เซียวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า

มือกระบี่มากรัก กระบี่ไร้น้ำใจ (จีน: 多情剑客无情剑 Duo Qing Jian Ke Wu Qing Jian) เป็นผลงานการประพันธ์อันโด่งดังเรื่องหนึ่งของโกวเล้ง หากยึดตามสำนวนการแปลของ ว. ณ เมืองลุง จะใช้ชื่อภาษาไทยว่า ฤทธิ์มีดสั้น ในขณะที่ น.นพรัตน์ ใช้ชื่อ เซียวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า

เซียวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า
(ฤทธิ์มีดสั้น)  
ผู้ประพันธ์โกวเล้ง
ชื่อเรื่องต้นฉบับ多情剑客无情剑
ผู้แปลว. ณ เมืองลุง, น.นพรัตน์
ฉบับอื่นๆ ไม่ทราบแน่ชัด
ภาษาแปลจากฉบับภาษาจีน
ชุดฤทธิ์มีดสั้น
ประเภทนิยายกำลังภายใน
วันที่พิมพ์พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2513
ชนิดสื่อนิยาย
หน้า89 บท

เกี่ยวกับเรื่องนี้ แก้

เรื่องนี้เป็นนิยายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังคาวบอยตะวันตกเรื่อง Gunfight at the o.k. corral (1957) โดยตัวชื่อเรื่องนี้หมายถึง อาฮุย สหายสนิทของลี้คิมฮวง ในเรื่องฤทธิ์มีดสั้นนี้เราสามารถแบ่งออกได้เป็นสองตอนหลักคือ ตอนของโจรดอกเหมย และตอนของพรรคเหรียญทองของเซี่ยงกัวกิมฮ้ง

เนื้อเรื่องย่อ แก้

ฤทธิ์มีดสั้นเป็นเรื่องราวของ ลี้คิมฮวง ตัวเอกของเรื่องซึ่งในชีวิตของเขานั้นเหมือนจะดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง บ้านหลังใหญ่ และทรัพย์สมบัติมากมาย ความสามารถทั้งสติปัญญาและวรยุทธ์ ในด้านสติปัญญานั้นเขาสามารถสอบเป็นบัณฑิตหน้าบัลลังก์ของฮ่องเต้ได้ถึงลำดับที่สามหรือก็คือตำแหน่งถ้ำฮวย (เรียงตามตำแหน่งได้ดังนี้ >> อันดับหนึ่ง - จอหงวน, อันดับสอง - ปางั่ง, อันดับสาม - ถ้ำฮวย) ส่วนในด้านวรยุทธ์นั้นวิชามีดบินของเขา ก็ติดอันดับที่สามของแผ่นดินเช่นกัน โดยอันดับนี้จัดโดยแป๊ะเฮี่ยวเซ็งนักปราชญ์ที่มีชื่อโด่งดังในสมัยนั้น และลี้คิมฮวงยังมีคนรักอีกคนหนึ่งชื่อ ลิ่มซีอิม แต่เขาตัดสินใจสละหญิงคนรักของตนให้กับเพื่อนร่วมสาบาน เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณที่เคยช่วยชีวิตตนเอาไว้ จากการกลุ้มรุมสังหารของศัตรู นอกจากนั้นเขายังยกบ้านที่ตนเติบโตขึ้นมาด้วยกันกับคนรัก ให้เป็นของขวัญและเรือนหอสำหรับคนทั้งสอง แล้วตนเองก็จากไปอยู่นอกด่าน (กำแพงเมืองจีน) ด้วยความตรอมใจ ระหว่างที่เดินทางกลับจากการอาศัยนอกด่านเพื่อกลับมาแอบดูคนรักอีกครั้งนั้น เขาได้ทำความรู้จักกับ อาฮุย มือกระบี่ที่เพิ่งออกท่องยุทธภพ ในขณะนั้นเองเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่จอมโจรดอกเหมย (บ๊วยฮวยเต๋า) ได้ปรากฏตัวซ้ำในยุทธภพอีกครั้ง ลี้คิมฮวงได้เข้าไปพัวพนกับเหตุการณ์ซับซ้อนของการแย่งชิงของวิเศษที่จะใช้ปราบจอมโจรดอกเหมย จนได้พบกับลิ้มเซียนยี้สตรีที่ได้รับการขนานนามว่างามอันดับหนึ่งในแผ่นดิน นอกจากนั้นเขายังได้เผชิญหน้ากับเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาย จนเป็นเหตุให้โดนเข้าใจผิดว่าเป็นโจรดอกเหมยเสียเอง แต่เรื่องราวก็ยังไม่จบเพียงแค่นั้นเมื่อมีการปรากฏตัวของเซี่ยงกัวกิมฮ้งผู้ก่อตั้งพรรคเหรียญทอง ซึ่งมีจุดหมายคือยึดครองยุทธภพ ดังนั้นลี้คิมฮวงจึงต้องเข้าขัดขวาง แต่วิชาฝีมือห่วงคู่หงส์มังกรของเซี่ยงกัวกิมฮ้งนั้นถูกจัดได้ว่าอยู่ในอันดับสองของแผ่นดินซึ่งเหนือกว่าลี้คิมฮวง ดังนั้นศึกนี้จึงเป็นศึกใหญ่ของลี้คิมฮวงทีเดียว

