cleyer 17 ตุลาคม 1685 – 5 พฤศจิกายน 1686
Hendrik Godfried Duurkoop 23 พฤศจิกายน 1776 – 11 พฤศจิกายน 1777
Isaac Titsingh 29 พฤศจิกายน 1779 – 5 พฤศจิกายน 1780
Isaac Titsingh 24 พฤศจิกายน 1781 – 26 ตุลาคม 1783
Isaac Titsingh - มิถุนายน 1784 – 30 พฤศจิกายน 1784
Hendrik Doeff 14 พฤศจิกายน 1803 – 6 ธันวาคม 1817
Jan Cock Blomhoff 6 ธันวาคม 1817 – 20 พฤศจิกายน 1823
Janus Henricus Donker Curtius 2 พฤศจิกายน 1852 – 28 กุมพาพันธ์ 1860

อ้างอิง แก้

  • มัลิกา พงศ์ปริตร. ญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด, 2551.
  • Blomhoff, J.C. (2000). The Court Journey to the Shogun of Japan: From a Private Account by Jan Cock Blomhoff. Amsterdam
  • Blussé, L. et al., eds. (1995–2001) The Deshima [sic] Dagregisters: Their Original Tables of Content. Leiden.
  • Blussé, L. et al., eds. (2004). The Deshima Diaries Marginalia 1740-1800. Tokyo.
  • Boxer. C.R. (1950). Jan Compagnie in Japan, 1600-1850: An Essay on the Cultural, Artistic, and Scientific Influence Exercised by the Hollanders in Japan from the Seventeenth to the Nineteenth Centuries. Den Haag.
  • Doeff, Hendrik. (1633). Herinneringen uit Japan. Amsterdam. [Doeff, H. "Recollections of Japan" (ISBN 1-55395-849-7)]
  • Caron, François. (1671). A True Description of the Mighty Kingdoms of Japan and Siam. London.
  • Edo-Tokyo Museum exhibition catalog. (2000). A Very Unique Collection of Historical Significance: The Kapitan (the Dutch Chief) Collection from the Edo Period—The Dutch Fascination with Japan. Catalog of "400th Anniversary Exhibition Regarding Relations between Japan and the Netherlands," a joint project of the Edo-Tokyo Museum, the City of Nagasaki, the National Museum of Ethnology, the National Natuurhistorisch Museum and the National Herbarium of the Netherlands in Leiden, the Netherlands. Tokyo.
  • Leguin, F. (2002). Isaac Titsingh (1745–1812): Een passie voor Japan, leven en werk van de grondlegger van de Europese Japanologie. Leiden.
  • Mitchell, David (2010). The Thousand Autumns of Jacob de Zoet. London.
  • Nederland's Patriciaat, Vol. 13 (1923). Den Haag.
  • Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779-1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 0-7007-1720-X
  • Siebold, P.F.v. (1897). Nippon. Würzburg / Leipzig.Click link for full text in modern German
  • Titsingh, I. (1820). Mémoires et Anecdotes sur la Dynastie régnante des Djogouns, Souverains du Japon. Paris: Nepveau.
  • Titsingh, I. (1822). Illustrations of Japan; consisting of Private Memoirs and Anecdotes of the reigning dynasty of The Djogouns, or Sovereigns of Japan. London: Ackerman.
  1. "Dejima Nagasaki | JapanVisitor Japan Travel Guide". www.japanvisitor.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)