ยอดฝีมือในตำราวิจารณ์อาวุธของแป๊ะเฮี่ยวเซ็ง แก้

  1. กระบองฟ้าเทียนกีหรือกระบองสมปรารถนา (เทียนกีเล่านั้ง)- ซุนแป๊ะม่อ (ผู้เฒ่าแซ่ซุนที่เป็นนักเล่านิทาน)ภายหลังเสียชีวิตใต้น้ำมือของ เซี่ยงกัวกิมฮ้ง
  2. ห่วงหงส์มังกร (เล้งหงษ์ฮ้วง) - เซี่ยงกัวกิมฮ้ง (หัวหน้าพรรคกิมจี้ปัง หรือพรรคเหรียญทอง) ภายหลังสิ้นชีวิตใต้คมมีดบินของลี้คิมฮวง
  3. มีดบินของลี้น้อย (เซี่ยวลี้ปวยตอ) - ลี้คิมฮวง (หรือรู้จักในนาม ลี้น้อยมีดบิน และ ลี้ถ้ำฮวย) เจ้าของวิชามีดบินที่ได้รับคำล่ำลือว่าไม่เคยพลาดเป้า
  4. กระบี่เหล็กซงเอี้ยง (ซงเอี้ยงทิเกี่ยม)- ก้วยซงเอี้ยง (แห่งหมู่บ้านกระบี่เหล็ก) เสียชีวิตใต้คมกระบี่ของ จิ้นบ้อเมี่ย
  5. หอกเงิน - ลู่ฮงเชย (เจ้าน้อยหอกเงิน) ภายหลังได้ฝึกวิชาพิสดารอีกแขนง เพื่อต้องการจะขึ้นเป็นยอดฝีมืออันดับหนึ่งของยุทธภพ
  6. ไม่มีการกล่าวไว้
  7. แส้อสรพิษหรือแส้เทพยดา (เปี้ยงซิ้ง) - ไซมึ้งยิ้วหรือไซมึ้งโหลว กระบวนท่าเน้นอ่อนหยุ่นแต่ผู้ใช้ไม่ดัดแปลง
  8. ไม้เท้าเหล็กเทวราชหรือกวาดทั้งกองทัพ (กิมกังทิไกว้) - จูกั้วกัง กระบวนท่าเน้นแข็งแกร่งแต่ผู้ใช้พลิกแพลง
  9. หัตถ์อสูรเขียว (แชม้อชิ้ว) - อีเข่า ใช้เพลงฝ่ามือและถุงมือพิษเป็นอาวุธ เนื่องจากใช้พิษเป็นอาวุธแป๊ะเฮี่ยวเซ็งจึงจัดไว้ในลำดับต่ำ
  10. ขลุ่ยหยก - เง็กเซียว (ปรากฏตัวออกมาใน เหยี่ยวเดือนเก้า ภาค สามของชุดฤทธิ์มีดสั้น) ใช้ขลุ่ยหยกแทนอาวุธได้หลายชนิด และมีวิชานอกรีตอื่นๆ อีก เช่น วิชาสะกดจิต และวิชาดูลักษณะผู้หญิงพรหมจารีย์

ตัวอย่างคำคมในเรื่อง แก้

  • "มีบ้าง บางเรื่องบางประการ แม้ท่านจะทราบว่าไม่สามารถกระทำ ยังมิอาจไม่กระทำ"
  • "ปีศาจสุรา คนชั่วช้าจริงแท้ มีที่ใดไม่ดี นั่นยังดีกว่าวิญญูชนจอมปลอมที่ใส่หน้ากากหลอกลวงผู้คนนัก"
    คำพูดของลี้คิมฮวง
  • "มีผู้หนึ่งเคยถามว่ามีดบินเทวดาของลี้น้อยเป็นเช่นไร"
    "แล้วยามนี้เล่า?"
    "พวกประดานั้นต่างตายหมดแล้ว!!"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้